การปรับปรุงสีและความสะอาดของพลอย เป็นสิ่งที่คนเราพยายามทำมานับเนื่องได้นานหลายร้อยปี ประวัติศาสตร์บอกเราว่า การเผาพลอยเริ่มมาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน การบรรยายนี้จะเน้นเฉพาะเทคนิคการปรับปรุงสีและความสะอาด ของพลอยที่ตรวจพบจากห้องแล็ปของสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งเอเชีย ( เอ. ไอ. จี. เอส ) เท่านั้น
กระบวนการแรกที่จะกล่าวถึงคือ การเผาพลอย เป็นเทคนิคที่ฟังดูง่ายแต่เมื่อปฏิบัติจริงแล้วค่อนข้างซับซ้อนกว่าที่หลาย ๆ คนคิด เพราะต้องมีแฟกเตอร์หลายประการเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น คุณภาพต้องถึงจุดที่เหมาะสมของระยะเวลาการเผา ว่าจะนานแค่ไหน อัตราเร็วของการเพิ่มหรือลดอุณหภูมิระหว่างการเผา รวมทั้งระยะเวลาที่พักช่วงระหว่างการลดอุณหภูมิบรรยากาศในเตาเผา ว่าเป็นแบบออกซิไดซิ่ง หรือรีดิวซิ่ง สารอื่น ๆ ที่ห่อหุ้มพลอยในระหว่างการเผา
เป็นที่ทราบกันมานานแล้ว่า คนไทยมีฝีมือในการเผาทับทิมและไพลินอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก เมื่อทับทิมมองชูออกสู่ตลาด เซียนเผาพลอยก็ได้สนุกกันเต็มที่เพราะทับทิมมองชูเกือบ 100 % ต้องนำมาเผาก่อนเพื่อกำจัดหย่อมสีน้ำเงินแกมม่วงภายในพลอยดิบ นักเผาพลอยที่ชำนาญจะสามารถทราบได้จากลักษณะหย่อมสี ว่าควรเผาโดยสภาวะอย่างไร นานแค่ไหนจึงจะได้ผลดีที่สุด
ระหว่างการเผา ทับทิมจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยสารประเภทแก้ว ทำให้ผลพลอยได้คือ สารนี้จะหลอมละลายเข้าไปอุดรอยแตกของผิวทับทิม เมื่อเจียระไนแล้วร่องรอยการอุดนี้อาจยังหลงเหลือให้เห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือใช้แว่นขยายขนาด 10 เท่า เพราะแก้วมีความวาวต่างจากทับทิม โดยปกติช่างเจียระไนจะขัดเอาร่องรอยการอุดบนหน้าพลอยออกจนหมด แต่ตรงบริเวณก้นพลอยจะยังคงเอาไว้ ร่องรอยดังกล่าวนี้จะแตกต่างจากการจงใจอุดรอยแตก ซึ่งเกิดบนผิวหน้าแทรกลึกลงไปในเนื้อพลอย รอยแตกนี้โดยปกติจะมีอากาศอยู่ภายใน อากาศมีการหักเหแสงต่างจากพลอยมาก ทำให้มองเห็นรอยแตกได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า เมื่อเราใช้วัสดุประเภทแก้ว ซึ่งมีค่าการหักเหแสงใกล้เคียงกับพลอยเข้าไปอุดรอยแตก ความเด่นชัดของรอยแตกจะลดลง
ปัญหาในการตรวจสอบทับทิมมองชูที่ห้องแล็ปต่าง ๆ ทั่วโลกประสบอยู่ก็คือ ลักษณะตำหนิภายในของทับทิมมองชู ที่ไปคล้ายกับตำหนิของทับทิมสังเคราะห์แบบฟลักซ์เป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการผิดพลาดในการตรวจสอบอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันผ่านการเผามาแล้ว ตำหนิภายในของมัน จะเหมือนกันทุกประการกับตำหนิทับทิมสังเคราะห์แบบคาซาน ซึ่งผ่านการเผามาแล้วเช่นกัน ตอนนี้ทับทิมสังเคราะห์แบบคาซาน กำลังระบาดมากในตลาดการซื้อขายทับทิมในกรุงเทพ ฯ
เทคนิคการปรับปรุงสีของไพลินซึ่งใช้ได้ผลดีเยี่ยม คือ การนำไพลินธรรมชาติสีอ่อนมาเผา โดยมีสารประกอบอลูมิเนียมออกไซด์ห่อหุ้มภายนอก สารประกอบนี้จะแทรกตัวเข้าไปบนผิวหน้าของไพลิน ทำให้เป็นสีน้ำเงินสวย การเผาต้องใช้อุณหภูมิประมาณ 1800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 200 ชั่วโมง พลอยที่ซ่านสีแล้ว เมื่อนำมาเจียระไน ผิวหน้าพลอยบางส่วนถูกเฉือนออกไป ทำให้บริเวณผิวพลอยมีสีจาง – เข้ม สลับกันเป็นหย่อม ๆ สีเข้มจะเห็นชัดบริเวณแนวเส้นขอบพลอยและเหลี่ยมพลอย ลักษณะเช่นนี้ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นได้เมื่อจุ่มพลอยในเมทิลีนไอโอไดด์ ซึ่งเป็นของเหลวที่มีค่าการหักเหแสงสูงกว่าไพลิน โชคดีที่พลอยซ่านสีเหล่านี้มีลักษณะพิเศษเห็นได้ชัดเจน การตรวจสอบทำได้ง่าย แล็ปต่าง ๆ จึงไม่มีปัญหาในการวิเคราะห์พลอยชนิดนี้
เร็ว ๆ นี้แล็ปของสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งเอเชีย ( เอ.ไอ.จี.เอส. ) ได้ตรวจพบไพลินสตาร์และทับทิมสตาร์ ซึ่งใช้กระบวนการซ่านสี ทำให้เกิดสตาร์บนผิวหน้าของพลอย
ในวิธีนี้ ผู้ผลิตจะเลือกทับทิมหรือไพลินสีสวยอยู่แล้วนำมาโกลนขึ้นรูปคร่าว ๆ เสร็จแล้วจึงนำไปฝังในครูซิงบิล ซึ่งภายในบรรจุผงไทเทเนียมและอะลูมิเนียมออกไซด์ นำเข้าเตาเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1300 องศา – เซลเซียส ประมาณ 4 ชั่วโมง นำพลอยที่ได้มาเจียระไนอีกครั้ง ชั้นสตาร์จะมีความหนาแค่ 0.01 ถึง 0.25 มิลลิเมตร การเจียระไนจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ชั้นสตาร์นี้ถูกขัดออกไปหมด ลักษณะสังเกตของพลอยสตาร์ซ่านสีก็คือ สตาร์ของมันจะสวยมากผิดปกติ ขาสตาร์จะตรงและยาว ตัดกันเป็นมุมชัดเจน บริเวณสตาร์จะเป็นสีออกเทา ไม่ขาวเหมือนสตาร์ธรรมชาติ เมื่อจุ่มในเมทิลีน ไอโอไดด์ บริเวณตำหนิเส้นรูปเข็มรูทิล ซึ่งประกอบกันเป็นสตาร์จะไม่ตัดกันเป็นมุมชัดเจน แต่จะมีลักษณะเรียงกันเป็นวงเหมือนกลุ่มหมอก
หยกโดยทั่วไปจะผ่านการปรับปรุงคุณภาพโดยวิธีอาบน้ำมันหรือไขมัน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยุคหลัง ๆ นี้เมื่อมีการค้นพบพลาสติก จึงมีผู้นำพลาสติกมาเคลือบหยกเพื่อให้มองดูเนื้อดีสีสวย
ประมาณ 10 ปีมานี้มีกระบวนการใหม่สำหรับปรับปรุงคุณภาพหยกคือ การนำหยกมากัดสีด้วยกรด เพื่อทำลายหย่อมสีน้ำตาลของแร่เหล็ก จากนั้นจึงนำหยกที่ได้ไปเคลือบพอลิเมอร์หยกประเภทนี้เรียกว่า หยกอาบน้ำ การตรวจสอบต้องกระทำโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูงที่เรียกว่า FTIR เพื่อตรวจหาพอลิเมอร์ที่แทรกอยู่ในเนื้อหยก
โดยทั่วไปประมาณ 20 % ของหยกที่ผ่านการตรวจสอบตามแล็ปต่าง ๆ จะเป็นหยกอาบน้ำ แต่ชิ้นงานประเภทหยกแกะสลักหรือกำไลหยกพบว่า 95 % ของที่เข้ามาตรวจสอบที่แลปเป็นหยกอาบน้ำแล็ป เอ.ไอ.จี.เอส. ยังได้ตรวจพบควอทไซด์ย้อมสีแล้วเคลือบด้วยพอลิเมอร์ เมื่อมองดูภายใต้ไมโครสโคป จะเห็นสีย้อมแทรกตัวอยู่ในเนื้อพลอยอย่างชัดเจน
เร็ว ๆ นี้แล็ปของสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งเอเชีย ( เอ.ไอ.จี.เอส. ) ได้ตรวจพบไพลินสตาร์และทับทิมสตาร์ ซึ่งใช้กระบวนการซ่านสี ทำให้เกิดสตาร์บนผิวหน้าของพลอย
ในวิธีนี้ ผู้ผลิตจะเลือกทับทิมหรือไพลินสีสวยอยู่แล้วนำมาโกลนขึ้นรูปคร่าว ๆ เสร็จแล้วจึงนำไปฝังในครูซิงบิล ซึ่งภายในบรรจุผงไทเทเนียมและอะลูมิเนียมออกไซด์ นำเข้าเตาเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1300 องศา – เซลเซียส ประมาณ 4 ชั่วโมง นำพลอยที่ได้มาเจียระไนอีกครั้ง ชั้นสตาร์จะมีความหนาแค่ 0.01 ถึง 0.25 มิลลิเมตร การเจียระไนจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้ชั้นสตาร์นี้ถูกขัดออกไปหมด ลักษณะสังเกตของพลอยสตาร์ซ่านสีก็คือ สตาร์ของมันจะสวยมากผิดปกติ ขาสตาร์จะตรงและยาว ตัดกันเป็นมุมชัดเจน บริเวณสตาร์จะเป็นสีออกเทา ไม่ขาวเหมือนสตาร์ธรรมชาติ เมื่อจุ่มในเมทิลีน ไอโอไดด์ บริเวณตำหนิเส้นรูปเข็มรูทิล ซึ่งประกอบกันเป็นสตาร์จะไม่ตัดกันเป็นมุมชัดเจน แต่จะมีลักษณะเรียงกันเป็นวงเหมือนกลุ่มหมอก
หยกโดยทั่วไปจะผ่านการปรับปรุงคุณภาพโดยวิธีอาบน้ำมันหรือไขมัน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยุคหลัง ๆ นี้เมื่อมีการค้นพบพลาสติก จึงมีผู้นำพลาสติกมาเคลือบหยกเพื่อให้มองดูเนื้อดีสีสวย
ประมาณ 10 ปีมานี้มีกระบวนการใหม่สำหรับปรับปรุงคุณภาพหยกคือ การนำหยกมากัดสีด้วยกรด เพื่อทำลายหย่อมสีน้ำตาลของแร่เหล็ก จากนั้นจึงนำหยกที่ได้ไปเคลือบพอลิเมอร์หยกประเภทนี้เรียกว่า หยกอาบน้ำ การตรวจสอบต้องกระทำโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูงที่เรียกว่า FTIR เพื่อตรวจหาพอลิเมอร์ที่แทรกอยู่ในเนื้อหยก
โดยทั่วไปประมาณ 20 % ของหยกที่ผ่านการตรวจสอบตามแล็ปต่าง ๆ จะเป็นหยกอาบน้ำ แต่ชิ้นงานประเภทหยกแกะสลักหรือกำไลหยกพบว่า 95 % ของที่เข้ามาตรวจสอบที่แลปเป็นหยกอาบน้ำแล็ป เอ.ไอ.จี.เอส. ยังได้ตรวจพบควอทไซด์ย้อมสีแล้วเคลือบด้วยพอลิเมอร์ เมื่อมองดูภายใต้ไมโครสโคป จะเห็นสีย้อมแทรกตัวอยู่ในเนื้อพลอยอย่างชัดเจน
มรกตธรรมชาติมักจะมีตำหนิภายในค่อนข้างมาก และมีรอยแตกเต็มไปหมด ทั้งนี้เพราะผลึกมรกตเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของแร่ที่หลอมละลาย การใช้สารบางชนิดอุดรอยแตกของมรกตเพื่อเพิ่มความสวยงาม จึงเป็นสิ่งที่วงการธุรกิจอัญมณียอมรับ
สมัยก่อน การอุดรอยแตกในมรกตทำโดยใช้น้ำมันต้นซีดาร์และเรซินจากต้นแคนาดาบอลซัม ปัจจุบันมีสารสังเคราะห์หลายชนิดเข้ามาทำหน้าที่แทนสารธรรมชาติเหล่านี้ ที่นิยมใช้มากเป็นสารที่มีชื่อทางการค้าว่า ออพติคอน
วิธีอุดรอยแตกทำได้ง่าย ๆ โดยนำมรกตที่เจียระไนแล้ว มาทำความสะอาดโดยแช่ในกรดไฮโดรคลอริก แล้วล้างด้วยน้ำ การอัดของเหลวเข้าไปในรอยแตกของมรกต ทำโดยใช้เครื่องมือภายใต้สภาวะความดันต่ำกว่าบรรยากาศ เราอาจลองทำดูโดยนำมรกตใส่ลงในกระบอกเข็มฉีดยาขนาดเล็ก เสียบก้านสูบเข้าไป ดูดออพติ –คอนเข้าไปในกระบอกสูบพอท่วมมรกต นำภาชนะบรรจุออพติคอนออกไป ดึงเข็มออกแล้วปิดจุกให้แน่น ดึงก้านสูบขึ้นเพื่อทำให้เกิดสุญญากาศภายในกระบอกสูบ ออพติคอนจะซึมเข้าแทนที่อากาศในรอยแตกของมรกต นำออกมาทำความสะอาดพร้อมที่จะขายได้
ในทางปฏิบัติจริง มรกตจะบรรจุในภาชนะปิดสนิท มีปั๊มทำหน้าที่ดูดอากาศออกจากรอยแตก แล้วใช้ความดันสูงเพื่อดันให้ออพติคอนเคลื่อนที่เข้าไปในรอยแตกได้ลึกมากขึ้น จากนั้นนำมาให้ความร้อนเพื่อลดความหนืดของออพติคอน ทำให้มันแทรกเข้าตามรอยแตกเล็ก ๆ ได้อย่างทั่วถึง
วิธีการตรวจสอบการอุดมรกต ทำได้โดยนำมรกตมาส่องภายใต้ไมโครสโคป ใช้แสงสะท้อนส่องบนผิวมรกตเพื่อหารอยแตกที่ขึ้นมาถึงผิวหน้า จากนั้นเปลี่ยนแสงเป็นแบบฉากมืด จัดมรกตให้มีแสงสะท้อนเข้าที่เหลี่ยมด้านหลัง ทำให้ฉากหลังสว่าง เมื่อมองในทิศทางตั้งฉากกับรอยแตก จะมองไม่เห็นร่องรอยอะไรเลย แต่ถ้ามองในทิศทางขนานกับรอยแตกแสงสะท้อนนี้จะเป็นสีน้ำเงิน เวลาเราพลิกมรกตไปมาจะเห็นแสงสะท้อนสีน้ำเงิน – ส้มสลับกัน
การตรวจสอบอีกวิธีหนึ่งทำโดยใช้เข็มร้อนจี้บริเวณใกล้ ๆ รอยแตก ถ้าหากที่ผิวหน้าของมรกตไม่มีสารเคลือบผิวของเหลวที่อุดอยู่ในรอยแตกจะไหลซึมออกมา บางครั้งรอยแตกใหญ่มาก และคนที่อุดรอยแตกไม่ชำนาญพอ อาจมองเห็นฟองอากาศอยู่ในของเหลวที่ใช้อุด
บ่อยครั้งที่จะตรวจพบคราบขุ่นขาวในรอยแตก เริ่มจากผิวหน้าลึกเข้าไปในเนื้อมรกต คราบขุ่นขาวนี้มีลักษณะแห้งกรัง อาจจะเกิดจากส่วนผสมของเรซินและสารทำให้เรซินแข็งตัวไม่เหมาะสม
การใช้ออพติคอนอุดรอยแตกในมรกต ให้ผลที่ค่อนข้างดีกว่าใช้น้ำมัน แต่เวลาที่ทำความสะอาดมรกตด้วยเครื่องอุลตราโซนิก ออพติคอนอาจไหลกลับออกมาได้ เวลาทำความสะอาดมรกต จึงต้องระวังให้มาก
ของรักของหวงจะได้อยู่กับคุณไปนานๆ
ข้อมูลจาก นิตยสาร พลอย
ปี 2535 - 2538
http://oknation.nationtv.tv/blog/gemparty/2008/08/20/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น