การทำธุรกิจนั้น เป้าหมายสุดท้ายคือการให้ได้ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ยินยอมพร้อมใจที่จะจ่ายขึ้นมากับสินค้าและบริการของธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งยิ่งทำให้จ่ายมาก ก็ยิ่งทำให้เกิดผลประกอบการที่ดีมากตามมาสำหรับธุรกิจนั้นเอง แล้วทำอย่างไรที่จะทำให้ผู้บริโภคนั้นสามารถจ่ายเงินมากขึ้น โดยตัวเองไม่สะดุดใจกับการจ่ายเงินนั้นขึ้นมา ซึ่งนี่เองที่กลไกทางจิตวิทยานั้นเข้ามาช่วยได้
จริง ๆ แล้วมนุษย์นั้นมีส่วนที่ทำอะไรไม่รู้ตัวหลาย ๆ อย่าง และการตัดสินใจหลาย ๆ อย่างก็เกิดขึ้นโดยระบบอัตโนมัติ เพียงแค่มีจุดกลไกบางอย่างไปกระตุ้นสมองให้เกิดการสั่งงานขึ้นมา ทั้งนี้เราเห็นตัวอย่างง่าย ๆ คือการที่มนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่แท้จริงแล้วใช้อารมณ์ นำ เหตุผล อยู่ตลอดเวลา ลองดูตัวอย่างเวลาที่อยากได้อะไร เรามักจะหาเหตุผลมาสนับสนุนความเห็นนั้นจนได้ของชิ้นนั้นขึ้นมา ในผู้ชายจะง่ายมาก เช่นเลนส์กล้อง กันพลา หรือ เครื่องเกม ส่วนผู้หญิงนั้นจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องสำอางค์และกระเป๋า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถชักนำอารมณ์ต่าง ๆ ที่อยากได้อยู่แล้ว ให้ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาจากความอยากได้นั้นจากการใช้วิธีทางจิตวิทยามาโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาลองดู 2 วิธีกัน
1. สร้างสิ่งแทนเงิน : กลไกทางจิตวิทยาหนึ่งที่กลุ่มเว็บเงินแนะนำเพื่อที่จะทำให้ประหยัดเงินนั้นคือการใช้จ่ายผ่านธนบัตร หรือแบงก์ต่าง ๆ นั้นเอง เพราะด้วยการจับแบงก์เวลาใช้จ่ายเยอะ ๆ นั้นจะทำให้เกิดการนับจำนวนธนบัตรที่ต้องจ่ายออกมาไป ซึ่งยิ่งจ่ายมากจำนวนธนบัตรนั้นก็ยิ่งมากทำให้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอนนับธนบัตรนั้นจะเกิดความเสียดายมากขึ้น ทีนี้พวกธนาคารก็อยากให้ผู้คนใช้จ่ายกับธนาคารมากขึ้น เพื่อที่จะได้เก็บค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยต่าง ๆ ออกมา แทนที่จะกู้เงินแล้วไปใช้จ่ายผ่านธนบัตรที่จะมีการใช้จ่ายยาก สิ่งที่ธนาคารทำนั้นคือการสร้าง บัตรพลาสติกขึ้นมา ที่ปัจจุบันเรารู้จักกันดีว่ามันคือ Credit Card นั้นเอง ด้วยความเราจับบัตรเครดิตนี้เราไม่ได้รู้สึกถึงตัวเงินจริง ไม่ต้องนับ ไม่ต้องรู้สึกว่ามันจ่ายเยอะ ทำให้เราใช้จ่ายได้ง่ายมากขึ้นอย่างมาก จนหลายคนเป็นหนี้บัตรกองโต (ดูเวลาโฆษณาบัตรเครดิต จะให้ความรู้สึกว่ามันจ่ายง่ายหรือมีเอกสิทธิ์การจ่ายเงินมากกว่า)
ทีนี้ลองเอาวิธีการสร้างสิ่งแทนเงิน หรือตัวแทนเงินนั้นขึ้นมา เพื่อให้ผู้บริโภคนั้นจ่ายง่ายขึ้น ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการทำแบบนี้คือ บัตร Starbuck Card ที่ให้คนนั้นเติมเงินลงไป เพื่อให้สามารถใช้จ่ายผ่านบัตรหรือมือถือในการสั่งกาแฟได้ง่ายมากขึ้น ด้วยความสะดวกนี้ทำให้คนนั้นมีการเติมเงิน และใช้จ่ายผ่านบัตรนี้ได้ง่ายมากขึ้นไปอีกด้วย หรืออีกตัวอย่างคือบัตร 7-11 ต่าง ๆ ไม่ว่าจะบัตรเองหรือมือถือ ที่ทำให้เราเติมเงินมากมายเข้าไป และใช้ได้สะดวกสบะายมากยิ่งขึ้น ทำให้จำนวนการซื้อนั้นเพิ่มขึ้น หรือมีความถี่มากขึ้นไปอีกได้อย่างง่ายดาย
2. สร้าง Loyalty Program : การสร้าง Loyalty Program นั้นคือการสร้างสมาชิกของธุรกิจขึ้นมา ด้วยการสร้าง Loyalty Program นี้เราสามารถที่จะโน้มน้าวการใช้จ่ายมากขึ้นไปอีกผ่านการใช้การเก็บแต้ม หรือการใช้คูปองลดราคา คูปองเงินสดมากมาย ซึ่งด้วยวิธีการนี้ผู้บริโภคจะรู้สึกเหมือนมีภารกิจเพื่อที่จะให้ได้ของฟรีขึ้นมา หรือให้ได้สิ่งที่ต้องการขึ้นมาจากการเข้ามาใช้จ่ายผ่าน Loyalty Program แทนที่จะไปซื้อของที่ร้านอื่น ก็มาซื้อที่ร้านเราเพราะได้เก็บแต้มมากไปด้วย
ภาพจาก Starbucks Newsroom
ตัวอย่างง่าย ๆ อีกเช่นกันของ Starbucks Card ที่ให้คุณเติมเงิน และยังเป็นสมาชิก starbucks ที่มีภารกิจต้องเก็บดาวจนได้ดาวทองมา ซึ่งจะได้ของสมมนาคุณที่จะส่งมา หรือการที่มีโปรโมชั่นสมาชิกต่าง ๆ เพื่อสร้างการดึงดูดให้เกิดการซื้อขึ้นมา เช่น 1 แถม 1 หรืออื่น ๆ อีกตัวอย่างคือ Tops Supermarket ที่จะมีการส่งคูปองลดราคาสินค้า คูปองแทนเงินสดมา เพื่อให้ใช้เดินต่อเดือน ทำให้คนรู้สึกว่าต้องไปซื้อของแม้ว่าจะไม่อยากได้ก็ตาม เพราะกลัวพลาดโอกาสที่จะได้ของในราคาถูก ราคาสมาชิกขึ้นมานั้นเอง สิ่งหนึ่งที่ต้องทำให้ดีในเรื่อง Loyalty Program นั้นคือการที่สมาชิกอยู่มานาน ต้องได้สิ่งที่ดีกว่าสมาชิกที่เข้ามาใหม่ เพราะเมื่อไหร่ที่สมาชิกใหม่ได้อะไรที่ดีกว่า ย่อมทำให้คนอยู่มานานรู้สึกไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ต่อนั้นเอง (ซึ่งในประเทศไทยไม่เข้าใจจุดนี้ เราเลยเห็นค่ายมือถือที่คนมาใหม่ได้อะไรดีกว่าคนอยู่ก่อนหน้านั้นเอง)
ทั้งนี้เมื่อรวมเอา 2 จุดนี้เข้าด้วยกัน เหมือนดังเช่นบัตร Starbucks หรือบัตร 7-11 นั้นเอง เราสามารถจะสร้างการใช้จ่ายกับกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายขึ้นมาให้เกิดการใช้จ่ายให้มากขึ้นได้ หรือสามารถสร้างความถี่ของการใช้จ่ายให้มากขึ้นไปอีกได้ และด้วยวิธีการนี้ยังสามารถสร้างสมาชิกต่าง ๆ ได้เพิ่มเติม ผ่านการให้รับรู้ว่าการใช้บัตร หรือการเข้ามาเป็นสมาชิกนั้นจะมีประโยชน์มากกว่า การไม่ได้เป็นสมาชิกได้อย่างไร โดยไม่ทำให้กลุ่มเป้าหมายใหม่นั้นรู้สึกว่าต้องลงทุน หรือรู้สึกไม่ต้องออกแรงอะไรนั้นเอง ซึ่งนักการตลาดสามารถเอาไปดูว่าธุรกิจตัวเองมีจุดไหนไหม ที่จะสามารถสร้างโอกาสเช่นนี้ได้ หรือร่วมกับคนอื่นในการสร้างการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาได้ไหม
ที่มา marketingoops.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น