วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

10 ข้อผิดพลาดที่ต้องระวังในการวางแผนกลยุทธ์ อ.มนต์ชัย สุนทราวัฒน์

10 ข้อผิดพลาดที่ต้องระวังในการวางแผนกลยุทธ์ : อ.มนต์ชัย สุนทราวัฒน์

มีนาคม 14, 2017อ.มนต์ชัย สุนทราวัฒน์เรื่องทั่วไปอ.มนต์ชัย สุนทราวัฒน์

อ.มนต์ชัย สุนทราวัฒน์

วิธีการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (How to Advance the Strategic Position) ซึ่งก็คือ ศิลปะในการทำสงครามสู่ชัยชนะ แม้จะ ยังไม่รบ ก็สามารถรู้ได้ว่า จะชนะ หรือพ่ายแพ้ แม้จะ พ่ายแพ้ ก็จะสามารถ ปรับเปลี่ยนมา ชนะได้

….ผู้บริหารในปัจจุบัน จะต้องมีความสามารถ ในการนำหน่วยธุรกิจ ไปสู่ชัยชนะ โดยเน้นที่กระบวนการคิดในการสร้างแผนเชิงกลยุทธ์(Strategic Planning Process) และวิธีการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (How to Advance the Strategic Position) ซึ่งก็คือ ศิลปะในการทำสงครามสู่ชัยชนะ

แม้จะ ยังไม่รบ ก็สามารถรู้ได้ว่า จะชนะ หรือพ่ายแพ้

แม้จะ พ่ายแพ้ ก็จะสามารถ ปรับเปลี่ยนมา ชนะได้

แม้จะ มีคนน้อย ก็จะสามารถเอาชนะ คู่แข่งที่มี คนมากได้

แม้จะ เป็นบริษัทเล็ก ก็จะสามารถเอาชนะ บริษัทใหญ่ได้

การตลาด จึงควรจะเป็น แผนกลยุทธ์ เพราะ

งานของนักการตลาด คือ การค้นคว้า วิเคราะห์ หาโอกาสใหม่ๆ ในการแข่งขัน ทำให้ธุรกิจ อยู่รอดได้ในระยะสั้น และเติบโตได้ในระยะยาว โดยการเรียนรู้และทำความเข้าใจใน ความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการวิเคราะห์, การวางแผน และการควบคุมทางการตลาด “แบบบูรณาการ”

เพื่อชี้ ทิศทาง ที่ถูกต้อง และได้ชัยชนะ ให้ธุรกิจ (แบรนด์)

Types of CEOs (Philip Kotler: Marketing)

จาก https://www.youtube.com/watch?v=kb6LsD3hYaU

 

 Marketing Strategy (Philip Kotler)

จาก https://www.youtube.com/watch?v=bilOOPuAvTY

 

4 Principles of Marketing Strategy (Brian Tracy)

จาก https://www.youtube.com/watch?v=hZLMv5aexto

https://www.youtube.com/watch?v=OeV0rYK48kI

 

Magical Marketing Strategy (Brian Tracy)

จาก https://www.youtube.com/watch?v=CDdStoDZDes

 

 เลือก กลยุทธ์ดี… มีชัย ไปกว่าครึ่ง

นักการตลาดมี 3 ประเภท คือ

1. ผู้บริหารที่ เป็นนักคิด ที่เก่งมาก คิดได้หมด (Creative Thinker) แต่ไม่เคย ทำเลย มีประมาณ 0.8%

2. ผู้บริหารที่ มุ่งแต่ทำ ตามที่เข้าใจ (Activity-Oriented) มีประมาณ 99%

3. ผู้บริหารที่ เป็นนักคิด และสามารถ ทำได้จริง (Systematic Strategic Thinker) มีประมาณ 0.2%

 

10 ประเด็น ที่ทำให้ ไม่มี การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เนื่องจาก

1.ผู้บริหาร มุ่งมั่น ในการบริหารจัดการ กับ ภาวะวิกฤต และ ปัญหาประจำวัน

ดับไฟ จนไม่มี เวลา ในการวางแผน ระยะยาว

2. ผู้บริหาร คิดว่า การวางแผน เป็นการ เสียเวลา

เนื่องจาก ไม่สามารถสร้าง ยอดขาย ออกมาให้เห็นได้ อย่างรวดเร็ว
3. ผู้บริหาร เหลิง เหิมเกริม หรือ ประมาท เมื่อมี ความสำเร็จ

คิดว่า ไม่มีความจำเป็น ต้อง วางแผน เพราะทุกอย่าง ก็ดีอยู่แล้ว

4. ผู้บริหาร และพนักงาน กลัว สิ่งใหม่ ที่ไม่รู้

ไม่รู้ว่า ระบบ ใหม่ จะเป็น อย่างไร ต้อง มีความรู้ สามารถ ทักษะใหม่ อะไร ที่จะต้องเรียนรู้ เพิ่มเติมบ้าง

5. ผู้บริหาร และพนักงาน กลัว ความล้มเหลว

ความถนัด หรือ ความสามารถ ใน บทบาท เดิม จะนำไปใช้ ได้หรือไม่

6. ความสงสัย ความไม่เชื่อมั่น ในผู้บริหาร

พนักงาน อาจไม่ ไว้วางใจ ผู้บริหาร ว่า จะทำเพื่อ ส่วนรวม (องค์กร)

7. ผู้บริหาร และพนักงาน มี ความเห็นที่แตกต่าง

จาก การรับรู้ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน หรือ มุมมอง ที่แตกต่างกัน
อาจ เชื่อว่า แผน ผิด

8. ความเห็น แก่ตัว

คนที่ ประสบความสำเร็จ โดยใช้ วิธีคิด และระบบเก่า

จะเห็นว่า การสร้าง แผนใหม่ เป็นภัยคุกคาม สถานภาพ ของเขา

9.ความเกียจคร้าน

พนักงาน ไม่ทุ่มเท ความพยายาม ที่จำเป็น ลงไปในการ จัดทำแผน ให้สำเร็จ

10.โครงสร้าง และระบบ การให้รางวัล ไม่ดี 

ล้มเหลวใน การให้รางวัล กับ ความสำเร็จ
แต่เมื่อ มีความล้มเหลว เกิดขึ้น  ก็จะ ลงโทษ

พนักงาน จะไม่เสี่ยง พยายามทำแล้ว หากล้มเหลว ก็จะถูกลงโทษ

 

10 ข้อผิดพลาด ที่ต้องระวัง  ใน การวางแผนกลยุทธ์ มีดังนี้
1. ใช้ การวางแผนกลยุทธ์ เพื่อควบคุม การใช้ งบประมาณ เท่านั้น
2. วางแผนกลยุทธ์ เพียงเพื่อที่จะ ตอบสนอง หรือ ให้เป็นไปตามกฎ หรือ ข้อกำหนด เท่านั้น
3. ผู้ระดับสูง ไม่สนับสนุน อย่าจริงจัง ในกระบวนการ การวางแผน กลยุทธ์  อย่างเป็นระบบ หรือ ตัดสินใจด้วยความรู้สึก (Intuitive Decision) ที่ขัดกับ ระบบ การสร้างแผนกลยุทธ์

4. รีบเร่ง เกินไป จากขั้น พัฒนา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ไปที่ขั้น สร้างกลยุทธ์ จึงผิดพลาด

5. มอบหมาย การวางแผนกลยุทธ์ ให้กับ “ฝ่ายวางแผน” เท่านั้น แทนที่ จะให้ ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เป็นผู้ดำเนินการ
6. ล้มเหลว ในการสื่อสาร วิสัยทัศน์ ให้กับพนักงาน ได้รู้ เข้าใจ และนำไปใช้ ในการทำงานประจำวัน

7. ล้มเหลว ในการสร้าง บรรยากาศแห่งความร่วมมือ สนับสนุน ในการเปลี่ยนแปลง ตาม วิสัยทัศน์
8. ล้มเหลว ในการใช้แผน เป็นมาตรฐาน ในการวัด ประสิทธิผล (ผล, วัตถุประสงค์) จาก การทำงาน – ไมใช่KPI
9. มุ่งแก้ปัญหา ระยะสั้น จนไม่มีเวลา ที่จะวางแผน คิดว่า การวางแผน  ไม่มีความจำเป็น
10. ยึดติด รูปแบบ การวางแผน (อย่างเป็นทางการ) จนขาด ความยืดหยุ่น และความคิดสร้างสรรค์ ในการเพิ่มคุณค่าของแผน

 

มนต์ชัย สุนทราวัฒน์

ไม่มีความคิดเห็น: