การแก้ปัญหาเชิงรุก (Proactive Problem Solving)
World Economic Forum ได้ออกรายงาน “New Vision for Education : Fostering Social and Emotional Learning Through Technology” โดยส่วนหนึ่งของรายงานได้มีการนำเสนอถึง 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับในศตวรรษที่ 21 เพื่อเตรียมพร้อมกับการก้าวเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution)
และ 1 ใน 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับในศตวรรษที่ 21 นั่นก็คือ “ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)”
ซึ่งผมก็มีโอกาสได้เข้าอบรมที่ทางบริษัทจัดเตรียมไว้ ในหัวข้อ “การแก้ปัญหาเชิงรุก (Proactive Problem Solving )” ดังนั้นผมจึงอยากจะขอแบ่งปันเรื่องราวเพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในวันข้างหน้า
สิ่งแรกที่วิทยากรกล่าวเริ่มต้นสำหรับการอบรมในครั้งนี้เลยก็คือ “ปัญหาทุกอย่างบนโลกใบนี้มีรูปแบบและวิธีการแก้ปัญหาที่เหมือนกันหมดทุกปัญหา”
ผมถึงกับคิดในใจว่าวิทยากรขี้โม้และพูดเกินจริง หากปัญหาทุกอย่างบนโลกใบนี้มีวิธีการแก้ปัญหาที่เหมือนกัน โลกใบนี้ก็คงอยู่กันอย่างสงบสุขไปนานแล้ว แต่ผมก็ไม่ได้รีบโว้ยวายออกไป
keep calm and listen… 😌
ปัญหาคืออะไร?
“ปัญหา (problem)” คือ ความแตกต่างระหว่างสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเหตุการณ์ในอุดมคติหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ความแตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่คาดไว้”
ซึ่งปัญหานั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งในด้านการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นการตัดสินใจและการแก้ไขหัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบและมีประสิทธิภาพยอมสามารถช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบแบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอนดังนี้1. ระบุปัญหา
ทำให้ทีมเห็นภาพและปัญหาเดียวกัน โดยระบุสิ่งที่เป็นปัญหา (Object) และระบุสิ่งที่เบี่ยงเบน (Defect) และที่สำคัญต้องระบุข้อเท็จจริง (Fact) เพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นปัญหาที่แท้จริงและจะเป็นสิ่งที่วัดประสิทธิผลว่าปัญหานั้นได้ถูกแก้ไข
2. แก้ไขปัญหาเบื้องต้น
เป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า โดยการแก้ปัญหาเบื้องต้นนั้นควรทำอย่างรวดเร็ว
3. วิเคราะห์สาเหตุ
คิด วิเคราะห์ และแยกแยะถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
WHO มีใครเกี่ยวข้องบ้างWHAT มีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา, อะไรคือสิ่งที่ผิดปกติWHEN ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไรWHERE ปัญหาเกิดขึ้นที่ไหนWHY ทำไมจึงเกิดปัญหาHOW ขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร, วัฎจักรเป็นอย่างไร4. แก้ไขปัญหา
ระดมสมองเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเทคนิคที่ใช้สำหรับการระดมสมองนั้นได้แก่ “Brain Storming” และ “Kawakita Jiro” ซึ่งแต่ละเทคนิคนั้นก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้ระดมสมองและหัวข้อที่กำลังระดมสมอง
5. ป้องกันการเกิดปัญหาขึ้นซ้ำ
สร้างระบบหรือออกมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ
6. ประเมินและติดตามผลการแก้ไข
ประเมินผลถึงวิธีการที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา ว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้จริง
นอกจากนี้ก็ยังมีการนำ “Six Thinking Hats หรือ การคิดแบบหมวก 6 ใบ” มาใช้ในการแก้ปัญหาอีกด้วย และเท่าที่ผมค้นหาจากอินเทอร์เน็ตการแก้ปัญหาก็ยังมีอีกหลากหลายแนวคิด แต่สุดท้ายแล้ว การแก้ปัญหาก็เพื่อขจัดหรือกำจัดอุปสรรคที่ขวางกันไม่ให้บรรลุเป้าหมาย
ThinkingProblem SolvingTeam Building
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น