วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วอนขอความยุติธรรม!!ด.ญ.วัย 14พิการขาทั้ง2ข้าง สู้ชีวิตนั่งวีลแชร์ตระเวนขายของหาเงินเลี้ยงแม่ เผยครอบครัวถูกทนายโกงเงินเยียวยากว่า 5 ล้าน

วอนขอความยุติธรรม!!ด.ญ.วัย 14พิการขาทั้ง2ข้าง สู้ชีวิตนั่งวีลแชร์ตระเวนขายของหาเงินเลี้ยงแม่ เผยครอบครัวถูกทนายโกงเงินเยียวยากว่า 5 ล้าน
Publish 2017-06-29 00:04:42

เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 28 มิ.ย. 2560  ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี  ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีหญิงสาววัยกลางคนมักเข็นรถวีลแชร์ที่มีลูกสาวนั่งตระเวนขายของตามศาลาวัดแต่ละศาลาภายในวัดแห่งนี้เพื่อหาเงินเลี้ยงตัวเองและบุตรสาวในแต่ละวัน มีแขกเหรื่อที่มาร่วมในงานศพต่างพากันสงสารช่วยซื้อของจนเป็นที่ทราบกันดีของชาวบ้านใกล้เคียงรวมทั้งพระภิกษุสงฆ์จนถึงเด็กวัด เพราะเห็นถึงความรักของผู้เป็นแม่ที่มีต่อลูกและผู้เป็นลูกที่มีต่อแม่ โดยทั้งสองคนขายของภายในวัดชลประทานมานานหลายปีแล้วเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพไปวันๆและไม่มีใครรู้เลยว่าชีวิตปูมหลังสุดแสนรันทดใจยิ่งกว่านิยายและละครเสียอีก

น.ส.พรทิพย์ จันทรัตน์ อายุ 44 ปี พักอยู่เลขที่ 3/39 หมู่ 7 ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี แม่ที่พา ด.ญ.ภัทรดา หรือน้องบีม แก้วผ่อง อายุ 14 ปี บุตรสาวที่พิการเดินไม่ได้ต้องนั่งรถวีลแชร์ตระเวรขายของ เปิดเผยถึงชีวิตที่แสนรันทดให้กับผู้สื่อข่าวฟังว่าเมื่อวันที่ 10 ก.พ.2548 ตนกับสามีคือนายอรุณรัตน์ แก้วผ่อง พร้อมน้องบีม บุตรสาวได้นั่งรถปิคอัพเพื่อนสามีไปประสบอุบัติเหตุชนกับรถพ่วง 18 ล้อ ที่อำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี สามีเสียชีวิตคาที่ ตัวเองบาดเจ็บสาหัส ส่วนน้องบีมกระดูกทับไขสันหลังกลายเป็นคนพิการเดินไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ต้องนั่งอยู่แต่บนรถวีลแชร์  หลังจากนั้นทางครอบครัวได้รับการช่วยเหลือจากนายพิสิษฐ์ สัมมาเลิศ ทนายความที่รับอาสาว่าความให้จนกระทั่งต่อมาปี 2557 นายพิสิษฐ์แจ้งว่าศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำพิพากษาให้คู่กรณีจ่ายเงินให้ครอบครัวตนเอง 1 ล้านบาท โดยจะจ่ายให้เป็นงวดๆ งวดละ 40,000 บาท จากนั้นได้นำหนังสือมอบอำนาจมาให้ตนเซ็นโดยอ้างว่าตนเองไม่สะดวกเดินทางตนจึงได้เซ็นให้ไป และได้รับเงินเดือนละ 40,000 บาท เป็นเวลา 7 เดือน ก่อนจะหยุดให้ในเวลาต่อมา เมื่อตนทวงถามนายพิสิษฐ์จะบ่ายเบี่ยงและอ้างว่าทางคู่กรณียังไม่ได้จ่ายมา

นางสาวพรทิพย์ กล่าวด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่าตนเองจึงได้ติดต่อไปที่บริษัทเพื่อสอบถามถึงสาเหตุแต่แล้วก็ต้องแทบช็อคหัวใจสลายเมื่อทราบว่าทางบริษัทรถพ่วง 18 ล้อ จ่ายเงินค่าเสียหายให้กับครอบครัวตนเองมา 5 ล้านบาทแล้ว โดยมีทนายพิสิษฐ์ เป็นผู้รับมอบอำนาจจากตนเองมา  ตนจึงสอบถามเขาไปเขาก็ยอมรับและบอกว่าจะหาเงินมาใช้พร้อมนำดอกไม้ธูปเทียนมาขอขมา  จากนั้นก็เปลี่ยนมือถือและติดต่อไม่ได้อีกเลย ตนเองไม่มีความรู้ด้านกฎหมายก็ไม่รู้ว่าจะไปสู้รบปรบมือกับเขาได้อย่างไร เคยร้องเรียนไปที่สภาทนายความ มูลนิธิประวีณา ศูนย์ดำรงธรรม แต่เรื่องก็เงียบหายไป  "ถ้าทนายพิสิษฐ์ยังมีชีวิตอยู่และรู้ว่าตนเองกับลูกสาวลำบากขนาดไหนขอให้เขาคืนเงินให้กับตนเองและลูกด้วย เพราะน้องบีมไม่น่าที่จะต้องมามีชีวิตที่ลำบากขนาดนี้หากเขาไม่โกงเงินของตนกับลูกสาวไป" สำหรับ ด.ญ.ภัทรดา หรือน้องบีม แก้วผ่อง  นั้นปัจจุบันเรียนอยู่ชั้น  ม.2 โรงเรียนศรีสังวาลย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนคนพิการในสังกัดกระทรวงพัฒนาการและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นเด็กสาวหน้าตาสะสวย มีผลการเรียนที่ดีเกรดเฉลี่ย 3.8  เป็นหนึ่งในนักร้องคอรัสหมู่ที่ร่วมกับเพื่อนๆร้องเพลง "เคเซลา"ในโฆษณาของบริษัทไทยประกันชีวิต ที่มีความไพเราะแสนเศร้ากินใจคนฟังจนเป็นที่รู้จักกันดีในโฆษณาชุดนี้ที่แสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ความเข้มแข็ง ในการต่อสู้ชีวิตของคนพิการที่ไม่เคยย่อท้อนั่นเอง

ข่าว/ภาพ  วิสันต์  ลือประดิษฐ   ผู้สื่อข่าวภูมิภาค   สำนักข่าวทีนิวส์   จ.นนทบุรี

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รู้จักกับเพชรสังเคราะห์ CZ (Cubic Zirconia)

รู้จักกับเพชรสังเคราะห์ CZ (Cubic Zirconia)

     หลายท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า เพชรรัสเซีย, เพชรสังเคราะห์, เพชรสวิส, เพชร CZ,และ อาจจะกำลังสงสัยอยู่ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร คำตอบคือ ไม่ต่าง ชื่อทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นชื่อในทางการค้าของผู้ขายเครื่องประดับที่แล้วแต่ จะเรียก ซึ่งก็คือเพชร Cubic Zirconia หรือเรียกสั้นๆว่า เพชร CZ เริ่มผลิตครั้งแรกจากประเทศรัสเซียจึงเรียกกันในช่วงแรกว่า เพชรรัสเซีย

    คิวบิก เซอร์คอเนีย เป็นธาตุสังเคราะห์ที่คิดค้นพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ด้านอัญมณี มีลักษณะเป็นผลึกใส สามารถสะท้อนแสงได้ดี คุณสมบัติใกล้เคียงกับเพชรแท้ที่ได้จากการทำเหมืองเพชร เมื่อนำมาเจียระไนและขัดแต่งด้วยช่างฝีมือที่ชำนาญงานเจียระไนแล้ว จะได้ชิ้นงานเพชรสังเคราะห์ที่มีความเหมือนเพชรแท้อย่างมาก เหมือนด้วยรูปลักษณ์ที่ปรากฏ และ คุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเทียบกับเพชรแท้ จนทำให้ผู้คนทั่วไป หรือแม้แต่นักอัญมณีศาสตร์ที่มีประสบการณ์ ผ่านการอบรม ก็ยังไม่สามารถจำแนก แยกออกได้ด้วยตาเปล่าสวยเหมือนของแท้ทุกประการ

    ปัจจุบัน คิวบิก เซอร์คอเนีย มีการแบ่งเกรด โดยเริ่มต้นจากคุณภาพต่ำไปสูง ดังนี้ 1A, 2A, 3A, 4A, 5A, 6A, Star, Heart&Arrow และ Swiss  โรงงานผู้ผลิตส่วนใหญ่จะผลิต คิวบิก เซอร์คอเนีย ในเกรด 1A ถึง 6A เจียระไนเพียงไม่กี่ขั้นตอน แล้วจำหน่ายเป็นเครื่องประดับราคาถูกโดย MADDUCK JEWELS CO.,LTD. ได้คัดสรรและนำเข้า CZ เกรดพิเศษ สั่งเจียระไนเฉพาะ MADDUCK JEWELS เท่านั้น จึงมีคุณภาพสูงสุด มีแสง เหลี่ยม เงา ความสวยงาม แวววาว เหมือนเพชรแท้มากที่สุดจนไม่สามารถแยกออกได้ด้วยตาเปล่าค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติม

    วิธีการหนึ่งในหลายๆ วิธีที่จะบอกความแตกต่างระหว่างเพชรแท้ และ คิวบิก เซอร์คอเนีย ได้คือ การใช้กล้องขยายที่มีกำลังขยายต่ำกว่า 10 เท่า จะเห็นได้ถึงเหลี่ยมมุมด้านในที่จะไม่เป็นเส้นตรง และเมื่อเส้นเหล่านี้มาตัดกันก็จะสังเกตุได้ชัดเจนมากขึ้นว่าไม่เป็นเส้นตรง แต่จะมีลักษณะกลมมนมากกว่าเพชรแท้ หากต้องการการจำแนกที่ชัดเจนถูกต้อง มีเพียงการใช้เครื่องตรวจสอบ อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นที่จะสามารถบ่งบอกถึง ความแตกต่างได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

    การดูแลรักษา คิวบิก เซอร์คอเนีย ควรดูแลรักษาประหนึ่งเป็นอัญมณีแท้ น้ำหอม , น้ำมันบนนิ้วมือ, สบู่ หรือ ฝุ่นละออง เป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดคราบจับเกาะเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ทำให้ประกายเพชรขุ่นมัว ไม่ส่องประกาย สาเหตุเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เพชรแท้ ไม่ส่องประกายเช่นกัน

    การทำความสะอาดที่ถูกขั้นตอน จะทำให้อัญมณีโคลนนิ่ง ส่องประกายได้นานนับปี วิธีการทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือการใช้น้ำยาล้างจานทำความสะอาด ใช้แปรงขนอ่อนแปรงเบา ๆ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงทำความสะอาด อาจทำให้อัญมณีและตัวเรือนขยายตัวจนหลวม หรือหลุดได้ อาจเลือกใช้น้ำยาล้างทำควาสะอาดอัญมณีต่าง ๆ ที่ไม่มีส่วนผสมของ สารละลายแอมโมเนีย หรือ แอลกอฮอลล์

ความแตกต่างระหว่าง CZ และ เพชรแท้.

- การกระจายของแสง CZ จะมีประกายน้อยกว่าเพชรเล็กน้อย , CZ มีไฟ (แสงวิบวับสีรุ้ง) มากกว่าเพชรเล็กน้อยค่ะ

- ความแข็ง เพชรแท้ ถือว่าเป็นสสารที่แข็งที่สุดในโลก มีความแข็งอยู่ในระดับ 10  ส่วน CZ มีความแข็งใกล้เคียงกัน คือประมาณ 8.5  ถึงแม้จะแข็งน้อยกว่าเพชร แต่ก็แข็งพอ ๆ กับพลอยเนื้อแข็งเช่น ทับทิม แซฟไฟร์ค่ะ

- CZ หนักกว่าเพชรแท้ 75% ดังนั้นในน้ำหนักที่เท่ากัน CZ จะมีขนาดเล็กกว่าเพชรแท้ค่ะ

- ราคา  เพชร CZ มีความสวยงามเหมือนเพชรแท้ เวลาสวมใส่ดูไม่ออกว่าเป็นของแท้หรือของเทียม  แต่ราคาต่างกันมากค่ะ เพชรCZ ราคา หลัก ร้อย-พัน  ส่วนเพชรแท้เกรดดี ราคาหลักหมื่นขึ้นไปค่ะ

- เพชรแท้ ถ้าคนที่ดูไม่เป็นเ หรือมีความชำนาญไม่มากพอ ก็เสี่ยงที่จะถูกหลอกได้ง่ายค่ะ ร้านค้าอาจจะบอกว่าเป็นเพชรเกรดดี Belgium Cut แต่จริงๆ แล้วอาจจะเป็นเพชรที่มีเกรดต่ำลงมา ตรงนี้ต้องระวังค่ะ

Tags : เพชรสังเคราะห์, cz, cubic zirconia
Share :  https://www.madduckjewels.com/b/2

Cubic zirconia

Cubic zirconia

Not to be confused with Zircon, zirconia, or zirconium.
For the electronic group, see Cubic Zirconia (band).

A round brilliant-cut cubic zirconia
Cubic zirconia (CZ) is the cubic crystalline form of zirconium dioxide (ZrO2). The synthesized material is hard, optically flawless and usually colorless, but may be made in a variety of different colors. It should not be confused with zircon, which is a zirconium silicate (ZrSiO4). It is sometimes erroneously called "cubic zirconium".

Because of its low cost, durability, and close visual likeness to diamond, synthetic cubic zirconia has remained the most gemologically and economically important competitor for diamonds since commercial production began in 1976. Its main competitor as a synthetic gemstone is a more recently cultivated material, synthetic moissanite.

Technical aspects

Cubic zirconia is crystallographically isometric, an important attribute of a would-be diamond simulant. During synthesis zirconium oxide would naturally form monoclinic crystals, its stable form under normal atmospheric conditions. A stabilizer is required for cubic crystals to form, and remain stable at ordinary temperatures; this may be typically either yttrium or calcium oxide, the amount of stabilizer used depending on the many recipes of individual manufacturers. Therefore, the physical and optical properties of synthesized CZ vary, all values being ranges.

It is a dense substance, with a specific gravity between 5.6 and 6.0 — at least 1.6 times that of diamond. Cubic zirconia is relatively hard, 8–8.5 on the Mohs scale— slightly harder than most semi-precious natural gems.[1] Its refractive index is high at 2.15–2.18 (compared to 2.42 for diamonds) and its luster is adamantine. Its dispersion is very high at 0.058–0.066, exceeding that of diamond (0.044). Cubic zirconia has no cleavage and exhibits a conchoidal fracture. Because of its high hardness, it is generally considered brittle.

Under shortwave UV cubic zirconia typically fluoresces a yellow, greenish yellow or "beige". Under longwave UV the effect is greatly diminished, with a whitish glow sometimes being seen. Colored stones may show a strong, complex rare earth absorption spectrum.

History

Discovered in 1892, the yellowish monoclinic mineral baddeleyite is a natural form of zirconium oxide.[2]

The high melting point of zirconia (2750 °C or 4976 °F) hinders controlled growth of single crystals. However, stabilization of cubic zirconium oxide had been realized early on, with the synthetic product stabilized zirconia introduced in 1929. Although cubic, it was in the form of a polycrystalline ceramic: it was used as a refractory material, highly resistant to chemical and thermal attack (up to 2540 °C or 4604 °F).[3]

In 1937, German mineralogists M. V. Stackelberg and K. Chudoba discovered naturally occurring cubic zirconia in the form of microscopic grains included in metamict zircon. This was thought to be a byproduct of the metamictization process, but the two scientists did not think the mineral important enough to give it a formal name. The discovery was confirmed through X-ray diffraction, proving the existence of a natural counterpart to the synthetic product.[4][5]

As with the majority of grown diamond substitutes, the idea of producing single-crystal cubic zirconia arose in the minds of scientists seeking a new and versatile material for use in lasers and other optical applications. Its production eventually exceeded that of earlier synthetics, such as synthetic strontium titanate, synthetic rutile, YAG (yttrium aluminium garnet) and GGG (gadolinium gallium garnet).

Some of the earliest research into controlled single-crystal growth of cubic zirconia occurred in 1960s France, much work being done by Y. Roulin and R. Collongues. This technique involved molten zirconia being contained within a thin shell of still-solid zirconia, with crystal growth from the melt: The process was named cold crucible, an allusion to the system of water cooling used. Though promising, these attempts yielded only small crystals.

Later, Soviet scientists under V. V. Osiko at the Lebedev Physical Institute in Moscow perfected the technique, which was then named skull crucible (an allusion either to the shape of the water-cooled container or to the form of crystals sometimes grown). They named the jewel Fianit after the institute's name FIAN (Physical Institute of the Academy of Science), but the name was not used outside of the USSR. Their breakthrough was published in 1973, and commercial production began in 1976.[6] In 1977 cubic zirconia begun to be mass-produced in the jewelry marketplace.[5] By 1980 annual global production had reached 50 million carats (10 tonnes).[citation needed]

Because the natural form of cubic zirconia is so rare, all cubic zirconia used in jewelry has been synthesized, or created by humans.

Synthesis

Worker monitoring melting zirconium oxide and yttrium oxide in an induction heated "cold crucible" to create cubic zirconia.
The Soviet-perfected skull crucible is still used today, with little variation. Water-filled copper pipes provide a cup-shaped scaffold in which the zirconia feed powder is packed, the entire apparatus being wrapped with radio frequency induction coils running perpendicular to the copper pipes. A stabilizer, typically calcium oxide, is mixed with the feed powder.[3]

The RF induction coils function in a manner similar to the primary winding in a transformer. The zirconia acts as the "secondary winding" of a transformer which in effect is "shorted" out and thus gets hot. This heating method requires the introduction of small pieces of zirconium metal. The metal is placed near the outside of the charge and is melted by the RF coils and heats the surrounding zirconia powder from the outside inwards. The cooling water-filled pipes embracing the outer surface maintain a thin "skin" (1–2 mm) of unmelted feed, creating a self-contained apparatus. After several hours the temperature is reduced in a controlled and gradual manner, resulting in the formation of flawless columnar crystals that are typically about 5 cm long by 2.5 cm wide, although they may be grown much larger. Prolonged annealing at 1400 °C is then carried out to remove any strain. The annealed crystals are then cut into gemstones.[3]

The addition of certain metal oxide dopants into the feed powder results in a variety of colors. For example:

DopantColor(s)
Cerium:yellow,orange,red
Chromium:green
Neodymium:purple
Erbium:pink
Titanium:golden brown

Purple cubic zirconia with checkerboard cut

Multi-colour cubic zirconia

Three-tone cubic zirconia gems

InnovationsEdit

In recent years manufacturers have sought ways of distinguishing their product by supposedly "improving" cubic zirconia. Coating finished CZs in a film of diamond-like carbon (DLC) is one such innovation, a process using chemical vapor deposition. The resulting material is purportedly harder, more lustrous and more like diamond overall. The coating is thought to quench the excess fire of CZ, while improving its refractive index, thus making it appear more like diamond. Additionally, because of the high percentage of diamond bonds in the amorphous diamond coating, the finished simulant will show a positive diamond signature in Raman spectra.

Another technique first applied to quartz and topaz has also been adapted to cubic zirconia: vacuum-sputtering an extremely thin layer of metal oxide (typically gold) onto the finished stones creates an iridescent effect.[7] This material is marketed as "mystic" by many dealers. Unlike DLC, the effect is not permanent, as abrasion easily removes the oxide layer.

Cubic zirconia versus diamondEdit

There are a few key features of cubic zirconia which distinguish it from diamond:

A triangular facet of a crystal having triangular etch pits with the largest having a base length of about 0.2 mm
One face of an uncut octahedral diamond, showing trigons (of positive and negative relief) formed by natural chemical etching
Hardness: cubic zirconia has a rating of approximately 8 on Mohs hardness scale vs. a rating of 10 for diamond.[1]
Specific gravity: the density of cubic zirconia is about 1.7 times that of diamond.
Refractive index: cubic zirconia has a refractive index of 2.15–2.18, compared to a diamond's 2.42.
Dispersion is very high at 0.058–0.066, exceeding a diamond's 0.044.
Cut: cubic zirconia gemstones may be cut differently from diamonds. The facet edges can be rounded or "smooth".
Color: only the rarest of diamonds are truly colorless, most having a tinge of yellow or brown to some extent. By comparison, a cubic zirconia is often entirely colorless: equivalent to a perfect "D" on diamond's color grading scale. Other desirable colors of cubic zirconia can be produced including near colorless, yellow, pink, purple, green, and even multicolored.
Thermal conductivity: Cubic zirconia is a thermal insulator whereas diamond is a very good thermal conductor.
See alsoEdit

Diamond
Diamond simulant
Shelby Gem Factory
Synthetic diamond
Yttria-stabilized zirconia
ReferencesEdit

^ a b "Mohs' Hardness of Abrasives". Retrieved 2009-06-06.
^ Bayanova, T.B. (2006). "Baddeleyite: A promising geochronometer for alkaline and basic magmatism". Petrology. 14 (2): 187. doi:10.1134/S0869591106020032.
^ a b c Dhanaraj, Govindhan; Byrappa, Kullaiah; Prasad, Vishwanath (2010). Springer Handbook of Crystal Growth. Springer. pp. 443–. ISBN 978-3-540-74761-1. Retrieved 1 February 2013.
^ Stackelberg, M. von; Chudoba, K. (1937). "Dichte und Struktur des Zirkons; II". Zeitschrift für Kristallographie. 97: 252–262.
^ a b "Understanding more about Cubic Zirconia". Chic Jewelry. 2013. Retrieved 6 December 2013.
^ Hesse, Rayner W. Jewelrymaking Through History: An Encyclopedia. Greenwood Publishing Group. p. 72. ISBN 978-0-313-33507-5.
^ "Designer Enhanced Gemstones". Azotic Coating Technology, Inc. 2010. Retrieved 3 November 2010.
Further readingEdit

Nassau, Kurt (1980). Gems Made by Man. ISBN 0-8019-6773-2.

รีสอร์ตกลางเขาสก

รีสอร์ตกลางเขาสก
08 เมษายน 2017 เวลา 05:05 น.

ปัจจัยความสำเร็จ “แพ 500 ไร่” จากไกด์ทัวร์สู่รีสอร์ตกลางน้ำร้อยล้าน ชูจุดเด่นในเรื่องความงดงามของบรรยากาศ บริการประทับใจ กระจายธุรกิจออกสู่ชุมชน สร้างประโยชน์ให้กับท้องถิ่น
“แพ 500 ไร่” คือที่พักสุดหรูกลางน้ำ ท่ามกลางบรรยากาศเขื่อนเชี่ยวหลาน เขตอุทยานแห่งชาติเขาสก ต.เขาพัง อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องความงดงามของบรรยากาศ การบริการที่น่าประทับใจ อีกทั้งเป็นธุรกิจท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ เน้นการสร้างอาชีพเพื่อกระจายรายได้ให้คนในชุมชน

ซึ่งผู้บริหารหนุ่ม คุณอติรัตน์ ด่านภัทรวรวัฒน์ เจ้าของธุรกิจ “แพ 500 ไร่” ได้อธิบายว่า คำว่า 500 ไร่ นอกจากจะเป็นชื่อแพแล้ว ยังหมายความไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยวในนาม บริษัท สุราษฎร์อินเตอร์ทัวร์ จำกัด ซึ่งครอบคลุมถึงธุรกิจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแบบครบวงจร ให้บริการข้อมูลและนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในสุราษฎร์ธานีและใกล้เคียงครบวงจร เช่น ซื้อทัวร์ หาที่พัก เช่ารถ เช่าเรือ เป็นต้น โดยมี “แพ 500 ไร่” เป็นตัวชูโรงของสถานที่ท่องเที่ยว

จากไกด์ พัฒนาตัวเองสู่เจ้าของบริษัททัวร์

คุณอติรัตน์เล่าว่า เริ่มต้นธุรกิจทัวร์ตั้งแต่ปี 2551 จากการเป็นไกด์นำเที่ยว จนได้โอกาสขยับมาเป็นเซลส์ขายทัวร์ท่องเที่ยว พัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ และในปี 2552 สามารถก่อตั้งบริษัท สุราษฎร์อินเตอร์ทัวร์ จำกัด จากนั้นในปี 2555 ก่อตั้งบริษัท รักษ์สุราษฎร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจรีสอร์ต “แพ 500 ไร่” การเติบโตของธุรกิจเป็นที่น่าพอใจมาโดยตลอด โดยช่วงที่ดีที่สุดคือ ปี 57-59 ประสบผลสำเร็จ สร้างผลประกอบการเกินร้อยล้านบาทต่อปี

ซึ่งประโยชน์จากการเป็นไกด์และเซลส์ขายทัวร์มาก่อน ทำให้คุณอติรัตน์ทราบความต้องการของนักท่องเที่ยว ว่าอะไรที่ควรมีและไม่ควรมี เข้าใจโจทย์ของสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

“เริ่มต้นจากการเป็นไกด์ ซึ่งกลยุทธ์จะเป็นในเชิงตั้งรับและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และมองต่อว่าหากมีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับลูกค้า สร้างความชัดเจนในการประกอบการตัดสินใจ ก็จะช่วยให้ไกด์ทำงานง่ายขึ้น จากนั้นจึงคิดต่อว่าทำอย่างไรจึงจะครบวงจร คือเรื่องของการพักค้าง และระหว่างทางกว่าจะมาถึงการให้บริการของบริษัทเรา ทำอย่างไรที่จะให้ลูกค้าสะดวกและมีความสุขมากที่สุดในการท่องเที่ยว จึงพัฒนาเป็นรูปแบบทัวร์ที่ดูแลทุกอย่างตั้งแต่การนำเสนอรูปแบบทัวร์ การเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกิน ตลอดจนที่พัก มีโปรแกรมทัวร์ที่ยืดหยุ่น มีบริการทั้งรถ เรือ เครื่องบิน เป็นทัวร์ที่ครบวงจร” คุณอติรัตน์ กล่าว

หลังจากบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างลงตัวครบวงจรแล้ว คุณอติรัตน์ได้กระจายการทำงานออกสู่ชุมชน ตัดบางธุรกิจออกไปให้เป็นบริการของคนในพื้นที่ เช่น เรือนำเที่ยว ร้านอาหาร รวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งควบคุมให้อยู่ในระบบ จัดการให้ได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ เป็นในนามบริษัททัวร์ของแพ 500 ไร่ แต่ได้คู่ค้าเป็นคนในพื้นที่ ทำงานร่วมกัน ก้าวหน้าทั้งตัวบริษัท รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างอาชีพให้คนในชุมชนควบคู่กันไปด้วย

ก้าวสู่แพเบอร์ 1 เขื่อนเชี่ยวหลาน

สำหรับรีสอร์ตแพ 500 ไร่ ที่เป็นจุดเด่นของธุรกิจนั้น คุณอติรัตน์เล่าให้ฟังว่า เริ่มมาจากเป็นแพเล็กๆ เปิดตัวเป็นแพสุดท้ายของเขื่อนเชี่ยวหลาน เป็นผู้ประกอบการที่อายุน้อยที่สุด มีต้นทุนในการทำธุรกิจไม่มาก พัฒนามาจากตั้งแต่ราคาที่พักคืนละ 600 บาท รวมอาหาร 3 มื้อ ซึ่งเจ้าของแพหนุ่มไฟแรงมองว่าต้องทำอย่างไรจึงจะเกิดการพัฒนาในตัวธุรกิจ รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่ จึงเกิดการปรับปรุงทั้งเรื่องที่พักและการให้บริการ สร้างการตลาดให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย

“ค่าที่พักแค่ 600 กระจายหาใครไม่ได้ จนทุกวันนี้ค่าที่พักกลายเป็น 6,000 บาท ใช้เวลาประมาณ 5 ปี สามารถพัฒนามูลค่าธุรกิจรวมถึงพัฒนากลุ่มลูกค้า ให้มองว่าที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่า ทั้งในเชิงธรรมชาติและผู้คนในชุมชน”

จุดเด่นของ “แพ 500 ไร่” คือ การสร้างประสบการณ์ที่แตกต่าง นักท่องเที่ยวทุกคนที่มาจะเกิดความประทับใจ ตื่นเต้นกับธรรมชาติที่สวยงามไม่เป็นรองที่ใด ตามด้วยบริการจากพนักงานและรูปแบบการให้บริการที่เป็นธรรมชาติ โดยพนักงานส่วนมากเป็นคนท้องถิ่น ซึ่งบริการด้วยความซื่อสัตย์จริงใจ เกิดความติดใจจนอยากมาอีก ซึ่งความประทับใจนั้นไม่สามารถบรรยายได้นอกจากจะมาสัมผัสด้วยตนเอง

ปัญหาและอุปสรรคที่ต้องเจอในการทำธุรกิจนั้น คุณอติรัตน์เผยว่า มีหลายระยะ ในระยะแรกเป็นเรื่องการต่อสู้กับภาครัฐในส่วนสัมปทานการสร้างแพ เนื่องจากเป็นพื้นที่ของอุทยาน ปัญหาจะเป็นในเรื่องของกฎระเบียบและข้อกฎหมายที่ขาดความชัดเจน แก้ปัญหาด้วยการนำเสนอในมุมมองที่ภาครัฐและชุมชนสามารถมีผลประโยชน์ร่วมกันได้ ส่วนระยะที่สองจะเป็นการต่อสู้กับความคิดของคนในชุมชนกับความเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจว่าในการพัฒนานั้นย่อมมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามมา รวมถึงการบริหารจัดการธุรกิจที่เติบโตให้อยู่ในกรอบและมีความยั่งยืน

ส่วนระยะที่สามคือ ในปัจจุบันประเทศกำลังเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ซึ่งต้องแก้ปัญหาและมองให้ออกว่า จะทำอย่างไรธุรกิจจึงจะดำเนินไปได้อย่างสอดคล้องกับยุคสมัย ภายใต้แนวคิดการทำงานเดิมที่มี

เอาชนะใจลูกค้า ด้วยการสร้างความประทับใจ

ถามต่อถึงปัจจัยความสำเร็จของการทำงาน เจ้าของ “แพ 500 ไร่” กล่าวว่า  คือการเอาชนะใจลูกค้า ไม่แข่งขันกับใคร แต่เป็นการแข่งขันกับตัวเองและลูกค้า เอาชนะใจลูกค้าด้วยการสร้างความประทับใจ ให้เขาเลือกใช้บริการเรา อีกปัจจัยหนึ่งคือ การรู้จังหวะในการดำเนินงาน ซึ่งมีสามเรื่องหลักคือ การหารายได้ให้ธุรกิจ การบริหารจัดการ และระบบการบริหารจัดการเงิน มองออกว่าช่วงไหนควรเน้นหนักเรื่องใด จังหวะไหนอะไรควรทำก่อน และสุดท้าย ปัจจัยสำคัญที่สุดของความสำเร็จที่ “แพ 500 ไร่” มีมาตลอดคือ อัตลักษณ์ของตัวตนที่ชัดเจน

“เมื่อนักท่องเที่ยวนึกถึง แพ 500 ไร่ คือบรรยากาศที่สวยงาม เป็นแพที่ดีที่สุด สงบ เหมาะกับการพักผ่อน มีการบริการของคนในชุมชนที่น่ารัก ไปแล้วกลับมาประทับใจ นี่คือตัวตนของแพเรา” คุณอติรัตน์ กล่าว

สุดท้ายสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องการประสบความสำเร็จ คุณอติรัตน์ให้คำแนะนำว่า ต้องหาอัตลักษณ์ของตัวเองให้เจอ อย่ามองเพียงเรื่องการลงทุน ธุรกิจต้องมีวิญญาณและหัวใจ ต้องมองว่าทำอย่างไรลูกค้าจึงจะมีความสุขจากบริการของเรา วางระบบการทำงานให้ดี เมื่อระบบดีการบริการที่ดีก็ตามมา ต้องสอดกันระหว่างการลงทุนและการให้บริการ ซึ่งจะทำธุรกิจอยู่ได้และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน แพ 500 ไร่ : www.500rai.com, FB : 500rairesort

สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษา Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สายด่วน 1333

เราต้องการพื้นที่การเรียนรู้ใจกลางเมืองสำหรับทุกคน National Knowledge Center

เราต้องการพื้นที่การเรียนรู้ใจกลางเมืองสำหรับทุกคน National Knowledge Center
เพื่อนเพื่อนของ 'มีนา' . ไทย

เราต้องการพื้นที่การเรียนรู้สาธารณะใจกลางเมืองสำหรับทุกคน
ชีวิตในเมืองวันนี้คุณไปไหนได้บ้าง?
          Lifestyle ทุกวันนี้ มีอยู่แค่ไม่กี่อย่าง ไปกินข้าว ดูหนัง ช็อปปิ้ง มีแต่สถานที่ที่เราต้องเสียเงินตลอดเวลา เพราะกลางเมืองเรามีแต่พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ พื้นที่ของห้างสรรพสินค้าเท่านั้น
          ถึงแม้ห้างจะเป็นสถานที่อำนวยความสะดวกที่ดีมากก็จริงแต่ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ทุกอย่างในชีวิตได้ แล้วนอกจากเดินห้าง เรายังมีตัวเลือกในการใช้ชีวิตนอกเวลางานอีกรึเปล่า?
          ยิ่งเมืองเจริญขึ้นเท่าไหร่ สิ่งก่อสร้างที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว คือ ที่ช้อปปิ้ง ทั้งที่จริงๆ แล้ว สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นคือสถานที่พัฒนาคน เราควรจะมีตัวเลือกกิจกรรมใหม่ๆ ที่ เปิดโอกาสให้ชีวิตยุคนี้มากขึ้นรึเปล่า?

โลกอนาคตผลักเราให้ต้องปรับตัวตลอดเวลา
          ลองคิดดูนะครับ ด้วยความรู้ที่คุณมีทุกวันนี้ คุณคิดว่าคุณมีโอกาสตกงานกี่เปอร์เซนต์?
          เมื่อเปิด Facebook คุณจะเห็นเลยว่าเทคโนโลยีล้ำหน้าแค่ไหน หุ่นยนต์เล่นโกะชนะมนุษย์, ไม่ต้องดูหนังหรือออกท่องเที่ยว เราก็เห็นภาพเสมือนจริงได้จาก VR, เรามีรถที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน และต่อไปก็จะมีรถที่ไร้คนขับ,กระทั่งอาชีพนักเขียนยังไม่ปลอดภัย เพราะสมองกลก็แต่งหนังสือได้แล้ว
          โลกอนาคตกำลังฆ่าปัจจุบัน และถ้าเราไม่ปรับตัว มันจะฆ่าอาชีพของเราทิ้ง เหมือนที่มันฆ่าอาชีพพนักงานพิมพ์ดีดหรืออาชีพส่งโทรเลข สิ่งเดียวที่ช่วยให้เรารอดพ้นได้คือการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แทนที่วิทยาการเดิม พื้นที่เรียนรู้สาธารณะสำหรับคนทุกช่วงวัยเป็นสิ่งจำเป็น เราไม่ได้แค่ต้องเรียนรู้เพื่อให้มีงานทำ แต่ความรู้มวลรวมของประชาชนส่งผลต่อทั้งชาติ

ประเทศไทยไม่เคยก้าวพ้นการเป็น”ประเทศกำลังพัฒนา”
         ประเทศมากมายในอเมริกาใต้และเอเชีย รวมถึงประเทศไทยกำลังติดกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap) เราพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วในช่วงแรก แต่ไม่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดไปสู่การมีรายได้สูง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี หรือไต้หวัน เพราะขาดปัจจัยด้านเทคโนโลยี เงินทุน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลายสิบปีที่ผ่านมา เราจึงเคยชินกันการเป็นประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศโลกที่ 2 แน่นอนว่ารัฐบาลรู้เรื่องนี้ดี โมเดลไทยแลนด์ 4.0 จึงเกิดขึ้น เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคใหม่ เราควรขับเคลื่อนชาติด้วยนวัตกรรม พัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

เริ่มต้นที่ทุกคนต้องเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม
          ในฐานะประชาชนคนไทย ผมก็อยากให้การเปลี่ยนแปลงที่ดีนี้เกิดขึ้นในยุคสมัยของเรา แต่ปัญหาพื้นฐานที่ประชาชนธรรมดาอย่างผมพบเจอ คือคนที่เข้าถึงการศึกษาชั้นเยี่ยมได้มีจำกัด ยิ่งต้นทุนชีวิตน้อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสียเปรียบมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย การพัฒนาตัวเองเพื่อยกระดับชีวิตก็ยากขึ้นเรื่อยๆ
          ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางความรู้ต้องเริ่มแก้ที่การศึกษา ไม่ใช่แค่ปรับปรุงคุณภาพสถาบันการศึกษาให้เท่าเทียมกัน การเรียนรู้ไม่ควรจำกัดแค่ที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เด็กหรือผู้ใหญ่ควรเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น ค้นคว้าสิ่งที่สนใจ และออกแบบการเรียนรู้ในแบบที่ตัวเองต้องการได้ มันน่าจะมีสถานที่รองรับการพัฒนาของประชาชน ไม่ใช่ห้องสมุดหรือพิพิธภัณฑ์เฉพาะด้าน แต่เป็นคลังความรู้และทักษะสาธารณะขนาดใหญ่ที่ออกแบบให้ประชาชนทุกช่วงวัยอยากเข้าไปใช้ กระตุ้นให้ทุกคนพัฒนาตนเองได้เต็มประสิทธิภาพ สถานที่นั้นคือ National Knowledge Center หรือศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ ที่ๆ เด็กและเยาวชนได้ค้นหาความถนัด ผู้ใหญ่ได้ฝึกทักษะใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถ ติดปีกให้ก้าวหน้าทางการงานหรือเปลี่ยนสายอาชีพ ครอบครัวและเพื่อนฝูงได้ใช้เวลาร่วมกันอย่างเพลิดเพลินและมีประโยชน์

เมืองที่ดีต้องส่งเสริมให้คนได้เรียนรู้
          หลายเมืองในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย หรือในฮ่องกงใช้แนวคิดออกแบบเมืองแบบ Transit-oriented development (TOD) คือพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานีขนส่งมวลชนให้มีความหลากหลาย เดินเท้าถึงกันได้สะดวก และบริเวณนั้นจำเป็นต้องมีพื้นที่สาธารณะหรือ public space ที่ออกแบบอย่างดี ให้คนใช้พื้นที่ร่วมกัน ขณะที่ในประเทศไทย รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพมหานครขยายผังออกไปเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาไม่หยุดคือคอนโดและห้างสรรพสินค้า กายภาพของเมืองขาดสมดุล เราขาดพื้นที่สาธารณะสำหรับให้ความรู้ กิจกรรมประจำวันของคนเมืองจึงไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นการกินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง ชอปปิ้ง ดังนั้นศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติจำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงสะดวก ออกแบบให้ทันสมัยลงตัว มีเนื้อหาหรือกิจกรรมตอบโจทย์ผู้คน เพื่อดึงดูดให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากทางเลือกใหม่นี้มากที่สุด
knowledge center คือเครื่องมือแก้ปัญหาและพัฒนาคนของหลายประเทศ
          ตัวอย่างของ Knowledge Center แต่ละประเทศแตกต่างกันไปตามปัญหาของพื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้ในแต่ละเมืองจึงออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาของที่นั้นๆ เช่น Knowledge Capital ที่เมือง Osaka มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคน จึงมีกิจกรรมให้ผู้รู้มาแชร์ความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือข้อมูลด้านต่างๆ กับคนทั่วไปได้ฟรี, ส่วนที่เนเธอร์แลนด์ประสบปัญหาวัยรุ่นว่างงาน จึงสร้างศูนย์ Dynamo ที่เมือง Eindhoven ให้เด็กและเยาวชนเล่นดนตรี กีฬา ทำงานศิลปะ และร่วมเวิร์กช็อปต่างๆ เพื่อหาความถนัดในสายอาชีพต่อไปในอนาคต, และที่เดนมาร์ก ประชาชนมีพฤติกรรมเฉื่อยชา สุขภาพไม่แข็งแรง จึงมีการสร้าง Ku.be หรือ House of Culture and Movement สถาปัตยกรรมที่มีทั้งเขาวงกต สไลเดอร์ ตาข่าย หน้าผา ทำให้คนที่มาร่วมเล่นกีฬา เสวนา ดูงานศิลปะ เต้น ทำกิจกรรมเวิร์กชอปหมุนเวียนต่างๆ ได้ออกกำลังกายและออกกำลังสมองไปพร้อมกัน จะเห็นได้ว่า Knowledge Center มีความแตกต่างหลากหลาย การสร้างศูนย์การเรียนรู้ในไทยจึงมีความเป็นไปได้หลายรูปแบบมาก
          กล่าวโดยสรุป การสร้าง National Knowledge Center หมายถึงการมอบเสรีภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ประชาชน เราอาจไม่สามารถเลือกโรงเรียนที่โปรดปรานที่สุด สถาบันการศึกษาที่ถูกใจที่สุดให้ตัวเองหรือคนที่เรารักได้ แต่ National Knowledge Center ใจกลางเมืองคือโอกาสที่สองของเรา และลูกหลานของเราในอนาคต
          *** "เพื่อนๆ ของมีนา" คือ ประชาชนธรรมดาที่เห็นด้วยกับแนวคิดของศูนย์การเรียนรู้ที่นำเสนอผ่านตัวละครมีนา และกลุ่มบ.ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด ที่ทำงานร่วมกับ okmd
          มีวัตถุประสงค์ เพี่ออยากให้สังคมและคนไทยได้รู้จักและเห็นความสำคัญของพื้นที่ที่เรียกว่า National Knowledge center รวมถึงผลักดันให้สังคม/ผู้มีกำลัง/ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ได้ช่วยกันสร้างให้พื้นที่แบบนี้เกิดขึ้นได้จริงในประเทศของเรา
ให้คนไทยมีพื้นที่ทางความรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของทุกคน
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://gizmodo.com/robots-are-already-replacing-human-workers-at-an-alarmi-1793718198