วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

สมุนไพรลดเบาหวาน

วันนี้มาแนะนำ สมุนไพรลดเบาหวาน ที่สามารถช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติมากที่สุด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากระบบการเผาผลาญที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ สาเหตุของความผิดปกติอาจเกิดจากความบกพร่องของการหลั่งสารอินซูลิน (insulin) จากตับอ่อน หรืออินซูลินทำงานผิดปกติ

สมุนไพรลดเบาหวาน

เนื่องจากโรคเบาหวานนี้เป็นโรคเรื้อรังต้องดูแลรักษากันไปตลอดชีวิตด้วยการทานยา ผู้ป่วยบางรายมีความกังวลกับการสะสมของสารต่างๆในยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรจึงเป็นแนวทางรักษาที่ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ เราจึงอยากแนะนำสมุนไพรลดเบาหวานที่หาง่าย มาเป็นตัวช่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวานกันคะ

1. บอระเพ็ด มีสาร N-trans-feruloyth-ramine, N-cis-feruloyltyramine, tinotuberide, ไฟโตสเตอรอล phytosterol, picroretin สรรพคุณทางยาช่วยระงับความร้อน แก้ไข้ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหารและช่วยเจริญอาหาร

2. กระเทียม ช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคส พบสาร เอส-อัลลิล-แอล-ซีสเทอีน (S-allylmercaptocystein) ในกระเทียมช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนมากขึ้น ทำให้ไปเพิ่มประสิทธภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ดียิ่งขึ้น ส่วนสารดอัลลิซิน (Allicin) ช่วยยับยั้งกระบวนการสร้างน้ำตาลกลูโคสจากตับ ทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดไม่เพิ่มขึ้น กระเทียมยังมีสารไฟโตนิวเทรียนท์ในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์ เมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะขัดขวางการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสกับเม็ดเลือดแดงฮีโมโกลบิน และ ขัดขวางการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสกับโปรตีนที่อยู่บริเวณผนังหลอดเลือดแดงในไตและหัวใจด้วย จึงสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันหลอดเลือด โรคไตและโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานได้, มีกรดอัลฟ่าไลโปอิก (Alpha-lipoic-Acid/ALA ) ช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปเป็นพลังงาน และช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้น้ำมันกระเทียมสกัดยังมีสารกลูโคไคนิน (Glucokinin) ช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนให้สร้างอินซูลินเพิ่มขึ้นและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบหวาน

3. อินทนิลน้ำ (Queen’s flower) เป็นสมุนไพรยอดนิยมในตำรับยาแพทย์แผนไทยโบราณ มักนำใบแก่ใกล้ผลัดใบหรือเมล็ดแห้งมาทำเป็นยา จากการศึกษาพบสารสำคัญคือ กรดโคโรโซลิก (corosolic acid) จะออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ทำหน้าที่เผาผลาญน้ำตาล และช่วยนำน้ำตาลกูลโคสออกจากกระแสเลือดและนำเข้าสู่เซลล์เพื่อให้เป็นพลังงานกับร่างกาย ทั้งยังช่วยชะลอการย่อยแป้งในระบบทางเดินอาหาร แต่ควรระวังหากใช้ในผู้ที่มีระดับน้ำตาลต่ำอยู่แล้ว

4. หว้า เป็นผลไม้ป่า มีรสเปรี้ยวหวาน จากการทดลองทางคลินิก พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลใน ช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งสารอินซูลิน และลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

5. อบเชยจีน (Chinese cinnamon) สรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด พบสาร methylhydroxy chalone polymer (MHCP)ในอบเชบทำให้เซลล์ไขมันตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้มากขึ้น ทำให้อินซูลินทำงานได้มีประสิทธิภาพ และยังมีฤทธิ์เหมือนอินซูลิน นอกจากนี้ยังช่วยลดไขมันด้วย

6. หญ้าหวาน เป็นพืชที่ให้ความหวานโดยธรรมชาติ มีสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 150-300 เท่า และทนความร้อนได้สูง 200 องศาเซลเซียล จึงไม่สลายตัวหรือเปลี่ยนสภาพขณะปรุงอาหาร หญ้าหวานไม่มีแคลอรี่และไม่เพิ่มปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด เพราะเมื่อรับประทานหญ้าหวานเข้าไปแล้วร่างกายจะขับออกมาทันที ไม่สะสมในร่างกาย จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังอยากจะทานรสหวานอยู่ ใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลได้

ที่กล่าวมาเป็นสมุนไพรลดเบาหวาน ที่หาได้ง่ายในประเทศไทยบ้านเราค่ะ แต่ขึ้นชื่อว่ายา ไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณอย่างสมุนไพร ก็ล้วนแต่มีผลข้างเคียงทั้งนั้น หากนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ผู้ป่วยเบาหวานควรศึกษาสรรพคุณของสมุนไพร และปริมาณการใช้ ให้ละเอียดเสียก่อน คุณประโยชน์ของสมุนไพรจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้อย่างแท้จริงคะ

—– อัพเดต —–

แนะนำข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บ https://www.gotoknow.org/posts/401397 ซึ่งได้รวบรวมสมุนไพรบำบัดเบาหวาน จำนวน ๑๕๐ ชนิด จากหนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน (โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก) ขออนุญาตโพสรวบรวมไว้ที่นี่

๑. กระเจี๊ยบ วิธีใช้ นำผลอ่อน มาปรุงอาหารเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือทำเป็นผลแห้งนำมาบดเป็นผง ชงรับประทานกับน้ำ ใช้รักษาโรคเบาหวานและกระเพาะอาหาร

๒. กระชับ วิธีใช้ นำรากสด ๑๒๐ กรัม ทุบให้แตกต้มกับน้ำ ๓ แก้ว ต้มให้เดือดนาน ๒๐ นาทีแบ่งน้ำมาดื่มตอนเช้า เย็น ก่อนอาหาร

๓. กระถิน วิธีใช้ นำเมล็ดกระถินมาบดเป็นผง หรือคั่วกินเป็นอาหาร ปรกติยอดและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกเป็นอาหาร

๔. กระถินเทศ วิธีใช้ นำเมล็ดกระถินเทศ มาบดเป็นผงหรือคั่วกินเป็นอาหาร

๕. กระเทียม วิธีใช้ ให้กินกระเทียมสด ๓-๕ กลีบ/วัน เป็นประจำ โดยสับให้ละเอียดกินวันละประมาณ ๒ช้อนชา (๑๐ กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารในครัวเรือน มีรสค่อนข้างเผ็ดร้อน ระคายเคืองกระเพาะ หากกินกระเทียม
สด ต้องกินพร้อมอาหารที่มีโปรตีนเช่น เนื้อ ไข่

๖. กระเพรา วิธีใช้ ทำเป็นชาชงดื่ม โดยนำใบกระเพรามาตากแห้ง ชงดื่มแทนน้ำ ปรุงเป็นอาหาร

๗. กะหล่ำปลี วิธีใช้ นำใบกะหล่ำปลี มาปรุงเป็นอาหารไม่จำกัดจำนวน

๘. กำแพงเจ็ดชั้น วิธีใช้ นำต้นกำแพงเจ็ดชั้นมาต้มดื่มทั้งวัน

๙. กรดน้ำ วิธีใช้ นำต้นและใบสด ๑ กำมือมาต้ม ๓แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาที แบ่งมาดื่มเช้าเย็นก่อนอาหาร

๑๐. กรุงเขมา วิธีใช้ นำต้นและใบ ๑๐กำมือ ต้มนาน ๓๐ นาที แบ่งมาดื่มเช้าเย็นก่อนอาหาร

๑๑. กานพลู วิธีใช้ นำดอก ปรุงเป็นอาหาร เป็นเครื่องเทศ ปรุงรสอาหาร

๑๒. กาแฟ วิธีใช้ นำเมล็ดที่คั่วแล้ว มาชงกับน้ำร้อนเป็นเครื่องดื่ม ยามว่าง

๑๓. โกฏกระดูก วิธีใช้ นำรากสด ๙๐-๑๒๐ กรัมมาทุบให้แหลก ต้มน้ำต้มนาน ๓๐ นาที ดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๑๔. กล้วย วิธีใช้ ดอกหรือปลี นำมาปรุงอาหาร

๑๕. ข้าว วิธีใช้ ใช้ส่วนราก นำมารับประทาน อาจอยู่ในรูปเครื่องดื่ม

๑๖. ข้าวสาลี วิธีใช้ นำรำข้าวสาลีมาชงน้ำร้อน ดื่มเช้า- เย็นก่อนอาหาร หรือนำเมล็ดข้าวสาลีปรุงเป็นอาหารในรูปของธัญพืช

๑๗. ข้าวโพด วิธีใช้ ยอดข้าวโพด ๑๐๐กรัมนำมาต้มดื่มเช้า-เย็น หรือฝอยข้าวโพด ๑ กรัม นำมาต้มดื่มเช้า-เย็น

๑๘. ขนุน วิธีใช้ นำใบขนุนแก่ ๕-๑๐ ใบ มาต้มในน้ำ ๓แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาที นำมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

๑๙. ขิง วิธีใช้เห้งาขิง แก่สด มาคั้นน้ำให้ได้ครึ่งถ้วย ต้มกินน้ำ ๒ ถ้วย ดื่มวันละ ๓ ครั้งอาจเติมเกลือ มะนาวเพื่อเพิ่มรสชาติ หรือใช้ผงขิง ๑-๒ ช้อนชาชงน้ำร้อนดื่มบ่อยๆ

๒๐. คูณ วิธีใช้ นำรากสด ๙๐-๑๒๐ กรัม มาทุบให้แหลก นำมาต้มกับน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐นาที แบ่งดื่ม เช้า เย็น ก่อนอาหาร

๒๑. คึ่นไฉ่ วิธีใช้ ใช้ต้น ก้าน ใบ นำมา ๑กำมือ ต้มน้ำดื่ม หรือคั้นน้ำ ทำเป็นน้ำสมุนไพรดื่ม เช้า –เย็น ก่อนอาหารหรือนำมาผัดทำเป็นอาหาร

๒๒. คำแสด วิธีใช้ เมล็ด ๑๑๐-๑๒๐ กรัม หรือ รากสด ๙๐-๑๒๐ กรัม ทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

๒๓. แครอท วิธีใช้ รากหรือหัวนำมาทำสลัด แกงจืด ผัดผัก คั้นเป็นเครื่องดื่มและแต่งสีอาหารให้มีสีเหลืองหรือส้ม

๒๔. แคแดง วิธีใช้ นำต้นและเปลือกต้น ๑ กำมือต้มน้ำดื่ม แทนน้ำหรือนำดอก ยอดอ่อน มาลวกจิ้มน้ำพริก หรือ ทำเป็นแกงส้ม

๒๕. คาง วิธีใช้ เปลือกต้น ๓-๔ ชิ้น นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๒๖. จำปา รากสด ๙๐- ๑๒๐ กรัม ทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาที แบ่งดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๒๗. จิกนา วิธีใช้ นำเปือกต้นและราสด ๙๐-๑๒๐ กรัม มาต้มน้ำดื่ม เช้าเย็น ก่อนอาหาร

๒๘. ชาแป้น วิธีใช้ นำรากสด ๙๐-๑๒๐ กรัม มาทุบให้แหลก นำมาต้มน้ำ ๓ แก้ว นาน ๓๐ นาที แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร วิธีใช้ ใบแห้ง ๑ หยิบมือ ชงน้ำร้อน ๑-๒แก้วทิ้งไว้ ๕-๑๐ นาทีนำมาจิบบ่อยๆดื่มต่างน้ำ

๒๙. ชา วิธีใช้ นำใบสดหรือแห้ง ๑ กำมือนำมาต้มน้ำดื่มเคี่ยวนาน ๓๐นาที แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๓๐. ชุมเห็ดเทศ วิธีใช้ นำใบสด หรือแห้ง ๑ กำมือนำมาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน๓๐ นาที แบ่งมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

๓๑. ชะพลู วิธีใช้ใช้ชะพลูสดทั้ง ๕ จำนวน ๗ ต้นล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่มเหมือนดื่มน้ำชา

๓๒. ชงโค วิธีใช้ นำใบแห้ง ๑กำมือ ต้มน้ำดื่มตลอดวัน

๓๓. ชิงช้าชาลี วิธีใช้ นำต้นใบ เถา ๑ กำมือ ต้มน้ำ ๓แก้ว เคี่ยวนาน ๑๐-๑๕ นาที นำมาแบ่งดื่ม เช้า เย็น หรือใช้ราก ๙๐-๑๒๐ กรัมทุบให้แหลก ต้มน้ำดื่ม เช้า –เย็น

๓๔. เดือย วิธีใช้ นำลูกเดือย มาต้มกินเป็นอาหารว่าง

๓๕. ดีปลี วิธีใช้ ผลแห้งดับกลิ่นคาวในแกงเผ็ด แกงคั่ว ใช้ถนอมอาหารไม่ให้บูด หรือนำรากและลำต้นสด ๑ กำมือ มาต้มนาน ๒๐ นาที ดื่ม เช้า-เย็น

๓๖. ตะโก วิธีใช้ นำส่วนของลำต้น ( แก่น) หรือเปลือก ๔-๖ ชิ้น มาต้มน้ำ ๑ ลิตร ดื่มต่างน้ำ

๓๗.ตำลึง วิธีใช้ ขนาดที่ใช้ ใบสดตำลึง ๒๕๐ กรัม ต่อน้ำหนักตัว ๕๐ กิโลกรัม เช้าเย็น วันละ ๒ ครั้ง

๓๘. เตยหอม วิธีใช้ นำรากเตยหอม ๑ กำมือ ต้มน้ำดื่ม เช้า – เย็น

๓๙. ถั่วเขียว วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วเขียวมาต้มน้ำใช้น้ำตาลเทียม เป็นของหวานหลังอาหาร หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร

๔๐. ถั่วแระต้น วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วแระต้น มารับประทานเป็นของกินเล่น

๔๑. ถั่วเหลือง วิธีใช้ นำเมล็ดถั่วเหลืองมาทำเป็นน้ำถั่วเหลือง ดื่มเป็นเครื่องดื่มแทนอาหารว่าง หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ นำมาปรุงอาหาร

๔๒. ท้อ วิธีใช้ ใช้เมล็ดแห้งนำมาตำให้ละเอียดตวง๑-๒ช้อนชา หรือเมล็ดสด ๔ กรัมชงน้ำดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหารไว้ชงกินกับน้ำร้อน

๔๓. ทับทิม วิธีใช้ นำเมล็ด มารับประทานหรือนำมาตากแห้ง บดเป็นผงตวง ๑-๒ ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็น

๔๔. โทงเทง วิธีใช้ ใช้ราก ๑กำมือ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ๒ ครั้ง เช้า-เย็น

๔๕. ทองพันชั่ง วิธีใช้ นำส่วนของต้นกับใบมา ๑กำมือ ต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๔๖. ทองหลางใบมน วิธีใช้ นำใบทองหลางมาทานเป็นอาหาร

๔๗. เทียนเกล็ดหอย วิธีใช้ นำเมล็ดมาแช่น้ำให้พองตัวแล้วดื่ม ขนาดที่ใช้ ๗.๕ กรัม

๔๘. เทียนเยาวพานี วิธีใช้ เมล็ดแห้ง ๗.๕ กรัมนำมาแช่น้ำนาน ๕-๑๐ นาทีแล้วดื่มเช้า-เย็น

๔๙. น้ำเต้า วิธีใช้ นำใบแห้ง ๑ กำมือมาชงกับนำร้อนเป็นชาดื่มแทนน้ำตลอดวัน

๕๐. บุก วิธีใช้แยกแป้งเป็นเนื้อทรายแล้วชงดื่ม ใช้แป้ง ๑ ช้อน ต่อน้ำ ๑ แก้วชงดื่มวันละ ๒-๓ มื้อก่อนอาหาร ครึ่งขาวโมง

๕๑. บุกอีรอกเขา วิธีใช้ นำหัวบุก ที่อยู่ใต้ดินมาปรุงเป็นอาหาร

๕๒. บัว วิธีใช้ ใช้ดอกบัวสดหั่นนำมาตากแห้ง คั่วให้หอมเก็บไว้ชงดื่ม เช่นเดียวกับน้ำชาโดยหยิบเอาดอกบัวตรั้งละหยิบมือเล็กๆชงกับน้ำร้อน ๑ แก้ว จิบกินไปเรื่อยๆ เหมือนน้ำชาชงกิน ๓ ครั้งก็ให้เปลี่ยนยาใหม่

๕๓. บัวจงกลนี วิธีใช้ ใช้ดอกบัวสดมาหั่นนำมาตากแห้งคั่วให้หอมเก็บไว้ชงดื่มกับน้ำร้อน หรือใช้ดีบัวแห้งครั้งละหยิบมือเล็กๆ ใส่น้ำร้อน ๑ แก้ว ชงดื่มไปเรื่อยๆแทนน้ำ

๕๔. บวบเหลี่ยม วิธีใช้ นำผลบวบ มาปรุงเป็นอาหาร

๕๕. บอระเพ็ด วิธีใช้ ใช้เถาสด ๓๐-๔๐ กรัมต้มน้ำดื่ม ข้อควรระวังการใช้ไม่ควรใช้ขนาดสูงติดต่อกันนานๆ เพราะจะทำให้ ตับ ไต ทำงานผิดปรกติ

๕๖. ประดู่ วิธีใช้ ใบประดู่ ๑ กำมือ นำมาต้มน้ำ ๓ แก้ว แบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๕๗. ปรู๋ วิธีใช้ใบและต้น ๑ กำมือ ต้มน้ำ๓แก้วเคี่ยวนาน ๓๐ นาที แบ่งน้ำดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๕๘. ปอกระเจา วิธีใช้นำใบปอกระเจา มาทำอาหาร หรือ ตากใบให้แห้งนำมา ๑ กำมือ ชงน้ำร้อนแช่นาน ๕-๑๐ นาที นำมาดื่มแทนน้ำทั้งวัน

๕๙. ผักเชียงดา วิธีใช้ นำผักเชียงดา ต้น ใบ มาปรุงเป็นอาหาร

๖๐. ผักเบี้ยใหญ่ วิธีใช้ นำใบมาตากแห้ง ๑กำมือ นำมาชงน้ำร้อนดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

๖๑. ผักกาดแดง วิธีใช้ นำราก ๑ กำมือมาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยนาน ๒๐ นาทีนำมาดื่มเช้า-เย็นก่อนอาหาร

๖๒. ผักกาดน้ำ วิธีใช้ นำทั้งต้นทั้งใบ ราก ๑ กำมือ มาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

๖๓. ผักกาดหอม วิธีใช้ นำผักกาดหอมทังต้นและใบมาเป็นอาหาร

๖๔. ผักโขมหิน วิธีใช้นำต้นใบและราก นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

๖๕. ผักชี วิธีใช้ เมล็ดผักชี มาปรุงเป็นอาหารบ่อยๆ

๖๖. ผักคะน้า วิธีใช้ นำใบ ต้นมาปรุงอาหารไม่จำกัดจำนวน

๖๗. ผักเป็ดแดง วิธีใช้ นำใบ ๑กำมือ มาต้มน้ำ ๓แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาทีแบ่งดื่ม ๑/๒แก้ว เช้าเย็น ก่อนอาหาร

๖๘. ไผ่เหลือง วิธีใช้ นำใบแก่ ๗-๑๐ ใบนำมาต้มน้ำ ๑ ขวดเคี่ยวนาน ๓๐ นาที นำน้ำที่ได้มาดื่มแทนน้ำทั้งวัน

๖๙. ฝรั่ง วิธีใช้ ตามประสบการณ์ เคยทราบว่า ถ้ากินฝรั่งวันละ ๑ ลูก ใช้ใบอย่าให้อ่อนและแก่เกินไปล้างให้สะอาด ใช้น้ำ ๓ แก้วต้มพอเดือด เด็ดใบฝรั่งจากกิ่งขยำพอช้ำใส่ในหม้อแล้วเอากิ่งที่เด็ดใบฝรั่ง ๖ ใบ ทุบใส่ลงไปเคี่ยวให้เหลือแก้วเดียว จิบที่ละอึก สองอึกไปเรื่อยๆทำวันละครั้ง ถ้าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลไม่หาย ก็ทำเพิ่มเป็นต้มทีละ ๒ หม้อ วิธีเดียวกัน

๗๐. พริกชี้ฟ้า วิธีใช้ นำมาปรุงเป็นอาหาร

๗๑. พริกขี้หนู วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร

๗๒. พริกหยวก วิธีใช้ นำผลมาปรุงเป็นอาหาร

๗๓. พริกไทย วิธีใช้ ใช้เมล็ดพริกไทยดำ มาปรุงเป็นอาหาร

๗๔. โพธิ์ วิธีใช้ นำใบแก่ ๑ กำมือ มาต้มน้ำ ๓แก้ว แบ่งดื่ม เช้าเย็น ก่อนอาหาร

๗๕. พญายา วิธีใช้ นำใบแก่ ๑ กำมือมาต้มน้ำ ๓แก้ว แบ่งดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหาร

๗๖. พญาสัตบรรณ วิธีใช้ นำเปลือก ต้น ๔-๖ ชิ้นมาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาที นำมาดื่มแทนน้ำ

๗๗. ฟ้าทะลายโจร วิธีใช้ ใช้ทั้งต้นและใบสด ๑ กำมือมาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาทีแบ่งดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๗๘. ฟักข้าว วิธีใช้ นำผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อน มาปรุงเป็นอาหาร

๗๙. มะกอกฝรั่ง วิธีใช้ นำผลมะกอก มาปรุงเป็นอาหารหรือคั้นน้ำจากผล ดื่ม

๘๐. มะตูม วิธีใช้ นำใบมะตูมแก่ ๑ กำมือ มาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๑๕ – ๒๐ นาทีนำมาแบ่งดื่มตลอดวัน

๘๑. มะขามป้อม วิธีใช้ นำผลสดมาตำแล้วคั้นน้ำดื่มผสมเกลือดื่มเช้า-เย็น

๘๒. มะระ วิธีใช้ ทำอาหารหรือคั้นดื่ม

๘๓. มะระขี้นก วิธีใช้ ใช้ผลต้มรับประทานครั้งละ ๖ -๑๕ กรัม หรือผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงหรือชงเป็นน้ำชาดื่ม

๘๔. มะแว้งเครือ วิธีใช้ ตามประสบการณ์ เอามะแว้งทั้งห้านำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากให้แห้ง แล้วคั่วให้เหลือง เกือบไหม้เก็บไว้ในโหล ใช้ประมาณ ๑ – ๒ หยิบมือ ชงกับชาร้อน ๑ แก้ว กินต่างน้ำ ดื่มไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาย ถ้าเป็นยาผง ให้กินครั้งละ ๑ ช้อนแกง กับน้ำ ๑ แก้ว วันละ ๓ เวลา กิน ๑๕ วัน จะรู้สึกดีขึ้น หรือเอามะแว้งเครือ ปรุงเป็นอาหาร กินติดต่อกัน ๓๐ วัน

๘๕. มะแว้งต้น วิธีใช้ ผลใช้ปรุงเป็นอาหาร

๘๖. มะเดื่อชุมพร วิธีใช้ ใช้เปลือกต้น นำมาต้มน้ำดื่ม เช้า-เย็น

๘๗. มะตาด วิธีใช้ นำใบแห้งหรือสด ๑ กำมือ มาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐นาที แบ่งดื่ม เช้า-เย็นก่อนอาหารหรือนำผลสดมาคั้นดื่ม เช้า-เย็น

๘๘. มะม่วงหิมพานต์ วิธีใช้ เปลือกต้น ส่วนในนำมาต้มดื่มเช้า-เย็น

๘๙. แมงลัก วิธีใช้ รายงานการทดลอง เมล็ดนำมาแช่น้ำ ๑๐ กรัม กินหลังอาหาร วันละ ๓ ครั้ง ลดน้ำตาลในเลือดได้อย่างชัดเจน

๙๐. แมงลักคา วิธีใช้ นำใบและต้นสด ๑ กำมือ มาต้มน้ำ ๓ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๙๑. ไมยราบ วิธีใช้ ในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน

๙๒. ยี่หร่า วิธีใช้ นำผลแห้งยี่หร่า นำมาปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร หรือทำเป็นเครื่องดื่ม

๙๓. ยูคะลิปต์ วิธีใช้ นำส่วนที่อยู่เหนือดินเช่นใบ เปลือกต้น นำมาต้มดืมเช้า-เย็น

๙๔. ระย่อม วิธีใช้ รากแห้ง ๑๐๐ กรัม ชงน้ำร้อนดื่มเช้า- เย็น

๙๕. ลูกชัด วิธีใช้ ผงจากเมล็ด และสารสกัดจากเม็ด

๙๖. เลียบ วิธีใช้ สารสกัดจากต้น

๙๗. ลูกใต้ใบ วิธีใช้ นำใบและต้น ๑-๒ กำมือ มาต้มกับน้ำ ๓ แก้วแบ่งดื่มเช้าเย็น

๙๘. ลิ้นจี่ วิธีใช้ ใบ ๑กำมือ นำมาต้มดื่มเช้า-เย็น

๙๙. ว่านพร้าว วิธีใช้ นำรากสด๙๐-๑๒๐ กรัม มาต้มน้ำ๑-๒ แก้ว เคี่ยวนาน ๓๐ นาทีแบ่งดื่มเช้า-เย็น

๑๐๐. ว่านพระฉิม วิธีใช้ นำเหง้าขนาด ๑๐-๒๐ กรัม บดละเอียดนำมาชงน้ำร้อน ๑ แก้วดื่ม เช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๑๐๑. ว่านน้ำ วิธีใช้ เหง้าแห้ง ๑๐-๒๐ กรัม หั่นเป็นชิ้น ชงด้วยน้ำร้อน ๑ แก้ว รับประทานครั้งละ ๑ ถ้วยแก้วก่อนอาหารเช้า-เย็น

๑๐๒. ว่านชักมดลูก วิธีใช้ เหง้าแห้ง ๖.๙ กรัม ชงด้วยน้ำร้อน ๒ แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ๑ แก้วเช้า-เย็น ก่อนอาหาร

๑๐๓. ว่านหางจระเข้ วิธีใช้ ใช้เนื้อวุ้นสดขนาด ๒x๒ นิ้ว กินวันละ๓ ครั้ง ระหว่างมื้ออาหาร

๑๐๔. สะตอ วิธีใช้ นำมาทำอาหารหรือใช้สารสกัดจากเมล็ดสะตอ

๑๐๕. สะเดา วิธีใช้ นำใบสะเดาไปต้มดื่ม ปรุงเป็นอาหาร แต่ต้องกินทุ

ไม่มีความคิดเห็น: