วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ตารางเรียนเดือน7/2561

  ตารางเรียน 1/7/2561(วันอาทิตย์)
1)ฝังพลอยในเทียนกับการลดต้นทุนเวลา(5,000บาท/วัน)
2)คอร์สการซ่อม,ฝังเพชร. (2,200/1วัน)
3)คอร์สกราฟิกดีไซน์ (15,000/5วัน

ตารางเรียน 8/7/2561(วันอาทิตย์)
1)คอร์สประเมินราคาเครื่องประดับอัญมณี ดูเพชรแท้เพชรเทียม(5,000/1 วัน)
2)คอร์สการซ่อม,ตัดต่อไซส์แหวน,ทำแหวนเพชร. (2,200/1วัน)
3)คอร์สชุบทอง ชุบเงิน (2,200บาท/1วัน)
4)คอร์สกราฟิกดีไซน์ (15,000/5วัน

ตารางเรียน 15/7/2561(วันอาทิตย์)
1)ฝังพลอยในเทียนกับการลดต้นทุนเวลา(5,000บาท/วัน)
2)คอร์สการซ่อม,ตัดต่อไซส์แหวน,ทำแหวนเพชร. (2,200/1วัน)
3)คอร์สการซ่อม,ฝังเพชร. (2,200/1วัน)
4)คอร์สกราฟิกดีไซน์ (15,000/5วัน

ตารางเรียน 22/7/2561(วันอาทิตย์)
1)คอร์สประเมินราคาเครื่องประดับอัญมณี ดูเพชรแท้เพชรเทียม(5,000/1 วัน)
2)คอร์สการซ่อม,ตัดต่อไซส์แหวน,ทำแหวนเพชร. (2,200/1วัน)
3)คอร์สชุบทอง ชุบเงิน (2,200บาท/1วัน)
4)คอร์สกราฟิกดีไซน์ (15,000/5วัน

ตารางเรียน 29/7/2561(วันอาทิตย์)
1)คอร์สประเมินราคาเครื่องประดับอัญมณี ดูเพชรแท้เพชรเทียม(5,000/1 วัน)
2)คอร์สการซ่อม,ตัดต่อไซส์แหวน,ทำแหวนเพชร. (2,200/1วัน)
3)คอร์สการซ่อม,ฝังเพชร. (2,200/1วัน)
4)คอร์สกราฟิกดีไซน์ (15,000/5วัน

$$$$สามารถเพิ่มคอร์สที่สนใจและสอบถามได้$$$
คอร์สพิเศษ. ฝังพลอยในเทียน(โรงงาน)
1)ฝังพลอยในเทียนกับการลดต้นทุนเวลา5,000บาท/วัน/คน
2)ฝังพลอยในเทียนกับการลดต้นทุนเวลาเวลา. เน้นบริหารทั้งระบบ55,000บาท/3วัน/ไม่จำกัด
3)ฝังพลอยในเทียนกับการลดต้นทุนเวลาเวลา. เน้นบริหารทั้งระบบ95,000บาท/5วัน/ไม่จำกัด

### สนใจให้ยืนยันก่อนเรียน 3 วัน นะครับ
ธ.กสิกรไทย 995-2-22618-2  นายภาณุสฤษฏิ์ บุญคำ

เรียนวันอาทิตย์ 9.00-17.00น. หรือวันเสาร์
เราสอนถูกต้องตามหลักการผลิตแบบโรงงานอุตสาหกรรม
สอนด้วยดีไซเนอร์ระดับประเทศ
สอนด้วยผู้จัดการฯโรงงานส่งออกระดับโลก
สอนด้วยผู้เชี่ยวชาญการผลิตและวิจัยและพัฒนาฯ
ที่ปรึกษาและฝึกอบรม ทั่วประเทศ
http://gggschool.blogspot.com/
คุณสันต์: 091-8078228 เฟสบุ๊ค: อ.สันต์ ฝังพลอยในเทียน
https://www.youtube.com/watch?v=u5P_lvdbHEE
Email : sanaw588@yahoo.com,Line ID : gemssan
https://m.youtube.com/watch?v=XKctywP9YjI
"เพชร...เลอค่า ที่สุดแห่งอัญมณี" หลากหลายวิธีตรวจเพชรแท้-เทียม
โรงเรียนสอนออกแบบและผลิตเครื่องประดับอัญมณี
(Gems and Gemology and Graphic design of school)
199/499 ม.นัฎยา ต.คลองมะเดื่อ อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร 74130

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การแก้ปัญหาเชิงรุก (Proactive Problem Solving)

การแก้ปัญหาเชิงรุก (Proactive Problem Solving)

World Economic Forum ได้ออกรายงาน “New Vision for Education : Fostering Social and Emotional Learning Through Technology” โดยส่วนหนึ่งของรายงานได้มีการนำเสนอถึง 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับในศตวรรษที่ 21 เพื่อเตรียมพร้อมกับการก้าวเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution)

และ 1 ใน 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ “ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)”

ซึ่งผมก็มีโอกาสได้เข้าอบรมที่ทางบริษัทจัดเตรียมไว้ ในหัวข้อ “การแก้ปัญหาเชิงรุก (Proactive Problem Solving )” ดังนั้นผมจึงอยากจะขอแบ่งปันเรื่องราวเพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในวันข้างหน้า

สิ่งแรกที่วิทยากรกล่าวเริ่มต้นสำหรับการอบรมในครั้งนี้เลยก็คือ “ปัญหาทุกอย่างบนโลกใบนี้มีรูปแบบและวิธีการแก้ปัญหาที่เหมือนกันหมดทุกปัญหา”

ผมถึงกับคิดในใจว่าวิทยากรขี้โม้และพูดเกินจริง หากปัญหาทุกอย่างบนโลกใบนี้มีวิธีการแก้ปัญหาที่เหมือนกัน โลกใบนี้ก็คงอยู่กันอย่างสงบสุขไปนานแล้ว แต่ผมก็ไม่ได้รีบโว้ยวายออกไป

keep calm and listen… 😌

ปัญหาคืออะไร?

“ปัญหา (problem)” คือ ความแตกต่างระหว่างสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเหตุการณ์ในอุดมคติหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ความแตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่คาดไว้”

ซึ่งปัญหานั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งในด้านการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นการตัดสินใจและการแก้ไขหัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบและมีประสิทธิภาพยอมสามารถช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบแบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอนดังนี้1. ระบุปัญหา

ทำให้ทีมเห็นภาพและปัญหาเดียวกัน โดยระบุสิ่งที่เป็นปัญหา (Object) และระบุสิ่งที่เบี่ยงเบน (Defect) และที่สำคัญต้องระบุข้อเท็จจริง (Fact) เพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นปัญหาที่แท้จริงและจะเป็นสิ่งที่วัดประสิทธิผลว่าปัญหานั้นได้ถูกแก้ไข

2. แก้ไขปัญหาเบื้องต้น

เป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า โดยการแก้ปัญหาเบื้องต้นนั้นควรทำอย่างรวดเร็ว

3. วิเคราะห์สาเหตุ

คิด วิเคราะห์ และแยกแยะถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

WHO มีใครเกี่ยวข้องบ้างWHAT มีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา, อะไรคือสิ่งที่ผิดปกติWHEN ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไรWHERE ปัญหาเกิดขึ้นที่ไหนWHY ทำไมจึงเกิดปัญหาHOW ขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร, วัฎจักรเป็นอย่างไร4. แก้ไขปัญหา

ระดมสมองเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเทคนิคที่ใช้สำหรับการระดมสมองนั้นได้แก่ “Brain Storming” และ “Kawakita Jiro” ซึ่งแต่ละเทคนิคนั้นก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้ระดมสมองและหัวข้อที่กำลังระดมสมอง

5. ป้องกันการเกิดปัญหาขึ้นซ้ำ

สร้างระบบหรือออกมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ

6. ประเมินและติดตามผลการแก้ไข

ประเมินผลถึงวิธีการที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา ว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง

นอกจากนี้ก็ยังมีการนำ “Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ” มาใช้ในการแก้ปัญหาอีกด้วย และเท่าที่ผมค้นหาจากอินเทอร์เน็ตการแก้ปัญหาก็ยังมีอีกหลากหลายแนวคิด แต่สุดท้ายแล้ว การแก้ปัญหาก็เพื่อขจัดหรือกำจัดอุปสรรคที่ขวางกันไม่ให้บรรลุเป้าหมาย

ThinkingProblem SolvingTeam Building

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561

9 ทักษะการคิด 9 Thinking Skills

9 ทักษะการคิด (9 Thinking Skills) โดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง

Tags: หลักสูตรการคิดวิเคราะห์, หลักสูตรการคิดเชิงระบบ, หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์

การคิด (Thinking skill) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลแก้ปัญหาตัดสินใจและสร้างแนวคิดใหม่ ๆ เรามักจะใช้ทักษะการคิดเมื่อพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์  การจัดระเบียบข้อมูล  การเชื่อมต่อคำถาม  การคิดวางแผนหรือตัดสินใจว่าจะทำอะไร

 

เก๋เคยทำการทดสอบ Personal trait ในหลายๆศาสตร์ด้วยกัน ปรากฏว่า เก๋เป็นคนที่มีและใช้ฐานคิดมากกว่าฐานใจ คือใช้ความคิดมากกว่าความรู้สึกทั้งในชีวิตการทำงาน หรือชีวิตส่วนตัว   เพราะตลอดมาได้ทำงานในฐานะนักวิจัย นักนวัตกร ตลอดจนเป็นผู้จัดการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์   และต่อมาได้รับโอกาสใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และความคิดเชิงนวัตกรรม (innovative thinking)  ไปให้คำปรึกษาและอบรมสัมมนาด้านการพัฒนานวัตกรรมให้กับบริษัทต่างๆมากมาย

 

วันนี้เลยอยากแบ่งปัน เรื่อง ทักษะการคิด (Thinking skill) แบบต่างๆในมุมมองของเก๋ค่ะ 

ทักษะการคิด (Thinking skill) มีรูปแบบต่างๆ ได้แก่

 

1. การคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)  หมายถึง กระบวนการคิดในรูปแบบใหม่ๆ ความสามารถในการรับรู้ความคิดใหม่ ๆ และนวัตกรรมโดยแยกออกจากความคิดทฤษฎีกฎและขั้นตอนการทำงาน มันเกี่ยวข้องกับการวางสิ่งต่างๆด้วยกันในรูปแบบใหม่และจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์มักเรียกกันว่า "การคิดนอกกรอบ"

 

2. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดในรายละเอียด ความสามารถในการแยกแยะส่วนต่างๆออกเป็นส่วนพื้นฐาน หรือส่วนย่อยๆ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ความเชื่อมโยง หรือความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ  เป็นการคิดในเชิงตรรกะทีละขั้นตอนเพื่อแบ่งระบบข้อมูลขนาดใหญ่ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อมาวิเคราะห์หาสาเหตุ หรือเป้าหมายที่ต้องการ

 

3. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดโดยใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินอย่างรอบคอบ  โดยใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็น รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลต่างๆรอบด้าน การสำรวจองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อข้อสรุป เพื่อตรวจสอบพิจารณา ตัดสินและประเมินความถูกต้อง หรือสิ่งที่เป็นประเด็นในขณะนั้นๆ ให้แม่นยำ

 

4. การคิดเชิงกลยุทธ์ (strategic thinking) หมายถึง กระบวนการคิด โดยการวิเคราะห์และประเมินเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการปฏิบัติ เพื่อตัดสินใจให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

 

5. การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual thinking) หมายถึง กระบวนการคิดในการเชื่อมโยงส่วนประกอบย่อยๆ หรือความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ หรือระบบได้อย่างชัดเจนและมีระบบ

 

6. การคิดเปรียบเทียบ (comparative thinking) หมายถึง กระบวนการคิดเพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุการณ์ต่างๆที่มีลักษณะหรือความสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจ หรือเปรียบเทียบเพื่อแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อป้องกันอนาคต หรือแม้กระทั่ง เพื่อจุดประกายความคิดใหม่ๆ ให้ต่างจากของเดิม เป็นต้น

 

7. การคิดเชิงบวก (Positive thinking) หมายถึง กระบวนการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นทั้งด้านบวกและด้านลบ  แล้วหาเรื่องราวดีๆ หรือมุมบวก ในเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเจอ   เพื่อยอมรับ เรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข และให้เราเติบโตขึ้น

 

8. การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) หมายถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆและนวัตกรรม จากทักษะและกระบวนการคิดแบบต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้คน สังคม โลก ออกมาเป็นรูปธรรม และสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้

 

9. การคิดเชิงระบบ (System thinking) หมายถึง กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอน การมองภาพรวมอย่างเป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ มีขั้นตอน และรายละเอียดแยกย่อยออกมา และเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ

 

Six thinking hats

Six thinking hats

  Six thinking hats คือ เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด

     ดร. Edward de Bono (เอดเวิร์ด เดอ โบโน) ได้ทำการคิดค้นเทคนิคการคิด six thinking hats ขึ้นมาเพื่อเป็นระบบความคิดที่ทำ ให้ผู้เรียนมีหลักในการจำแนกความคิดออกเป็น 6 ด้าน ทำให้สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยการคิดทีละด้านอย่างเป็นระบบ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้ทักษะการคิด ทำให้ไม่คิดกระโดดไปกระโดดมา หรือคิดพร้อมกันทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้สับสนใช้เวลานาน และสรุปไม่ได้

องค์ประกอบของ Six Thinking Hats

Six Thinking Hats จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ

                                                  

1.   White Hat หรือ หมวกสีขาว หมายถึง  ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้น เป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์ และมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน แน่นอน ตรงไปตรงมา ไม่ต้องการความคิดเห็น สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น  โดยปกติแล้วเรามักจะ ใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิดเพื่อเป็นพื้นฐานของความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้นแต่เราก็ใช้หมวกขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน เพื่อทำการประเมิน อย่างเช่นข้อเสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่ 

2.   Red Hat  หรือ หมวกสีแดง หมายถึง ความรู้สึก สัญชาตญาณ และลางสังหรณ์ เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี มีการใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ หรือการตระหนักรู้โดยฉับพลันซึ่งก็คือ เรื่องบางเรื่องที่เคยเข้าใจในแบบหนึ่ง อยู่ๆก็เกิดเข้าใจในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งการตระหนักรู้แบบนี้จะทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีคิดทางคณิตศาสตร์แบบก้าวกระโดด ความคิดความเข้าใจในสถานการณ์โดยทันที ซึ่งเป็นผลจากการใคร่ครวญอันซับซ้อนที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ เป็นการตัดสินที่ไม่อาจให้รายละเอียดหรืออธิบายได้ด้วยคำพูด เช่นเวลาที่คุณจำเพื่อนคนหนึ่งได้ คุณก็จำได้ในทันที

3.  Black Hat หรือ หมวกสีดำ หมายถึง ข้อควรคำนึงถึง สิ่งที่ทำให้เราเห็นว่า เราไม่ควรทำ  เป็นการคิดในเชิงระมัดระวัง หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับวิธีการคิดของตะวันตกมาก หมวกสีดำช่วยชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดไม่สอดคล้องและสิ่งใดใช้ไม่ได้ มันช่วยปกป้องเราจากการเสียเงินและพลังงาน ช่วยป้องกันไม่ให้เราทำอะไรอย่างโง่เขลาเบาปัญญา และผิดกฎหมาย หมวกสีดำ เป็นหมวกคิดที่มีเหตุมีผลเสมอ เพราะในการวิพากษ์วิจารณ์  หรือวิเคราะห์สิ่งใดจะต้องมีการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลรองรับ ไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ในการประเมินสถานการณ์ในอนาคตของเรานั้น ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเราเองและของผู้อื่นด้วย

4.   Yellow Hat หรือ หมวกสีเหลือง หมายถึง การคาดการณ์ในทางบวก ความคิดเชิงบวก เป็นการมองโลกในแง่ดี การมองที่เป็นประโยชน์  เป็นการคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้  การคิดเชิงบวกเป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ความคิดเชิงลบอาจป้องกันเราจากความผิดพลาด ความเสี่ยง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  ดังนั้นการคิดเชิงบวกต้องผสมผสานความสงสัยใคร่รู้ ความสุข ความต้องการ และความกระหายที่จะทำสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นหรือไม่

5.   Green Hat หรือ หมวกสีเขียว หมายถึง ความคิดนอกกรอบที่มีความสัมพันธ์กับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและมุมมองซึ่งปกติมักถูกกำหนดจากระบบความคิดของประสบการณ์ดั้งเดิม และความคิดนอกกรอบนั้นจะอาศัยข้อมูลจากระบบของตัวเราเอง โดยเมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์

6.  Blue Hat หรือ หมวกสีน้ำเงิน หมายถึง การควบคุม และการบริหารกระบวน การคิด เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของความคิดรวบยอด ข้อสรุป การยุติข้อขัดแย้ง การมองเห็นภาพและการดำเนินการที่มีขั้นตอนเป็นระบบ เมื่อมีการใช้หมวกน้ำเงิน หมายถึง ต้องการให้มีการควบคุมสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในระบบระเบียบที่ดี และถูกต้องหมวกสีน้ำเงินมักเป็นบทบาทของหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมบทบาทของสมาชิก ควบคุมการดำเนินการประชุม การอภิปราย การทำงาน ควบคุมการใช้กระบวนการคิด การสรุปผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ อย่างไรก็ตามสมาชิก ก็สามารถ สวมหมวกน้ำเงิน ควบคุมบทบาทของหัวหน้าได้เช่นกัน ตัวอย่างคำถามที่ผู้สวมหมวกน้ำเงินสามารถนำไปใช้ได้ ได้แก่ เรื่องนี้ต้องการคิดแบบไหน ขั้นตอนของ เรื่องนี้คืออะไร เรื่องนี้จะสรุปอย่างไร ขอบเขตของปัญหาคืออะไร ขอให้คิดว่าเราต้องการอะไร และให้เกิดผลอย่างไร เรากำลังอยู่ในประเด็นที่กำหนดหรือไม่ เป็นต้น ผู้สวมหมวกน้ำเงินเปรียบเสมือนผู้ควบคุมวงดนตรีที่จะทำให้ผู้เล่นดนตรีแต่ละชิ้นบรรเลงสอดประสานกันได้อย่างไพเราะ ดังนั้น การควบคุมการคิดจึงต้อง เลือกใช้วิธีคิดของหมวกแต่ละใบอย่างเหมาะสม

                                                    

กระบวนการคิดของ Six Thinking Hats

      กระบวนการคิดของ Six Thinking Hats นั้นไม่มีรูปแบบตายตัว แต่จะทำการคิดโดยการสวมหมวกทีละใบ ซึ่งเอดเวิร์ด เดอ โบโน ไม่ได้กำหนดว่าควรจะสวมหมวกสีอะไรก่อนหลังเช่น เริ่มจากหมวกสีน้ำเงิน คือ สิ่งที่เราประสบอยู่ แล้วก็ไปค้นหาวิธีแก้ปัญหานั้นๆ ว่าจะมีทางออกอย่างไรบ้าง จากนั้นจึงมาตรวจสอบกับหมวกสีเหลืองว่า ถ้าทำอย่างนั้นจะมีประโยชน์อะไรบ้าง ตรวจสอบกับหมวกสีดำว่าจะมีปัญหา อุปสรรคอะไรไหม แล้วนำเอาหมวกสีเขียวมาแก้หมวกสีดำอีกที ตรวจสอบกับหมวกสีแดงว่าถูกใจทุกคนหรือไม่ ถ้าไม่ก็หาหมวกสีเขียวมาแก้อีกครั้งหนึ่ง แล้วถึงขั้นตอนสรุป คือหมวกสีน้ำเงิน ไม่จำเป็นต้องใช้หมวกทุกสี

      ดังนั้น Six Thinking Hatsจึงเหมาะสมกับการประชุมเพื่อทำการแก้ปัญหาตัดสินใจต่างในองค์กรได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการใช้ Six Thinking Hats

1.  เนื่องจากกระบวนการคิดแบบ Six Thinking Hats เป็นการเริ่มคิดในสิ่งเดียวกัน และคิดร่วมกันในประเด็นเดียวกัน ทำให้ลดความขัดแย้งในการประชุมลงไปได้มาก

2.  เนื่องจากระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง ทำให้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน เป็นผลให้ในเกิดการพิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ

3.  การใช้ Six Thinking Hats ช่วยให้ทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ทำให้เป็นการดึงเอาศักยภาพ ของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว

4.  ช่วยประหยัดเวลาในการประชุม เนื่องจาก ทุกคนในที่ประชุมมีความคิดแบบคู้ขนาน

5.  จำกัดโอกาสหรือช่องทางสำหรับการโต้เถียงหรือโต้แย้งกัน

สุรป

    เทคนิคการคิดแบบ six thinking hats จะเป็นการรวมความคิดด้านต่างๆ ไว้ครบถ้วนทุกด้าน ระบบให้คนคิดทีละด้าน มองทีละด้าน จากด้านหนึ่งไปมองอีกด้านหนึ่ง จะได้เห็นภาพจริงที่ชัดเจน  ทำให้พิจารณาความคิดใหม่ ๆ ได้รอบคอบ เป็นผลให้เกิดความคิดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การคิดเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบสวมหมวกคิด six thinking hats จะช่วยให้ผู้คิดสามารถคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดอย่าง สร้างสรรค์และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

ที่มา  :  http://portal.in.th/pjrattanapan-oab/pages/262/