วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยยึดถือสิ่งที่สำคัญต่อการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ชุมชนและสังคมในวงกว้าง  ซึ่งได้กำหนดกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับทิศทาง มาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เป็นสากล อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs), หลักการของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact Principles), แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000), Global Reporting Initiative (GRI), Down Jones Sustainability Indices (DJSI) รวมถึง หลักความยั่งยืน เป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้กำหนดเป็น กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Frame Work or Home of Sustainability) ดังรูป

เพื่อให้บริษัท บรรลุวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืน บริษัท จะต้องดำเนินพันธกิจที่ท้าทาย โดยการบริหารองค์กรให้เป็นเลิศทางธุรกิจพร้อมกับสร้างให้เกิดความยั่งยืนในการอำนวยความสะดวกให้ชุมชนสังคมมีความกินดี อยู่ดี มีความสุข สร้างการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล มีการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Supply & Value Chain) ที่ทันต่อสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนของโลก พร้อมกันนั้นจะต้องสร้างจิตสำนึกและการมีจิตสาธารณะให้อยู่ใน DNA ของบุคลากร โดยบริษัท นำหลักการที่สำคัญมาเพื่อเป็นแนวทางใช้ในการดำเนินธุรกิจได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy), ค่านิยมของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPG Values), Our Way (CPALL WAY for next 30 years), Total Quality Management (TQM), CP Excellence (แนวทางซีพีสู่ความเป็นเลิศ), The 10 United Nation Global Compact (UNGC), United Nation Development Goals (17SDGS) & United Nation Guiding Principles (UNGP), รวมถึงการเคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทตลอดจนกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

15 ประเด็นสำคัญหนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.  การกำกับดูแลกิจการ: การสร้างหลักประกันการดำเนินงานที่โปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการรายงานการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการ ที่มุ่งเน้นความโปร่งใส การแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม มีจริยธรรมทางธุรกิจ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืนผ่านรายงานที่ได้รับการทวนสอบและให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระตามมาตรฐานสากล

2.  สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน: การดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ตามหลักปฏิบัติของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษย์ชน (United Nation Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPBHR) เคารพและผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชน มีการบริหารจัดการความหลากหลายและยอมรับในความแตกต่าง(Diversity & Inclusion)

3.  การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล: การพัฒนาพนักงานให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการ   ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พัฒนาผู้นำในองค์กรให้มีวิสัยทัศน์การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ          และพัฒนาคู่ค้าและพันธมิตรธุรกิจให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

4.  ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: การพัฒนากระบวนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยมีการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของแต่ละกลุ่ม เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการสร้างความตระหนักของคนในองค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีกระบวนการตรวจสอบทุกข้อร้องเรียนจาก     ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

5.  การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น: การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการทุจริต โดยปฏิบัติตาม “แนวปฏิบัติสำหรับการต่อต้านการทุจริต” ให้พนักงานและคู่ค้าหลักที่สำคัญ ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ในการดำเนินงานตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น เพื่อใช้ในการป้องกัน ตรวจพบ และตอบสนองต่อการต่อต้านการทุจริตของบริษัท ซึ่งครอบคลุมถึงการคอร์รัปชั่น เพื่อให้บริษัท สามารถดำเนินธุรกิจตามความมุ่งมั่นที่กำหนดไว้ได้

6.   คุณค่าทางสังคม: การสร้างคุณค่าทางสังคมโดยส่งเสริมอาชีพและรายได้ให้กับ เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้จัดหาผลิตภัณฑ์และบริการรายย่อย (Suppliers) และสร้างโอกาสทางอาชีพรวมถึงปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้กับ   กลุ่มเปราะบาง (กลุ่มคนในสังคมที่ต้องได้รับการดูเป็นพิเศษ)

7.   สุขภาพและสุขภาวะที่ดี: การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่มุ่งเน้นสุขภาพ โภชนาการ และสุขภาวะที่ดี ส่งเสริมการแสดงฉลากโภชนาการสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงมีการพัฒนาบริการ โครงการ หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง 

8.   การศึกษา: การสนับสนุนเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการพัฒนาทักษะที่จำเป็น       รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดีและการเป็นผู้ประกอบการ 

9.   การบริหารจัดการนวัตกรรม: การสร้างมูลค่าจากนวัตกรรม ทั้งจากผลิตภัณฑ์ใหม่และมูลค่าจากผลของการประหยัด ที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการ การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งนวัตกรรม รวมถึงสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร

10.   การดูแลความปลอดภัย/อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน: การให้ความสำคัญกับการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ของพนักงานและคลอบคลุมถึงผู้รับเหมา โดยถือเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานทุกกิจกรรม

11.   การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกผ่านการลดการใช้พลังงาน   ต่อหน่วยการผลิต และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน  รวมทั้งปริมาณของเสียที่ไปกำจัดด้วยการฝังกลบ ลดปริมาณการใช้พลาสติกและกระดาษ ส่งเสริมให้ เกษตรกร คู่ค้า ผู้จัดหาผลิตภัณฑ์และบริการรายย่อย (Suppliers) ของบริษัท    ลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอด  วัฐจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบริการ และสนับสนุนโครงการรับมือกับภัยภิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

12.  การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ: การลดการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิต ให้มีการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ เพิ่มสัดส่วนการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งน้ำของชุมชนตามความเหมาะสม

13.  การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ: การประเมินการจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งผลิตหรือผลิตภัณฑ์จากแหล่งผลิตที่ไม่บุกรุกทำลายป่าไม้และทรัพยากรทางทะเล รวมถึงสนับสนุนโครงการปกป้องและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติ (อาทิ ป่าแหล่งต้นน้ำ ทะเลและชายฝั่ง) ตามความเหมาะสม

14.  การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ: การตรวจประเมินด้านความยั่งยืนกับคู่ค้าธุรกิจหลัก      ทุกราย เพื่อจัดหาวัตถุดิบหลักหรือผลิตภัณฑ์จากแหล่งผลิตที่รับผิดชอบและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาคู่ค้าธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

15. การจัดการข้อขัดแย้งและสร้างการยอมรับจากชุมชน: การร่วมหารือและสานสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจลดข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรและสังคม รวมถึงให้มีการประเมินผลกระทบที่อาจมีผลต่อสังคม โดย มีการเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับความเสี่ยงดังกล่าว พร้อมกับการให้ความสำคัญต่อการลงทุนในชุมชน รวมถึงจัดให้มีกลไกสำหรับจัดการข้อร้องเรียนประเภทผลกระทบทางสังคม พร้อมแนวทางการดำเนินงานแก้ไข

ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจต้องเติบโตอย่างมีกำไรไปด้วยกัน ควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าให้ ผู้ถือหุ้น ตลอดจนการสร้างคุณค่าและเสริมความมั่นทางเศรษฐให้เกิดกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

วัฒนธรรม ค่านิยม สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
HARMONY

เป็นหลักการบริหารองค์กรที่บริษัทใช้ในการบริหารจัดการบุคลากรที่มีจำนวนมากและมีความหลากการ คือการ “ผสมส่วนเหมือน และผสานส่วนต่าง” กล่าวคือ ส่วนที่เราต่างกันยังคงไว้ แต่เราจะใช้ส่วนต่างให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรให้ทำงานอยู่ด้วยกัน สร้างความกลมเกลียวดุจดนตรีวงเดียวกันได้ในวงดนตรีจะประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างชิ้นมากมายหลากหลาย แต่ละชิ้นมีเสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน แต่ผสมออกมาแล้วไพเราะ ถ้าเราทำให้เครื่องดนตรีต่างชิ้นออกเป็นเสียงเดียวกันไม่ไพเราะแน่นอน เหมือนการบังคับให้ทุกคนคิดอย่างเดียวกัน เชื่อเรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ วงดนตรีคือสิ่งที่พวกเราเปรียบเทียบ วงดนตรีเล่นเพลงไพเราะอยู่ที่เราผสานกันได้ดี เราจึงเรียกวัฒนธรรมของเรา โดยมีสโลแกน “ผสมส่วนเหมือน ผสานส่วนต่าง สร้างความกลมเกลียว ดุจดนตรีวงเดียวกัน”

ค่านิยม(เสาเข็ม 23 ต้น)
5 Principles
• รักงาน (Achievement) มีความมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
• รักลูกค้า(Customer) ให้บริการลูกค้าอย่างดีที่สุด
• รักคุณธรรม(Integrity) มีพฤติกรรมสุจริต ซื่อสัตย์ โปร่งใส
• รักองค์กร(Organization) จงรักภักดีต่อองค์กร
• รักทีมงาน(Teamwork) ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
7 Values
• แกร่ง มีความอดทน อดกลั้น และมีทัศนคติที่ดี
• กล้า กล้าคิด พูด ทำในเชิงสร้างสรรค์และถูกต้อง
• สัจจะวาจา รักษาคำพูดที่ให้กับผู้อื่น
• สามัคคี ทำงานเป็นทีม เกื้อกูลกันและกัน
• มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความจริงใจ
• ให้ความเคารพผู้อื่น เคารพในความคิดและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
• ชื่นชมความงามแห่งชีวิต แบ่งเวลาในการทำงานและใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม

11Leadership
เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกัน โดยความสมบรูณ์ของภาวะผู้นำที่จำเป็นต้องมี
• มีความจริงใจ
• ไม่ศักดินา
• ใช้ปิยะวาจา
• อย่าหลงอำนาจ
• เป็นแบบอย่างที่ดี
• มีความยุติธรรม
• ให้ความเมตตา
• กล้าตัดสินใจ
• อาทรสังคม
• บ่มเพาะคนดี
• มีใจเปิดกว้าง

จากกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Frame Work or Home of Sustainability) เราปรารถนาเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่บริษัทฯกำลังมุ่งไปจะสร้างความผาสุกให้กับชุมชน สังคมและโลกใบนี้

ไม่มีความคิดเห็น: