วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คิดให้ทันโลก โดย ทนง โชติสรยุทธ์


ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

นอกเหนือจากการคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือ การสนุกกับการแก้ไขปัญหา จะดีมากหากสามารถที่จะพัฒนาเด็กไทยให้รองรับกับการแก้ไขปัญหาได้

แนวคิดของ OECD (องค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ)

หัวใจสำคัญที่จะทำให้ประเทศชาติอยู่ดีและแข็งแรง ในการที่จะทำให้ประเทศนั้นๆ มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนประเทศนั้นควรมีขีดความสามารถอย่างไร ?

มีความสามารถอยู่ร่วมกันได้ดีในสังคมที่หลากหลายและแตกต่างทางความคิด แน่นอนว่าถ้าสังคมหลากหลายแต่หากสามารถคุยกันรู้เรื่องได้ สามารถปรองดองได้ ก็สามารถอยู่ร่วมกันและพาประเทศให้แข็งแรงได้มีความสามารถในการจัดการกับชีวิตและสภาพงานของตนได้ ถ้าแต่ละคนจัดการชีวิตตนเองเป็น จัดการรับผิดชอบเรื่องของตนเองได้ ก็จะเป็นเรื่องดีกับภาพรวมทั้งประเทศที่จะสามารถทำให้ดำเนินสิ่งต่างๆ ได้อย่างราบรื่นมีความสามารถในการใช้เครื่องมือช่วยต่างๆ ได้ดีและตระหนักบทบาทในวงกว้าง (ภาษาข้อมูลความรู้และฮาร์ดแวร์)

การใช้ภาษาในการหาความรู้ ติดต่อสื่อสาร ขยายการพัฒนา ต้องรู้จักการจัดการข้อมูลความรู้ แยกแยะข้อมูลอย่างมีเหตุผล รู้เท่าทันโซเชียลมีเดีย คิดวิเคราะห์เพื่อให้รู้เท่าทัน คิดหาแรงจูงใจถึงที่มาของข้อมูล รู้ทันซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานชัดเจนมากขึ้น

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเสมือนเป็นการสร้างพื้นฐานของประเทศนั้นๆ ให้แข็งแรง จาก 3 หัวใจหลัก ดังกล่าว จึงทำให้ประเทศชั้นนำหลายประเทศอย่าง ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฟินแลนด์ ปรับระบบการศึกษาตามหัวใจทั้งสามข้อนี้ ภายหลังจึงมีการออกแบบการสอบ Piza ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อวัดความสามารถและคุณภาพบุคลากรของแต่ละประเทศ โดยวัดจากเด็กอายุ 15 ปีที่จะเป็นแรงงานทางเศรษฐกิจในอนาคต และผลสรุปของประเทศไทยยังคงเส้นคงวา ไม่ได้พัฒนาไปจากเดิมเท่าใดนัก

ในภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากการพัฒนาแนวคิดในปี พ.ศ.2551 ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 นอกเหนือจากการศึกษามีทักษะอะไรบ้างที่จะทำให้ประชากรอยู่รอด

การมีทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพ (Life and Career Skills)

รู้จุดมุ่งหมายของชีวิตมีแรงบันดาลใจรู้จักวางแผนกล้าตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการตัดสินใจทำงานมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ รู้จักประเมินตนเอง มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวสร้างสมดุลในชีวิตได้ ล้มแล้วลุกเป็น มีทักษะสังคมและการเรียนรู้ที่สร้างความเข้าใจที่ข้ามวัฒนธรรม/ มีความสามารถในการเป็นผู้สร้างงาน/ ผลิตงาน/ ปรับปรุงงาน

การมีทักษะการเรียนรู้และทักษะสร้างนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) เน้นจากแนวคิดหลักเรียกว่า 4 CCritical thinking การคิดวิเคราะห์เป็นแก้ปัญหาเป็น
Communication การสื่อสาร พูดและสามารถเข้าใจกัน 
Corroboration การร่วมกับคนอื่นได้ 
Creativity ความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์การมีทักษะในเรื่อง Information / Media / Technology (Digital Literacy Skills)

ต้องค้นหาให้เป็น เข้าใจถึงกลไกสาเหตุและเนื้อหา เข้าใจว่าคนอื่นเข้าใจอย่างไร ใช้ข้อมูลให้เป็น รู้เท่าทันข้อมูลและข่าวสาร รู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่อย่างชาญฉลาด

มีทักษะใน 3 วิชาหลัก ประกอบไปด้วยการเขียน สามารถจับประเด็นเป็น ย่อความเป็นการอ่าน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ย่อความ อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจการคิดเลข แต่ไม่ใช่แค่การคิดเลขเป็นเท่านั้น ต้องใช้ตรรกะความคิดให้เป็น สามารถเข้าใจและอธิบายที่มาที่ไปของคำตอบได้ตระหนักในเรื่องสำคัญของศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย ความเป็นไปของโลก การเงิน สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และต้องเข้าใจถึงผลกระทบต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ความเป็นไปของโลก การเงินธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่และตั้งใจทำให้มีคุณภาพความเป็นพลเมืองที่ดี (รู้หน้าที่ของตน/ ตระหนักในความรับผิดชอบ/ ยอมรับและเคารพความแตกต่างของผู้อื่น/ เคารพในสิทธิของผู้อื่น) ถ้าเมื่อใดที่เราเคารพกันจะเป็นเสมือนการเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นสุขภาพ ต้องดูแลรักษาสุขภาพ โภชนาการ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตจัดการสิ่งต่างๆ ต่อไปได้อย่างราบรื่นสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การใช้ทรัพยากร เรียนรู้การแบ่งบันกันให้เหมาะสม ไม่ละเลยหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อม

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรรู้ คือ ขีดความสามารถ(Competencies)ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ การจัดการข้อมูล การทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ และการคิด การแก้ไขปัญหา การตัดสินใจ

นอกเหนือไปจากการใช้ขีดความสามารถของตนเอง การใช้ทักษะต่างๆ ของตนเองให้เป็นนั้นก็เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจเช่นกัน จากผลสำรวจของ McKinsey สิ่งที่ถูกให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา คิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ รองลงมา คือ ความมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนและการทำงานต่อมา คือ ความสามารถในการสื่อสารต่อรองให้เข้าใจ และถัดมาจะเป็น ความเป็น Teamwork ความสามารถในการเข้าใจกลไกของระบบดิจิตอล และความสามารถทางคณิตศาสตร์ ตามลำดับ

สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งคือ 60 % ของงานในอนาคตยังไม่ถูกคิดค้นในวันนี้ และ 70 % ของงานใหม่เกิดจาก SME จากผลสถิติแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเราไม่สามารถสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์ในอนาคตได้

แม้เราจะไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้แน่นอน แต่การเตรียมตัวให้เพื่อให้มีความสามารถในการรองรับคืออะไร อะไรคือแก่นที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้? แสดงให้เห็นว่าการศึกษาไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องใช้อะไร และยิ่งตอกย้ำอีกครั้งจากสถิติของการการจ้างงาน 33% นายจ้างที่รู้สึกว่าธุรกิจกำลังประสบความเสียหายอย่างร้ายแรงเพราะขาดแคลนผู้มีทักษะมาทำงาน 79% เยาวชนที่รู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้ถูกเตรียมตัวมาให้พร้อมสำหรับการทำงาน 27% นายจ้างไม่สามารถหาคนมาทำงานได้เพราะคนที่มาสมัครงานมีทักษะไม่เพียงพอ ตัวอย่างผลประเมินจากสิ่งต่างๆข้างต้น ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการศึกษาไทยว่าไม่ได้ออกแบบมาสำหรับวิชาชีพต่างๆ เกิดมาอย่างไม่สอดคล้องกัน แม้จะมีการพัฒนาระบบEducationต่างๆ อันได้แก่ 1.0 การป้อนความรู้ทางตรงจากครู ซึ่งไม่เพียงพอ โดยมีการนำความสามารถทางเทคโนโลยีมาปรับใช้ ก่อให้เกิด Education 2.0 เป็นการเรียนรู้ผ่าน E-learning และต่อยอดเป็น 3.0 การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ทั้งนี้ 3 รูปแบบดังกล่าว ก็ยังไม่เพียงพอต่อเยาวชนไทยในการสร้างความรู้และนวัตกรรม จึงได้ทบทวนและปรับปรุงเพิ่มเติมที่ Education 4.0 เน้นที่การสร้างนวัตกรรม โดยข้อนี้ คือ หัวใจที่จะทำให้แต่ละประเทศมีคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนได้ เป็นการค้นหากระบวนการที่จะกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสิ่งใหม่ๆ สามารถแบ่งได้เป็นกระบวนการ 5 ข้อ

อยากรู้อยากเห็น สงสัยและตั้งคำถาม สำรวจสืบเสาะ ท้าทายสมมติฐานยืนหยัดมุ่งมั่น อดทนกับความไม่แน่นอน ยืนหยัดต่อความยากลำบาก กล้าที่จะแตกต่างจินตนาการ เล่นกับความเป็นไปได้ สร้างความเชื่อมโยง ใช้ปรีชาญาณทำงานเป็นระบบ ประดิษฐ์และปรับปรุง พัฒนาเทคนิค วิเคราะห์วิจารณ์ทำงานร่วมกัน ร่วมมืออย่างเหมาะสม ให้และรับข้อเสนอแนะ แบ่งบันผลผลิต

สิ่งสำคัญของการสร้างประเทศชาติให้แข็งแรง คือ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และหากเราทุกคนสนุกกับการแก้ปัญหา จะได้ผลอะไรเกิดขึ้น??

Productivity ในแต่ละวิชาชีพดีขึ้น จากเดิมดีขึ้นในเกณฑ์ที่ไม่พอต่อการเป็นประเทศที่พัฒนาเกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หาก Productivity อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นเกิดนวัตกรรมมากขึ้นProducts / Services / Processเกิดผู้ประกอบการมากขึ้น/ เกิดSME มากขึ้นเปลี่ยนจาก สังคมขี้บ่น เป็น สังคมที่สนุกกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น ประเทศแข็งแรงขึ้นจะเริ่มต้นอย่างไรหาความหงุดหงิดรอบตอบ อาจจดใส่สมุด/ การหาความต้องการที่ซ่อนเร้น จากวิถีชีวิตที่เราคิดว่าปกติสร้างความแตกต่าง/ สร้างประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น/ สร้างความประทับใจ เกิดเป็น การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างนวัตกรรม เป็นผู้ประกอบการ Products / Services / Process

 หัวใจสำคัญเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง คือ การสร้างแรงบันดาลใจ แรงบันดาลใจเกิดขึ้นได้จากการอ่าน จากการได้รับฟัง จากการได้ดูภาพยนตร์ จากการได้สัมผัสตัวจริงที่ทำให้เกิดความประทับใจ จากการได้มีประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง และจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลง จากการฟังไม่กี่อย่าง ไม่กี่นาทีก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคุณได้ และหากมีความสนใจเพิ่มขึ้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำโมเดลในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดคณะให้เป็นสถานที่แห่งแรงบันดาลใจ 

ไม่มีความคิดเห็น: