4 ข้อดีมีตัวเองเป็น " #Brand Presenter"
=========================
ผมมักบอกเสมอว่า ก่อนจะยิงโฆษณา
เราต้อง make sure ก่อนว่า
"สิ่งที่ถูกยิงออกไปคืออะไร?"
ผมเห็นด้วยกับกูรูทุกคนว่า “อย่าชุ่ย”
โดยเฉพาะกับการปั้น "Sales Content"
.
.
แต่ประเด็นก็คือการเขียน Content
อาจจะไม่ใช่ทางของใครหลายคนครับ
เพราะการเขียนให้ทรงพลัง
เท่าการพูดนำเสนอเป็นเรื่องยากครับ
ดังนั้นเป็นที่มาว่าการนำเสนอขายแบบพูด
เหมาะกับคนส่วนใหญ่มากกว่า
โดยเฉพาะการพูดคุยผ่าน "LIVE"
ซึ่งใครที่ยังแหยงในการเอาตัวเองออกมาเสริมแบรนด์
อยากให้อ่านบทความนี้ครับ
.
.
มันมีถึง 4 ข้อดีที่เราควรจะใช้ "ตัวเอง"
เป็น Brand Presenter
แทนการใช้เหล่า Influencer มาเป็น Presenter
ก็เพราะ 4 เหตุผลนี้นั่นเองครับ ...
1.USERS & FOUNDER ADVANTAGE
(จุดแข็งของการเป็นผู้ใช้สินค้า)
========================
ปัญหาของการทำ review
หรือแม้แต่การถ่ายภาพถือสินค้าลง social media
ของเหล่าคนดังทั้งหลาย
โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม Beauty
เพราะบางคนจะรู้สึกว่า
เอ้ย หน้าแกก็สวย ขาว ผ่องแบบนี้มานานแล้ว
มาบอกว่าเพิ่งลองใช้สินค้าตัวนั้นตัวนี้ได้ยังไง
“ความแตกต่างมันไม่เห็น”
.
.
โจทย์ของการทำ Review ก็คือ ลูกค้าอยากฟัง
“ผู้ซื้อสินค้าด้วยเงินของตัวเอง”
ทำให้เชื่อได้แค่ไหน Content นั้นก็จริงเท่านั้น
ความยากก็คือ การใช้คนดังมารีวิวสินค้า
มันเป็นท่าประจำที่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่า
ออกสินค้าใหม่เค้าก็ทำแบบนี้กันนั่นแหละ “ปั้น” ขึ้นมาอยู่แล้ว
อีกปัญหาที่เวลา Influencer ถูกลูกค้าถาม
กลับไม่สามารถให้คำตอบที่เฉพาะเจาะจงได้
ทำให้ความน่าเชื่อถือ ตกต่ำลงไปอีก
.
.
ผมจะไม่ชอบคำตอบอารมณ์ประมาณว่า
“ก็ต้องดูสภาพผิวของแต่ละคนค่ะ” แล้วก็จบไป ...
เพราะในเมื่อเค้าถามเค้าไม่ได้แค่ต้องการให้ “คุณตอบ”
เค้าต้องการ “คำตอบ” ต่างหาก การฟันธงไปเลย
.
.
ยกตัวอย่างเช่น
“แบบนี้ก็ต้องดูสภาพผิวของแต่ละคนค่ะ
รบกวนคุณพี่ถ่ายรูปให้ดูหน่อยได้ไหมคะ
อ๋อ แบบนี้นี่เอง ถ้าพี่ผิวมันบริเวณ T ZONE
พี่ใช้สูตร 2 ดีกว่าค่ะ “
ดังนั้นการที่เจ้าของแบรนด์เป็นกระบอกเสียง
มันย่อมน่าเชื่อถือกว่าใคร
เพราะอย่างน้อย Perception ของคนทั่วไปก็คือ
เจ้าของแบรนด์ต้องทดสอบ แต่ละสูตรเอง
>>> นั้นแปลว่า “อย่างน้อยได้มีการใช้จริงแน่นอน”
.
.
2.COST EFFECTIVE (ต้นทุนดีกว่า)
========================
ใคร ๆ ก็รู้ครับว่า การใช้เจ้าของแบรนด์เป็น Presenter
เป็นวิธีที่ราคาถูกที่สุด แต่การจะตั้งต้น
ทำให้เจ้าของแบรนด์เป็น “Sales presenter”
นั้นไม่ง่ายเลย...
.
.
ในช่วงเริ่มต้นอาจจะดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ด้วยซ้ำ
ใครจะมาตามฉันวะ? เพราะความเงียบ ไม่มีไลค์
โนคอมเม้นต์ ทำให้เราคิดอยากจะใช้คนอื่นเข้ามาช่วยแทน
ใช่ครับ การที่มีบุคคลที่ 3 ช่วยนั้น
ส่งผลต่อทั้งการมองเห็น และภาพลักษณ์
แต่เอาเข้าจริง ๆ เวลาไปถามราคา
หรือดูใบเสนอราคา
เราอาจจะช๊อคและลังเลว่า จะเสี่ยงดีหรือไม่?
.
.
จริง ๆ มีเคสที่น่าสนใจครับ
การทำ 2 แฟนเพจพร้อม ๆ กัน
แฟนเพจ A เป็น Influencer ที่สามารถชี้นำตลาดได้
ส่วนแฟนเพจ B เป็นร้านค้าที่เน้นขายสินค้าอย่างเดียว
การสร้าง Influencer เป็นของตัวเอง
(ไม่ว่าจะใช้บุคคลหรือตัวละครสมมติก็ตาม)
มีความคุ้มค่าในระยะยาวแบบโคตรมหาศาล มหาศาลยังไงนะหรอ ?
.
.
ก็ยกตัวอย่างเช่น
ไม่มีเรียกค่าตัวเพิ่ม
ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ไม่เกี่ยงเวลา
ยึดถือการขายสินค้าของเราเป็นอันดับ 1
.
.
อภิมหาข้อได้เปรียบเหล่านี้
ทำให้การปั้นตัวเองเป็น Influencer
เป็นเหมือนการสร้างตึก
ส่วนการใช้ Influencer คนอื่น เป็นการจุดพลุ
เมื่อพลุดับทุกอย่างจะมืด
แต่เมื่อตึกสร้างเสร็จแล้ว
แบรนด์จะอยู่ยาวนานเท่ากับ "คุณภาพวัสดุ"
ที่เราใช้สร้างแบรนด์เลยล่ะครับ
3.FLEXIBILITY (ความยืดหยุ่น)
====================
แคมเปญจ์การตลาดไม่ได้ปังครั้งแรกเสมอไป
สินค้าส่วนใหญ่ดังเพราะพยายาม
ที่จะทำการตลาดอย่างต่อเนื่องจนไปเจอ “จุดเปลี่ยน”
บางครั้งก็เรียก Trigger
หรือบางครั้งก็เป็นแค่ Keyword ที่ทรงพลัง
แค่ครั้งเดียวก็ทำให้ “แบรนด์นั้นพ้นเหนือน้ำ”ได้ทันที
.
.
โดยเฉพาะกับการออกสินค้าใหม่ครับ
หลักการที่สำคัญในการทำตลาดสินค้าใหม่ก็คือ “ห้ามแป้ก”
ถ้าสินค้าใหม่แป้ก ปัญหาจะตามมามหาศาลครับ
ทั้งความเชื่อมั่นในตัวสินค้าของผู้บริโภค
หรือเจ้าของสินค้าเองก็ตาม... (ตัวนี้ไม่เวิร์คหรอเนี่ย....)
แต่แคมเปญจ์การตลาดไม่ได้ “เข้าวิน” ทุกอัน
ผมว่าใครฮิต 7 ใน 10 นี่ก็ค่อนข้างเก่งมากแล้วครับ
(ฮิตยอดขายนะจ้ะ ไม่ใช่ยอดวิว)
.
.
เพราะบางทีเพียงจุดเดียวที่เราคาดไม่ถึง
ที่ทำให้แคมเปญจ์ล่มได้ครับ
ผมเคยเจอมาแล้วครับเป็นประสบการณ์ตรงเลย
แค่เปลี่ยนรูปที่เราคิดว่ามันไม่ได้แตกต่าง
จากรูปเซ็ทเดิมก็หายนะได้
เพราะเมื่อออกไปหาสายตาลูกค้า
ลูกค้าตีความไปอีกแบบครับ
ดังนั้นผมจะบอกว่า ...
ไม่มีนักการตลาดคนไหนมีตาทิพย์
“เห็นความสำเร็จทุกสรรพสิ่ง”
ปล่อย 10 รอบได้ยอดขายปัง ๆ 10 รอบ
มันต้องอาศัยการสร้างสมมติฐานในแคมเปญจ์
และทดลองจนกว่าจะเจอแนวทางที่เด็ดที่สุดครับ
เพราะเฟสบุคคือสุดยอดห้อง LAB ที่สามารถทำให้เราเลือกตัดหรือดันสินค้าได้อย่างแม่นยำครับ
.
.
4.CONTINUOUSLY (ความต่อเนื่อง)
========================
บางทีผมคิดว่าการนับจำนวนแบรนด์ครีม (ที่มีจริง)
ในประเทศไทย
อาจจะยากกว่าการนับจำนวนใบ้ไม้ในสวนลุมซะอีก
Challenge ที่โหดดิบของการทำการตลาดคือ
ตัวเลือกที่มหาศาล (Choices explosion)
ทำให้ลูกค้ามหางง ตัดสินใจไม่ได้
เลยเลือกที่จะเก็บเงินไว้กระเป๋าอย่างปลอดภัยก่อนแทน
.
.
ดังนั้นเป็นข้อบังคับสำหรับคนทำแบรนด์ ณ วันนี้
คืออย่ามา ๆ หาย ๆ
อย่าทำการตลาดแบบโกยละหนี
(กลยุทธ์อัดและโกย มันเหมาะกับ 2-3 ปีที่แล้วมากกว่าครับ)
การทำแบรนด์ต้อง “ตอกย้ำ” อย่างสม่ำเสมอ
ยิ่งแบรนด์เล็กความทรงจำของลูกค้า
ย่อมไม่มีอยู่เลยตั้งแต่แรก
ทุกครั้งที่เราเสนอแบรนด์ในทางที่ดี
แบรนด์จะจมลงไปลึกในความทรงจำของลูกค้า
.
.
ดังนั้นการใช้ตัวเองพยายามนำเสนอสินค้าอย่างต่อเนื่อง
อย่างมีทิศทางจะทำให้แบรนด์นั้นติดเรียบเนียน
ติดในระยะยาวมากกว่าครับ
เพราะเราคงไม่ทิ้งแบรนด์ จนกว่าเราจะเจ๊งครับ
(ข้อดีอีกอย่างก็คือ การเอาหน้าเจ้าของแบรนด์ไปผูกกับสินค้า
นั้นทำให้เกิดการกีดกันการ copy ภาพลักษณ์ได้ดีครับ)
.
.
สรุปแล้วการใช้ตัวเองนำเสนอแบรนด์
เป็นเรื่องที่ผมคิดว่ามีประสิทธิภาพสูงในระยะกลางถึงยาว
ซึ่งแน่นอนมันมีข้อเสียครับ เราจะเป็นบุคคลที่ถูกจับจ้องทันที
แต่นั่นถ้าทำให้มันขายง่ายขึ้นก็ควรทำนะครับ Communication ของแบรนด์จะแข็งโป้กเลยแหละ //หมอกิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น