4 สิ่ง ถ้าทำได้ จะขายดี
1. ต้องปั้นเพจให้โต
ไม่ใช่การทำให้คนมากดไลค์เพจเยอะๆ แต่ต้องทำให้คนเห็นโพสต์เยอะๆ เมื่อมีคนเห็นโพสต์เยอะๆ จะมีผู้คนจำนวนหนึ่งที่ชอบเรื่องราวของเราแล้วกดไลค์เพจ จะทำให้เพจของเราเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับเพจที่ซื้อไลค์สร้างภาพ
เพจที่ซื้อไลค์จะได้แค่ไลค์ แต่จะไม่ได้ใจ คือจะมีแค่แฟนเพจ แต่จะไม่มีแฟนคลับ ถ้าเรามองเฟซบุ๊คออก ไม่ว่าเราจะปั้นเพจไหนก็จะโตเพจนั้น และที่สำคัญ เพจของเราจะเติบโตอย่างมีคุณภาพ และเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีคนคิดว่าเราซื้อไลค์ ทั้งๆที่เราไม่ได้ซื้อ (วันแรกก็เริ่มโตแล้ว)
ถ้าจะทำมาหากินบน Facebook อย่างเป็นเรื่องเป็นราว เราจำเป็นต้องทุ่มเทเวลาศึกษาวิธีการปั้นเพจอย่างจริงจัง นี่คือเรื่องพื้นฐานที่เราต้องทำให้ได้ เพราะถ้าเราปั้นเพจไม่เป็นก็ไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่น
2. ต้องทำให้คนรู้จัก
ถ้ายังไม่มีใครรู้จักแบรนด์ของเรา อย่าเพิ่งรีบขายอะไรทั้งสิ้น ต้องทำให้คนรู้จักมักคุ้นกับแบรนด์ของเราก่อน “แค่เห็น” กับ “รู้จัก” นั้นต่างกันมาก แบรนด์ต้องมีตัวตนที่ชัดเจน ทั้งบุคลิกและนิสัยใจคอ เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ ถ้าสร้างการรับรู้แบรนด์ไม่ได้ก็สร้างแบรนด์ไม่ได้
การทำให้ผู้คนรู้จักมักคุ้นกับแบรนด์ของเรา เป็นเรื่องของการนำส่วนประกอบต่างๆของแบรนด์ เช่น ชื่อแบรนด์, โลโก้, สี และอื่นๆ ไปไว้ในส่วนต่างๆของเพจ เพื่อให้แบรนด์มีตัวตนที่ชัดเจน ถ้าตัวตนของแบรนด์ไม่ชัด ผู้คนก็จะไม่รู้จักแบรนด์
ตัวอย่าง : หากเราตั้งชื่อเพจเป็นคีย์เวิร์ด เท่ากับว่าเพจของเราไม่มีแบรนด์ เพจของเราก็จะเป็นแค่เพจขายของธรรมดาทั่วๆไป จะไม่ใช่แบรนด์ที่น่าเชื่อถือ จะเป็นเพียงวลียาวๆรกๆ ที่เต็มไปด้วยคีย์เวิร์ดหรือคำอธิบายประโยชน์ของสินค้า
เมื่อโพสต์ของเราวิ่งผ่านตาใครก็จะไม่มีใครรู้จักว่าคือแบรนด์อะไร ถึงแม้ว่าเราจะสามารถทำให้คนเห็นโพสต์วันละเป็นหมื่นเป็นแสนหรือเป็นล้านคน ก็จะเสียเที่ยวทั้งหมด เพราะไม่มีใครรู้จักแบรนด์ แบบนี้ถือว่าไม่ได้สร้างแบรนด์
3. ต้องทำให้คนรักและไว้ใจ
ความน่าไว้ใจ เป็นสิ่งที่อยู่สูงกว่าความน่าเชื่อถือ การทำให้ผู้คนไว้วางใจ ต้องมีความน่าเชื่อถือเป็นพื้นฐาน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีสร้างความน่าเชื่อถือ แม้ว่าเราจะไม่มีเว็บไซต์ก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ เพราะมันไม่เกี่ยวกับว่าเราใช้อะไรเป็นช่องทางในการทำตลาด แต่มันเกี่ยวกับว่าเราทำยังไงกับมัน
เพื่อให้เรามีความน่าเชื่อถือ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการทำธุรกิจอย่างถูกกฎหมายและเสียภาษี (เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ใครๆก็ทำได้) เพราะถ้าแบรนด์ของเราไม่ถูกกฎหมายและไม่เสียภาษี แล้วใครที่ไหนจะมาเชื่อถือแบรนด์ของเรา เมื่อผู้คนไม่ให้ความเชื่อถือ เราก็จะไม่ได้ขาย
เมื่อแบรนด์ของเรามีความน่าเชื่อถือแล้ว ต่อไปก็เป็นการสร้างความน่าไว้ใจ ข้อนี้เป็นเรื่องพฤติกรรมของแบรนด์ล้วนๆ มันคือกุญแจไขหัวใจของผู้คน ให้เปิดรับข้อมูลจากแบรนด์ของเรา โดยแบรนด์ต้องทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคมจนเป็นนิสัย ต้องมีคุณธรรมนำการค้า (ไม่ใช่การเสแสร้ง)
แบรนด์ต้องแสดงให้ผู้คนเห็นว่าแบรนด์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (ไม่ใช่การสร้างภาพ) ต้องรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า ต้องอิน ต้องทุ่มเท โดยทั้งหมดต้องแสดงออกอย่างคงเส้นคงวา เพราะลูกค้าต้องการที่พึ่งระยะยาว แบรนด์ต้องเสนอตัวเป็นที่พึ่งระยะยาวให้กับลูกค้า จึงจะได้รับความไว้วางใจ
4. ต้องทำตัวให้มีราคา
อย่ายัดเยียดข้อมูลสินค้าจนน่ารำคาญ การทำให้ผู้คนรู้สึกไม่ดีต่อแบรนด์ถือเป็นการทำลายแบรนด์ จะทำให้ข้อมูลสินค้ากลายเป็นขยะ ไม่มีใครสนใจ อย่ามุ่งแต่ทำให้คนเห็นโพสต์เยอะๆ โดยไม่สนใจว่าคนเห็นแล้วรักหรือว่าเห็นแล้วเกลียด
อย่าขายสินค้า แต่ให้สร้างแบรนด์ แล้วขายแบรนด์ เพราะถึงแม้จะเป็นสินค้าคุณภาพสูงระดับเทพก็จะขายยาก หากเป็นแบรนด์ที่ผู้คนยังไม่รู้จักและเป็นแบรนด์ที่ผู้คนยังไม่ไว้ใจ (คนยังไม่ให้ราคา) ในขณะที่บางเพจที่ขายสินค้าแบรนด์ดังลูกค้าแย่งกันซื้อก็มี
อะไรปิดการขายให้เรา?
คำถามที่ 1 : ถ้าเรามีกระเป๋าถือที่ดูดีมีระดับอยู่สองใบ ซึ่งเหมือนกันทุกประการ ไม่มีอะไรต่างกันเลย นอกจากเป็นคนละแบรนด์กัน ใบแรกเป็นแบรนด์ที่ไม่มีใครรู้จักเลย ส่วนใบที่สองเป็นแบรนด์ดังที่ผู้คนรู้จักกันดี หากเราขายกระเป๋าถือทั้งสองใบนี้ในราคาที่เท่ากัน (เพราะเหมือนกันทุกประการ) คำถามคือคนจะซื้อกระเป๋าถือใบแรกหรือซื้อใบที่สอง?
คำถามที่ 2 : ให้คนสองคนไปสร้างเพจขึ้นมาคนละเพจ แล้วขายกระเป๋าถือแบรนด์ดัง ของแท้ และเป็นสินค้าตัวเดียวกันเลย คนแรกเป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงการกระเป๋าถือ ส่วนคนที่สองเป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก คำถามคือคนจะซื้อสินค้าตัวนี้กับใคร จะซื้อกับคนแรกหรือจะซื้อกับคนที่สอง?
คำถามที่ 3 : ให้คนสองคนขายพระเครื่องรุ่นดัง ของแท้ และเป็นองค์เดียวกันเลย คนแรกเป็นใครก็ไม่รู้ ส่วนคนที่สองเป็นเซียนพระที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีในวงการพระเครื่อง คำถามคือคนจะซื้อพระเครื่ององค์นี้กับใคร และใครจะขายพระเครื่ององค์นี้ได้ราคาสูงกว่ากัน?
จาก คำถามที่ 1 เราจะเห็นว่า สิ่งที่ปิดการขายคือแบรนด์ของสินค้า (Product Brand) ไม่ใช่ตัวสินค้า (Product)
จาก คำถามที่ 2 และ คำถามที่ 3 เราจะเห็นว่า สิ่งที่ปิดการขายคือผู้ขาย (Personal Brand) ไม่ใช่แบรนด์ของสินค้า (Product Brand) และไม่ใช่ตัวสินค้า (Product)
โดยสินค้าต้องเป็นของดีระดับเทพ เพื่อไม่ให้เสียชื่อผู้ขาย (เพื่อไม่ให้เสียแบรนด์) และเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำหรือบอกต่อ เพราะธุรกิจอยู่รอดได้ด้วยลูกค้าประจำ ไม่ใช่ลูกค้าจร ถ้ามีแต่ลูกค้าจรเราก็ต้องวิ่งหาลูกค้าใหม่ไปทั้งชีวิต
เราจะเห็นว่าสิ่งที่ปิดการขาย คือ แบรนด์ของสินค้าและขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ขาย ไม่ใช่ตัวสินค้าที่ปิดการขายให้เรา และสิ่งที่ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้นก็คือแบรนด์ของสินค้าและอยู่ที่ว่าใครเป็นผู้ขายเช่นกัน (แบรนด์ยิ่งดังราคายิ่งสูง, ผู้ขายยิ่งดังยิ่งขายได้ราคา)
จะเห็นว่าผู้ขายมีความสำคัญกว่าแบรนด์ของสินค้าและตัวสินค้าเสียอีกครับ เพราะความน่าเชื่อถือของคนจะส่งผลถึงสินค้าของเขา บางคนใส่ของแท้แต่คนตีเป็นของปลอมก็มี ในขณะที่บางคนใส่ของปลอมแต่คนตีเป็นของแท้ก็มีเช่นกันครับ (ถ้าขายตัวเองยังไม่ได้ อย่าเพิ่งขายอะไรทั้งสิ้น)
สินค้าแบรนด์ดัง ถ้าแกะโลโก้ออกไปให้หมด ให้เป็นแค่สินค้าที่ไม่มีแบรนด์ ก็จะไม่มีใครให้ราคา จะไม่มีใครอยากซื้อในราคาสูงๆ
แท้จริงแล้วผู้คนซื้อแบรนด์ เพราะต้องการความหมายในการใช้งานของแบรนด์ เพื่อบอกให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน (ฐานะ, รสนิยม ฯลฯ) และซื้อความมั่นใจจากแบรนด์ เพราะต้องการแน่ใจว่าจะไม่ผิดหวัง ส่วนประโยชน์ในการใช้สอยสินค้าโดยตรงนั้นแทบจะเป็นประเด็นรองครับ
❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️ ❤️
พบกับคอร์ส “สร้างแบรนด์บน Facebook แบบมืออาชีพ” (Professional Branding on Facebook) ครั้งต่อไป รุ่นที่ 35 วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2559 เวลา 09.00 - 17.00 น. จัดที่ The Emerald Hotel ถนนรัชดาภิเษก ค่าใช้จ่ายที่นั่งละ 15,000 บาท รับเพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น ดูรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ http://www.BRANDING.co.th
ขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาให้ความสนใจ
อลงกรณ์ ดอกดวง
Founder and CEO of BRANDING.co.th
BRANDING AND SOCIAL MEDIA MARKETING STRATEGY (THAILAND) CO., LTD.
http://www.BRANDING.co.th
❤️ ❤️ ❤️
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น