ส่อง 11 อุปสรรค Jack Ma (ถ้าเป็นคุณอาจล้มตั้งแต่ยังไม่เริ่ม)
อย่างที่ไ่ด้เกริ่นไปแล้วตอนแรกว่าแจ๊ค หม่าเป็นเพียงผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง เรื่องราวต่อจากนี้ของแจ๊ค หม่าจะทำให้คุณรู้ว่า แค่ฉลาดก็ไม่สามารถกลายเป็นคนที่รวยที่สุดได้ ถ้าไม่พยายาม
1. เกิดในฐานะยากจน
แจ๊ค หม่าเกิดมาขณะที่คอมมิวนิสต์ในประเทศจีนถูกแยกตัวออกจากตะวันตกมากขึ้นและครอบครัวของเขาก็ไม่มีเงินมากนักตอนที่พวกเขายังเด็ก ทำให้แจ๊ค หม่าวัย 12 ขวบต้องปั่นจักรยานเพื่อไปฝึกคุยกับชาวต่างชาติที่โรงแรม
2. สอบตกตลอดชีวิตการศึกษา ทั้งประถม และมัธยม
ใครจะคิดว่าแจ๊ค หม่าเคยสอบตกจากโรงเรียนประถมศึกษา 2 ครั้ง โรงเรียนมัธยมศึกษาอีก 3 ครั้ง มิหนำซ้ำแจ๊ค หม่ายังบอกอีกว่าตัวเองไม่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ ไม่เคยเรียนการบริหาร และที่สำคัญเขาไม่เข้าใจวิธีการอ่านรายงานการบัญชีเลย
3. สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ผ่านถึง 2 ครั้ง
แจ๊ค หม่าไม่ผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยถึง 2 ครั้ง ก่อนจะไปสอบติดที่สถาบันสอนครูในครั้งที่ 3 แต่ความพยายามของเขาก็ยังไม่เพียงพอ เพราะเขายังทำคะแนนในการสอบได้เพียง 1 คะแนน จากคะแนนเต็ม 120 อีกต่างหาก แต่ใครจะคิดว่าสุดท้ายจะกลายเป็นบัณฑิตเพียงคนเดียวในรุ่นที่กลายเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นี่ถ้าไม่อึดจริง คงนั่งคอตกอยู่บ้านไปแล้วแน่ ๆ
4. ถูกปฏิเสธจากมหาวิทยาลัย Harvard ถึง 10 ครั้ง
แจ๊ค หม่าได้ส่งใบสมัครไปยังมหาวิทยาลัย Harvard แต่กลับถูกปฏิเสธ และเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ถึง 10 ครั้ง ! สุดท้ายแจ๊ค หม่าก็ได้เข้าไปศึกษาต่อที่สถาบันครูหางโจว
5. โดนปฏิเสธจาก 30 บริษัทหลังเรียนจบ
หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย แจ๊ค หม่าได้ยื่นใบสมัครไปตามที่ต่าง ๆ ถึง 30 แห่ง ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นเหมือนเช่นทุกที คือเขาถูกปฏิเสธกลับมาทั้งหมด
6. เป็นผู้สมัครงานเพียงคนเดียวที่ถูกปฏิเสธจาก KFC
มีคนสมัครที่ KFC จำนวน 24 คน โชคดีที่มีคนได้รับการตอบรับเข้าทำงานสูงถึง 96% หรือเฉลี่ย 23 คน ก็แทบจะทั้งหมดของผู้สมัครนั่นแหละ แต่โชคดีนั้นไม่ได้ตกถึงแจ๊ค หม่าอีกเช่นเคย เมื่อเขาคือหนึ่งเดียวที่ KFC ไม่รับเข้าทำงาน
7. “คุณไม่ดีพอ” คำปฏิเสธจากการสมัครตำรวจ
ตามมาติด ๆ กับการเข้าสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ๊ค หม่าผู้ไม่ยอมแพ้ยังคงลงสมัครไปตามที่ต่าง ๆ ด้วยความที่คู่แข่งในการลงสมัครน้อยนิดโอกาสที่แจ๊ค หม่าจะได้รับโอกาสนั้นก็ย่อมมีสูง เพราะมีคนสมัครตำรวจเพียงแค่ 5 คนเท่านั้น แน่นอนว่ามี 4 คนที่ได้รับเลือกในงานนี้
แต่ในลิสต์นั้นไม่มีชื่อ ‘แจ๊ค หม่า’ ด้วยเหตุผลที่ว่า “คุณไม่ดีพอ”
8. ได้งาน ก็ยังถูกบริษัทหลอกใช้
แจ๊ค หม่าได้รับงานชิ้นหนึ่งที่ต้องเดินทางไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะตัวแทนเจรจา แต่พอสักระยะเขากลับพบว่าบริษัทดังกล่าวมีเบื้องหลังกับแก๊งมาเฟีย นอกจากนั้นยังโดนหลอกจากบริษัทว่าจะพากลับหางโจว สุดท้ายก็ถูกทิ้งไว้อยู่ที่สนามบินแบบตัวเปล่า
โชคดียังพอมีเงินติดตัว 600 ดอลลาร์ เขาจึงซื้อตั๋วเครื่องบินไปหาเพื่อนที่ซีแอตเติลแทน
9. ถูกปฏิเสธจาก Silicon Valley ในการให้เงินทุน
หลังจากก่อตั้งอาลีบาบาได้ไม่นาน แจ๊ค หม่าก็ได้เดินทางไปที่ Silicon Valley เพื่อขอเงินทุนมาใช้ในธุรกิจของเขา แต่ทาง Silicon Valley ปฏิเสธที่จะให้เงินทุนกับเขา เพราะมองว่าธุรกิจนี้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อจากนี้ ซึ่งต่อมาแจ๊ค หม่าก็ได้แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนี้เป็นไปได้ และนั้นทำให้เขาได้รับเงินทุนจาก Soft Bank ถึง 20 ล้านเหรียญ
10. อาลีบาบาไม่มีกำไรเลยตลอด 3 ปีแรก
บริษัทไม่มีรายได้เลยแม้แต่บาทเดียว เพราะเป็นการเปิดให้บริการฟรี จนกระทั่งเกิดยุคฟองสบู่แตกในปี 2000 นักลงทุนเริ่มหดหาย และมองว่าอาลีบาบามีแต่จะเผาเงินทิ้งไปวัน ๆ บวกกับจังหวะนั้นมีคู่แข่งอย่าง eBay อยู่ในตลาดด้วยนั่นเอง แต่แจ๊ค หม่าก็ไม่ละความพยายาม และทำให้ Taobao ชนะ eBay ด้วยส่วนแบ่งตลาดเกินกว่า 60%
11. ‘การไม่เชื่อใจลูกน้อง’ คือความผิดพลาดที่แจ๊ค หม่ายังยอมรับ
แรกเริ่มเดิมทีอาลีบาบาก่อตั้งมาด้วยพาร์ทเนอร์ 18 คน ที่ได้ร่วมรบร่วมสร้าง แต่สิ่งที่แจ๊ค หม่าพูดกับพวกเขากลับเป็นคำพูดที่ทำร้ายจิตใจ ว่าพวกเขาไม่มีทางได้เลื่อนขั้นไปสู่ตำแหน่งผู้จัดการหรือผู้บริหารได้ ซึ่งแจ๊ค หม่าคิดว่าตำแหน่งเรานั้นจะสามารถเติมเต็มได้ด้วยการจ้างบุคคภายนอกเท่านั้น
หลายปีต่อมาพาร์ทเนอร์บางคนได้ลาออกไป และแน่นอนว่าคนที่แจ๊ค หม่าบอกไว้ว่าไม่มีทางจะมีตำแหน่งที่สูงไปกว่านี้ได้ บางคนได้กลายเป็นรองประธานาธิบดีหรือแม้แต่ Directors
แต่ก็อย่างว่า ถึงจะเฟลมาขนาดนี้แจ๊ค หม่าก็ไม่ได้หยุดพยายามเลย นี่เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับคนรุ่นใหม่สมัยนี้เลยนะ ว่าถึงแม้เราจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในครั้งแรก นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคที่จะมาขัดขาเราไม่ให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้
ดราม่ากับความเฟลกันไปแล้ว มาลองส่องความสำเร็จของผู้ชายคนนี้ดูบ้างดีกว่า คิดว่าหลายคนคงจะคุ้นเคยกันมาแล้ว เพราะพวกเราก็รู้จักจักแจ๊ค หม่าจากความสำเร็จของเขามาก่อนทั้งนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น