วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

การบริหารต้นทุน

คำถาม

การบริหารต้นทุนมีวิธีการหรือแนวทางในการทำงานอย่างไร ที่จะมุ่งเน้นให้องค์กรมีคุณภาพในการบริหารมากที่สุด?

- ต้นทุนคืออะไร nbsp มีสิ่งใดบ้างที่แสดงถึงการเป็นต้นทุน - nbsp ต้นทุนในการที่จะบริหารมีเรื่องเกี่ยวกับใดบ้าง -หลักในการบริหารต้นทุนที่ดี nbsp ต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง -วิธีการหรือแนวทางในการบริหารต้นทุนต้องมีวิธการอย่างไร

คำตอบ

ต้นทุน ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการ ผลิตของหน่วยผลิต ในทางบัญชี หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้า หรือผลของกิจกรรมทางธุรกิจ  
 
      ประเภทต้นทุน แบ่งเป็น 4 ประเภท  
1 ต้นทุนชัดเจนกับต้นทุนแฝง Exploit Cost Implicit Cost -   ต้นทุนชัดเจน หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายเป็นตัวเงิน มีหรือไม่มีหลักฐานทางบัญชีก็ได้ -   ต้นทุนแฝง หมายถึง ต้นทุนที่ไม่มีการจ่ายจริง  
2 ต้นทุนทางเศรษฐกิจกับต้นทุนทางบัญชี -   ต้นทุนทางเศรษฐกิจ หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายเป็นตัวเงินและไม่จ่ายเป็นตัวเงิน หรือ หมายถึง ต้นทุนชัดเจนและแฝงรวมกัน หรือคิดกำไรปกติที่ผู้ประกอบการได้รับเข้าไปด้วย -   ต้นทุนทางบัญชี หมายถึง ต้นทุนชัดเจน  
3 ต้นทุนค่าเสียโอกาส -   ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือ ประโยชน์ หรือโอกาสที่จะได้รับเมื่อใช้ทรัพยากรชนิดเดียวกันไปผลิตสินค้า บริการอื่น  
4 ต้นทุนเอกชน และต้นทุนสังคม -   ต้นทุนเอกชน หมายถึง ต้นทุนที่หน่วยผลิตต้องรับผิดชอบโดยตรง เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าวัตถุดิบ ฯลฯ -     ต้นทุนสังคม หมายถึง ต้นทุนเอกชนรวมกับผลกระทบภายนอก  

การคำนวณต้นทุนสินค้า ต้นทุนสินค้า คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อให้ได้มา
ซึ่งการผลิตสินค้า ประกอบด้วย  
1   ค่าวัตถุดิบ   ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทุกประเภทที่นำมาใช้ในการแปรสภาพเพื่อผลิตเป็นสินค้า  
2   ค่าแรงงาน   ได้แก่ ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างรับเหมาช่วง ซึ่งเป็นแรงงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป  
3   ค่าใช้จ่ายในการผลิต   ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงนอกเหนือจากค่าวัตถุดิบ และค่าแรงงาน ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าเช่าโรงงาน เงินเดือนผู้บริหารฝ่ายผลิต       ค่ากล่องบรรจุ ค่าวัสดุสิ้นเปลืองในการผลิต ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน ค่าซ่อมบำรุงโรงงาน ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงาน เป็นต้น
       ดังนั้น ต้นทุนในการผลิตสินค้าต่อหน่วยคำนวณได้ดังนี้   ต้นทุนผลิตสินค้าต่อหน่วย     ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการผลิต     จำนวนสินค้าที่ผลิตได้  
นอกจากค่าใช้จ่ายในการผลิตดังกล่าว ยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เป็นการจ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้ เรียกว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  
     ซึ่งประกอบด้วย     1   ค่าใช้จ่ายทางการตลาด   ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขาย เช่น ค่าโฆษณา ค่าสินค้าตัวอย่าง ค่าขนส่ง ค่าออกร้าน ค่าคอมมิชชั่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นต้น   2   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร   ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในสำนักงาน เช่น เงินเดือนผู้บริหาร     ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาในสำนักงาน ค่าเครื่องเขียน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินในสำนักงาน ดอกเบี้ยจ่าย ค่าภาษี เป็นต้น                                

      ดังนั้น ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยคำนวณได้ดังนี้                       ต้นทุนสินค้าต่อหน่วย       ต้นทุนการผลิตสินค้าต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อหน่วยการลดต้นทุนสินค้า                       การบริหารต้นทุนคือหัวใจสำคัญในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันรุนแรง ผู้ประกอบการมีจำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศอันเนื่องมาจากนโยบายเปิดเสรีทางการค้า FTA   และภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดเวลา ตลอดจนสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ เช่น จากประเทศจีนและเวียดนาม เข้ามาแข่งขันในตลาด ทำให้ส่วนต่างของราคาขายและต้นทุนการผลิต ที่เรียกว่า “ กำไรขั้นต้น ” Gross profit หดแคบเข้ามามากจนแทบไม่เหลือเป็นกำไรสุทธิให้กับกลุ่มผู้ผลิต                       จุดเริ่มต้นของการลดต้นทุนก็คือ   การหันกลับมาพิจารณาธุรกิจของตนเองและแยกแยะหา     ต้นทุนจริงของสินค้าและบริการแต่ละชนิดที่มีอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพที่ผลิตสินค้าหลากหลาย คือมีสินค้าและบริการหลายประเภทที่ต้องใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตร่วมกัน เพราะลำพังเพียงผลประกอบการโดยรวม   ทั้งปี ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและแม่นยำได้                      

วิธีการบริหารต้นทุนของสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด มีหลากหลายวิธี เช่น การปรับสูตรหรือส่วนผสมในการผลิต การหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูก การลดการสูญเสียในการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต การตัดต้นทุนส่วนที่ไม่จำเป็นออก                      
ในส่วนของพนักงานผลิตและพนักงานให้บริการ ให้มีการฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนมากขึ้น หรือตัดงานบางส่วนให้กับกลุ่มผู้ผลิตอื่นที่ผลิตได้ต้นทุนที่ต่ำกว่าและสามารถส่งของได้ตรงตามกำหนดและได้คุณภาพตรงตามต้องการ                                            

การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สั้น   กระชับ   และมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม   บางครั้งต้องลงทุนในอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่จะช่วยประหยัดกำลังคนและลดการสูญเสียจากการผลิตได้                                             สรุป   การลดต้นทุนคือ การเพิ่มผลกำไรโดยไม่กระทบถึงผู้บริโภคภายนอก เป็นกระบวนการที่จัดการกันเองภายในองค์กร โดยอาศัยความร่วมมือจากบุคคลทุกฝ่ายและทุกคนในองค์กร ตั้งแต่บนสุด จนถึงล่างสุด การลดต้นทุนมิใช่การลดวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน แต่เป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่นั้นให้คุ้มค่าที่สุด                          

วิธีการลดต้นทุนสินค้า   สามารถทำได้ 3 วิธีการใหญ่ คือ 1   การควบคุมต้นทุนสินค้าให้อยู่ในเป้าหมาย  
การตรวจสอบต้นทุนปัจจุบัน หมายถึง     การตรวจการใช้ทรัพยากรของกลุ่ม ว่าถูกใช้ไปอย่างเหมาะสม ประหยัด และคุ้มค่าหรือไม่ เช่น บุคลากรมีมากเกินความจำเป็นหรือไม่ ค่าวัตถุดิบในการผลิต ค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าพลังงานเชื้อเพลิงต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายทางการตลาด เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้ว เราต้องตั้งเป้าหมายต้นทุนที่ต้องการขึ้น และควบคุมให้อยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ การควบคุมต้นทุนเป็นการกำจัดความสิ้นเปลืองต่าง ๆ ในกระบวนการออกไป แล้วก็กำหนดเป็นต้นทุนมาตรฐานขึ้น   2   การปรับลดต้นทุนสินค้า   คือ การกำหนดเป้าหมายต้นทุนสินค้าโดยการนำวิธีการผลิตแบบใหม่ เช่น เครื่องจักรที่ทันสมัย วัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง หรือการออกแบบที่มีนวัตกรรมใหม่ ที่ช่วยลดต้นทุนสินค้า ดังนั้น การปรับลดต้นทุนสินค้า คือการประสานงานของหน่วยงานออกแบบ หน่วยงานผลิต หน่วยงานเทคนิค เป็นจุดศูนย์กลางทำกิจกรรมในหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง                      

จุดหลักของการปรับลดต้นทุนสินค้า คือ กำหนดค่าเป้าหมายต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการดำเนิน   กิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าต้นทุนสินค้ามาตรฐาน ส่วนต่างที่ได้จากต้นทุนสินค้าปัจจุบันและต้นทุนสินค้าหลังปรับปรุง คือ ผลลัพธ์ของการปรับปรุง   3   ปรับลดต้นทุนสินค้าอย่างต่อเนื่อง   ในการดำเนินการลดเป้าหมายต้นทุนสินค้าที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมายต้นทุนสินค้า ที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าผลลัพธ์ของต้นทุนที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านั้น เช่น ในรอบการผลิตที่ผ่านมา 6 เดือน 1 ปี และทุกครั้งจะต้องนำต้นทุนสินค้ามาตรฐานครั้งก่อนมาตั้งค่าครั้งใหม่เพื่อให้ได้ต้นทุนมาตรฐานที่ต่ำลง โดยกระบวนการลดต้นทุนยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น     การปรับลดต้นทุนสินค้าอย่างต่อเนื่อง   โดยการปรับปรุงต้นทุนมาตรฐานให้ต่ำลงเรื่อย ๆ

การบริหารต้นทุน

"การลดต้นทุน" คือการพยายามลดค่าใช้จ่าย (ทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ควรลดค่าใช้จ่ายที่ยังไม่จำเป็นต้องลด ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรที่จะไปลดโดยเด็ดขาด) โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้เร็วที่สุดในรูปของตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ลดลงทันทีทันใด (ถึงแม้การลดค่าใช้จ่ายอาจจะต้องส่งผลเสียกับพนักงาน และส่งผลเสียกับคุณภาพของสินค้า-บริการที่ลูกค้าจะได้รับก็ต้องยอม)

"การบริหารต้นทุน" คือ การบริหารองค์กรทั้งในเรื่องของสินทรัพย์ (เครื่องไม้เครื่องมือ อาคาร ฯลฯ)และทรัพย์สิน(บุคลากร) ให้มีศักยภาพสูงที่สุดในการปฏิบัติงาน โดยใช้ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่ยืดหยุ่นและผันแปรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ในแต่ละช่วง เวลาที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่ธุรกิจขยายตัว จำเป็นต้องเพิ่มกำลังคน องค์กรที่ใช้วิธีบริหารแบบลดต้นทุน ก็คือจะรีบทำการเพิ่มคน(โดยเป็นการเพิ่มต้นทุนไปอย่างอัตโนมัติ) และเมื่อถึงเวลาขาลงของธุรกิจ ก็จะรีบลดคน ลดต้นทุนทันทีทันใดเช่นเดียวกัน เท่านั้นยังไม่พอ ยังรวมถึงการลดต้นทุนโดยการลดคุณภาพของสินค้า ลดคุณภาพของการบริการ ลดค่าใช้จ่ายทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ระมัดระวังเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขี้นกับทีมงานและคนในองค์กร ผลที่ได้รับมักจะกลายเป็นการลดลูกค้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ในขณะที่องค์กรที่ใช้การบริหารแบบ "บริหารต้นทุน" เมื่อถึงเวลาที่ธุรกิจขยายตัว จะไม่รีบร้อนเพิ่มคน แต่ใช้หลายทางเลือก เช่น ใช้พันธมิตรมาเป็นคู่คิด คู่ปฏิบัติในการร่วมกันขยายธุรกิจ ขยายโอกาส และร่วมกันรับความเสี่ยง หรืออีกทางเลือกเช่น ดึงศักยภาพคนในองค์กร จากที่เคยทำได้แค่หน้าที่เดียว หล่อหลอมฝึกฝนในเวลาที่กระชับไม่ยืดยาด เพื่อให้ขยายขอบเขตของทักษะและบทบาทที่รองรับการขยายตัวของธุรกิจ

และเมื่อถึงเวลาขาลงของธุรกิจ การใช้พันธมิตรมาช่วยในช่วงแรกก็จะลดบทบาทลงทั้งสองฝ่ายโดยไม่จำเป็นต้องลดต้นทุน แต่ได้บริหารต้นทุนและได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างเรากับพันธิมิตร ยิ่งในกรณีทีสามารถฝึกฝน หล่อหลอมทีมงานแบบกระชับให้มีหลายทักษะโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มคนใหม่ แต่ใช้คนในให้เกิดศักยภาพสูงสุด เมื่อถึงช่วงขาลง ก็จะกลายเป็นองค์กรที่มีทีมงานจำนวนเท่าเดิม แต่มีศักยภาพมากกว่าเดิม

ในอีกมิติหนึ่ง องค์กรที่รู้จักบริหารต้นทุน จะใช้สินทรัพย์ทุกอย่างอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีเหตุผล ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ตามกระแส แต่จะทุ่มทุนและทุ่มเทไปกับทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดขององค์กรก็คือคน และถ้ามีกึ๋นในการบริหารคน สิ่งที่จะตามมาก็คือ คนขององค์กรจะช่วยบริหารต้นทุนให้กับองค์กรโดยไม่ต้องมาขอร้องให้ประหยัดแบบจำใจประหยัดสลับกับล้างผลาญค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรจะจ่ายอย่างที่หลายๆ องค์กรเป็นกันอยู่

เพราะฉะนั้น ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดของ “การลดต้นทุน” กับ “การบริหารต้นทุน” อยู่ที่ ผู้นำขององค์กร และผู้บริหารทุกระดับในแต่ละหน่วยงานว่า มีวิธีคิด วิธีมองต้นทุนอย่างไร? ถ้ามองว่า สินทรัพย์(สิ่งไม่มีชีวิต) และ ทรัพย์สิน(คนทุกระดับในองค์กร) คือต้นทุน ก็ถือว่าผิดตั้งแต่เริ่มคิดแล้ว เพราะเมื่อถึงเวลาที่จะเพิ่มก็จะเพิ่มทั้งสองอย่าง และถึงเวลาที่จะลดก็ลดทั้งสองอย่าง สุดท้ายก็จะไม่มีเหลือต้นทุนที่มีศักยภาพให้องค์กรบริหาร อีกต่อไป

Credit : businessthai.co.th / TMB Efficiency

อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) แนวทางของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) แนวทางของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

อุตสาหกรรม 4.0

แนวทางของอุตสาหกรรมในอนาคตได้มีการกระเพื่อมขึ้นทั่วโลก ซึ่งมีการเรียกขานที่แตกต่างกันไป  เช่น

สหรัฐ คือ Smart Manufacturingยุโรป คือ Factories of the Future (FoF)เยอรมัน คือ Industry 4.0ญี่ปุ่น คือ Industrial Value Chain Initiatives (IVI)เกาหลีใต้ คือ Manufacturing Innovation 3.0จีน คือ Made in China 2025: A New Era for Chinese Manufacturingไต้หวัน คือ Productivities 4.0

กล่าวคือ แนวคิดที่ทาง EU หรือ European Union มีข้อสรุปออกมา เรียกว่า Factories of the Future (FoF) ในอเมริกาเรียกว่า Smart Manufacturing ส่วน Industry 4.0 เยอรมนีเป็นประเทศที่นำไปใช้ ทั้งนี้ในกรอบของการผลิตในอนาคต หรือ Factories of the Future จะพูดถึงเรื่องการหาวัตถุดิบใหม่ๆ เช่น มีน้ำหนักเบา หรือแบตเตอรี่ประหยัดพลังงานได้รีไซเคิลกลับมาใช้ได้ง่ายเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นต้น ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงเรื่องกระบวนการ Automation หรือว่าไอทีมาช่วยเพียงอย่างเดียว

โดยหากหยิบยกการเรียกแบบเยอรมันผสานกับยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม สามารถแบ่งยุคได้ ดังนี้

0 คือ ยุคหัตถกรรมและเกษตรกรรมที่ผลิตด้วยมือ หรือใช้สัตว์ช่วยในการผ่อนแรง1.0 คือ ยุคการผลิตด้วยเครื่องจักรกลไอน้ำทุ่นแรงงานคน/สัตว์2.0 คือ ยุคแห่งการคิดค้นมอเตอร์ไฟฟ้า/พลังงานไฟฟ้า เพื่อทดแทนเครื่องจักรกลไอน้ำผลิตสินค้าที่เร็วขึ้น ถึงขั้นลักษณะที่เหมือนๆ กันจึงเกิดการผลิตแบบ Mass Production ที่สินค้าผลิตเหมือนกันในปริมาณมาก3.0 คือ ยุคเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ดิจิทัล/หุ่นยนต์ เริ่มแพร่หลาย กระบวนการผลิตทุกอย่างเริ่มอัตโนมัติมากขึ้นทำงานซ้ำๆ ได้ดี เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ มีการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานทดแทนแรงงานมนุษย์ การผลิตด้วยการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาสั่งเครื่องจักรในการผลิต4.0 คือ การผลิตด้วยการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตระหว่างเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ จากการผลิตที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จึงต้องมีการออกแบบ function การผลิตที่ละเอียดขึ้นแบบที่มนุษย์ไมสามารถผลิตได้ เป็นยุคใหม่ของการรวมพลังระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลควบคุมเครื่องจักรให้เครื่องจักรสื่อสารข้อมูลกันเอง ซึ่งตัวที่ผลักดันได้ชัดเจนที่สุดให้เกิด 4.0 ขึ้นมาคือ อินเทอร์เน็ต/ไซเบอร์

กล่าวโดยสรุป คือ การผลิตที่มีเพียงงานหัตถกรรมและเกษตรกรรม ได้พัฒนาสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก (Industry 1.0) ที่มีการสร้างเครื่องจักรไอน้ำนำไปสู่การสร้างรถไฟและเครื่องจักรในโรงงาน การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 (Industry 2.0) เป็นการเปลี่ยนจากการใช้เครื่องจักรไอน้ามาใช้พลังงานไฟฟ้า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 (Industry 3.0) เป็นการใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิตแทนที่แรงงานคน และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการผลิตสินค้า สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละราย เป็นการพัฒนาจนถึงเครื่องจักรสามารถสื่อสารกันเองได้ ส่งข้อมูลระหว่างกันได้ สิ่งนี้คือสิ่งที่นำมาสู่การมีประสิทธิภาพที่ใช้แรงงานน้อยลง ใช้อุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ ที่มีความแม่นยำมากขึ้น วัสดุที่ใช้จึงมีความพิเศษมากขึ้น ประสิทธิภาพสูงขึ้น และใช้ปริมาณที่น้อยลงอีกด้วย

นอกจากนี้ “Industry 4.0” ยังถือว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่เป็นเสมือนการปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งใหม่ล่าสุด ที่มีจุดเด่น คือ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักร และระบบการผลิตในลักษณะ industrial automation เพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค แต่ยังรักษาประสิทธิภาพ การผลิตที่สูง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการผลิต เช่น 3D Printing, Augmented reality, Big data and analytics, Autonomous Robots, Simulation, Horizontal and vertical system integration, Smart Factor, Cybersecurity, The Cloud เป็นต้น

ดังนั้น Industry 4.0 หรือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมขั้นที่ 4 จึงเป็นการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ร่วมในกระบวนการผลิต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของ Demand และ Supply ของโลกในอนาคต โดยมีปัจจัยขับเคลื่อน Demand ของโลกในปี 2025 ได้แก่

ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.9 พันล้านคน เปรียบเทียบได้กับมนุษย์ต้องมีโลกเพื่อรองรับประชากรถึง 2 ใบครึ่ง เพราะประชากรล้นโลก ส่งผลให้ทรัพยากรโลกลดน้อยลง จึงเกิดแนวคิดส่งมนุษย์ไปดาวดวงอื่น หรือ หาวิธีการใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุดรายได้โดยเฉลี่ยของประชาชนจะส่งผลให้เกิดความกินดีอยู่ดีเพิ่มสูงขึ้น จะมีชนชั้นกลางและผู้มีรายได้สูง 4.2 พันล้านทั่วโลก ส่งผลให้มีความต้องการที่แตกต่างหลากหลายสูงขึ้นขนาดตลาดของกลุ่มประเทศตะวันออก (30 Triton USD) และตะวันตก (34 Triton USD) ไม่แตกต่างกันมากผู้อาศัยในเขตเมืองจะเพิ่มสูงขึ้น (Urbanization)ปัญหาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น แต่ละประเทศจะลดการพึ่งพิงทรัพยากรน้ำมันแล้วหันมาเพิ่มเปอร์เซ็นต์การใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อลดความเสียงการขาดแคลนพลังงาน รวมถึงการใช้งาน Smart Grid จะขยายตัวมากขึ้น

 

การพัฒนา Industry 4.0 ในต่างประเทศ

ในต่างประเทศมีการตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเดิมสู่ Industry 4.0 มาก นำโดยประเทศเยอรมันที่ประกาศ German Standardization Roadmap Industrie 4.0 (Version 2) ในเดือนตุลาคม 2015 ตามหลังจีนที่ได้ประกาศแผน Roadmap ที่ชื่อ Made in China 2025 เพื่อเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตของจีนเมื่อต้นปี 2015 เนื่องจากการปรับกระบวนการผลิตใหม่นี้จะสามารถช่วยลดต้นทุนทั้งกระบวนการได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำนั่นเอง

ในอาเซียนนั้น ประเทศที่เป็นแนวหน้าด้าน Industry 4.0 คือประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งสิงคโปร์นั้นแม้ยังไม่มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีจำนวนเพียงพอ แต่อาจสามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงงานในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) ที่ผลิตสินค้าให้แก่สิงคโปร์ต่อไปได้ ส่วนประเทศมาเลเซีย ซึ่งเน้นทางด้านไอทีแต่วัตถุดิบของมาเลเซียยังน้อยกว่าไทย หากไทยสามารถนำ Industry 4.0 ไปพัฒนาก่อนได้อาจจะสามารถขยับด้านการแข่งขันด้วย Industry 4.0 ได้ไม่ยากนัก

การพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0 ของประเทศต่างๆ ในเอเชีย

ประเทศการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0ญี่ปุ่นศึกษาการปรับการผลิตให้เป็นเทคโนโลยีของตนเองตามความเหมาะสมในแต่ละรูปแบบ และทยอยปรับการผลิตเข้าสู่ Industry 4.0 ตามความปรับที่แตกต่างกันทีละแผนก (Production Module) เช่น เริ่มจากแผนกจัดซื้อ ตามด้วยแผนกวางแผนการผลิต และปรับสายการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงการผลิตระหว่างโรงงานผลิตอีกด้วยไต้หวันเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศจากการส่งเสริมให้เกิดฐาน SMEs ซึ่งได้ขยับอันดับ World Ranking จากระดับใกล้เคียงกับไทยในอดีต จนอยู่เป็นอันดับที่ 14 ในปัจจุบันนั้น ได้มีการศึกษา Industry 4.0 ด้วยการแปลเอกสารจากภาษาเยอรมันเป็นภาษาจีน แล้วนำไปปรับการผลิตต่อไป เช่น โรงงานทอผ้าที่ทอผ้าด้วยเครื่องจักรได้ปรับเป็น i-Factory ด้วยการปรับ PDCA (Plan, Do, Check, Action) และสร้างทีมงานศึกษาและปรับการผลิตเข้าสู่ Industry 4.0 โดยเริ่มนำเทคโนโลยีเซนเซอร์มาใช้ร่วมกับ Embedded และ reengineering จาก Industry 3.0 เป็น Industry 4.0 เพื่อให้การทำงานร่วมกับระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรให้มากขึ้น ซึ่งรัฐบาลไต้หวันก็ได้ตอบรับด้วยการส่งเสริมการศึกษาด้าน Human Interface/Interaction อีกด้วยเกาหลีใต้ศึกษา Industry 4.0 และลอกแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแบบเยอรมันจีนศึกษา Industry 4.0 และลอกแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแบบเยอรมัน นอกจากนี้ยังได้มีความร่วมมือในการวางแผนการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานร่วมกับรัฐบาลเยอรมันอีกด้วยอินโดนีเซียศึกษา Industry 4.0 และลอกแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแบบเยอรมัน แล้วนำไปปรับการผลิตต่อไป

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในส่วนของประเทศของไทยนั้น แม้จะมี GDP ประมาณร้อยละ 40 ใกล้เคียงกับจีน แต่ทั้งไทยและประเทศอื่นๆ ใน AEC ยังคงมีค่า GDP ที่พึ่งพาการลงทุนในการผลิตจากต่างประเทศ มากกว่าภาคบริการและการเกษตรอย่างในกลุ่มประเทศยุโรป ส่งผลให้ไทยต้องรีบศึกษา Industry 4.0 เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและให้สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต ที่ต้องสามารถนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจมากกว่าการใช้ในเชิงส่วนบุคคลเท่านั้นอย่างในปัจจุบัน ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยที่สามารถปรับตัวพร้อมรับ Industry 4.0 ได้สูงสุดคือ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ รองลงมาได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปโลหะ สิ่งทอ การบริการ และอาหารที่ยังไม่พบการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต

ซึ่งทางรอดของอุตสาหกรรมไทย คือ การยกระดับภาคการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่งให้เข้าสู่ Industry 4.0 ให้สอดคล้องกับที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าหมายไว้ให้ได้ นอกจากนี้ยังต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมยุคใหม่ที่กำลังเป็น paperless society และนโยบาย Digital Economy ของรัฐบาล รวมทั้งการผลักดันยุทธศาสตร์ Trading Nation ที่จะทำให้ไทยเป็นชาติการค้าในภูมิภาคและระดับโลก โดยมองตลาดโลกเป็นตลาดเป้าหมาย

ข้อมูลอ้างอิง

1. กมลพรรณ แสงมหาชัย, Revolution to Industry 4.0, ศูนย์การจัดการพลังงานและเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2558.
2. เจน นำชัยศิริ, Driving the cluster towards Thai industries 4.0, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2558.
3. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, Thai Industries 2025 กับแนวทางอุตสาหกรรมในอนาคต,Industry Focus, ปีที่4, ฉบับที่ 050, 2558.
4. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, Managing Today to Shape Tomorrow’s World, Productivity Conference 2015, 2558.