วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Industry 4.0

Industry 4.0

Industry 4.0 เป็น trend ใหม่ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยถูกกล่าวว่าเป็นเสมือนการปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ต่อจากการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ เมื่อปี ค.ศ. 1784 โรงงานผลิตแบบ mass production เมื่อปี ค.ศ. 1870 และเครื่องใช้ไฟฟ้าและ IT เมื่อปี ค.ศ. 1969

จุดเด่น คือ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรและระบบ ในลักษณะ industrial automation เพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภครายบุคคล แต่ยังรักษาประสิทธิภาพการผลิตที่สูงในระดับเดียวกับการผลิตแบบ mass production อาทิ การผลิต individual products ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีการพิมพ์ 3D การพัฒนาระบบ smart grid การแพทย์สาขา telemedicine

ทุกภาคส่วนในเยอรมนีเชื่อว่า Industry 4.0 จะเป็นโอกาสที่สำคัญ เนื่องจากแม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นผู้ครองตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้ารายสำคัญ แต่เยอรมนีก็มีจุดแข็งในเรื่องระบบควบคุมการผลิตและเทคโนโลยีด้าน software สมาคมที่เกี่ยวข้องของเยอรมนี อาทิ สมาคมเทคโนโลยีไฟฟ้าและสารนิเทศ (VDE) สมาคมเครื่องจักรกล (VDMA) สมาคมช่างไฟฟ้า (ZVEI) และสมาคมด้าน ICT (Bitkom) ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างสาขาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะเกาหลีใต้ กำลังให้ความสนใจและมีโครงการวิจัยที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งในระยะต่อไป อาจนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและต้นทุนการผลิตในแต่ละประเทศ

ประเด็นท้าทายที่สำคัญการสร้างบุคลากรรองรับ โดยเฉพาะสาขา mechanical engineering และ electrotechnology ควบคู่กับการเสริมสร้างทักษะ programming และ software ตลอดจนเรื่องการวางแผน การควบคุมงาน และการมีความคิดสร้างสรรค์ความมั่นคง ทั้งในส่วนของเสถียรภาพ และการรักษาความลับ รวมถึงเรื่อง IPR การโจรกรรมข้อมูล ฯลฯการพัฒนามาตรฐานระหว่างประเทศ
การเตรียมพร้อมของเยอรมนีการหารือนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ โดยเน้น R&D และนวัตกรรม รวมถึงการบูรณาการองค์ความรู้การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ภาครัฐ ภาคอุสาหกรรม ภาควิชาการและการวิจัย และสหภาพแรงงานการพัฒนาความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงทางข้อมูล ภายในประเทศและระหว่างประเทศการก่อตั้งสถาบันและเครือข่ายวิจัยทั่วประเทศ อาทิ German Research Center for Artificial Intelligence เครือข่าย Intelligent Technical Systems OstWestfalenLippe (OWL) ศูนย์จำลอง Smart Factory ของมหาวิทยาลัย Kaiserslautern รวมทั้งมีหลักสูตรใหม่ ๆ อาทิ หลักสูตร Applied Automation มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งกรุงเบอร์ลิน หลักสูตร Human/Computer Systems มหาวิทยาลัย Würzburg หลักสูตร Computer-Aided Medical Procedures & Augmented Reality มหาวิทยาลัยเทคนิคนครมิวนิก หลักสูตร Virtual Reality and Augmented Reality มหาวิทยาลัย Koblenz-Landua หลักสูตร Intelligent Media and Virtual Reality มหาวิทยาลัยเทคนิค Chemnitz หลักสูตร Network Computing มหาวิทยาลัย Freiberg

อนึ่ง ปรากฏข้อวิจารณ์ในสื่อเกี่ยวกับการใช้คำว่า "การปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution)" เนื่องจากเทคโนโลยีของ Industry 4.0 ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ที่น่าสนใจคือการผสมผสานเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบรับความต้องการของตลาด นัยหนึ่งจึงอาจจะมิใช่นวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับการปฏิรูปอุตสากรรม 3 ครั้งก่อน 

อย่างไรก็ดี เข้าใจว่า เยอรมนีคงพยายามแสดงจุดยืน ในฐานะประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อรักษาและส่งเสริมสถานภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งในระดับ EU ที่มีข้อกังวลว่า GDP ภาคอุตสาหกรรม ได้ลดลงจากร้อยละ 18.5 เมื่อปี 2543 เหลือร้อยละ 15.2 ในปี 2555 โดยคำนึงว่า ปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังมุ่งส่งเสริม re-industrialization เช่นกัน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
กันยายน 2557

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Industry 4.0 ของบริษัท BMW

BMW ได้ทำการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อรองรับ Industry 4.0 ทั้งการพัฒนาในองค์กรคือระบบ Dual system และการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์การทำงานของเครื่องจักรให้สอดคล้องและสนับสนุนกับศักยภาพของมนุษย์ในโรงงานอุตสาหรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการประหยัดพลังงานอย่างสูงสุด รวมทั้งตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลในการผลิตสินค้าจำนวนมากในโรงงาน

ตัวอย่างโครงการที่นำเทคโนโลยี Industry 4.0 มาใช้ในปัจจุบัน ได้แก่1. การใช้หุ่นยนต์ในโรงงานผลิต

แม้ว่าว่าการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์จะเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แต่หุ่นยนต์ที่ BMW ได้พัฒนาผลิตขึ้นล่าสุด และให้ชื่อเล่นว่า โอลาฟ (Olaf ) นี้ มีความพิเศษต่างจากหุ่นยนต์ที่มีอยู่ทั่วไป กล่าวคือ ที่ผ่านมาการใช้การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการผลิตระบบอุตสาหกรรมในสหพันธ์ฯ มีข้อกำหนดในส่วนของความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการกำหนดระยะห่างในระหว่างการผลิตระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ จึงทำให้เป็นข้อจำกัดและเพิ่มขั้นตอนในการทำงาน รวมทั้งเสียพื้นที่ใช้สอย นอกจากนี้ BMW ยังเล็งเห็นจุดสำคัญที่จะนำสมรรถภาพของหุ่นยนต์มาสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การยกของหนัก การทำงานที่ทำบั่นทอนสุขภาพในระยะยาว เช่น การก้มหรือเอี้ยวตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น จึงเป็นการผลักดันให้คิดค้นผลิตหุ่นยนต์ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว ตลอดจนสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลิตหุ่นยนต์ โอลาฟ ที่สามารถติดตั้งและทำงานร่วมกับมนุษย์ได้โดยไม่ต้องมีระยะห่างได้สำเร็จ ทั้งนี้ กฏหมายสหพันธ์ฯ ยังมีข้อจำกัดในระหว่างการทดลองโครงการ BMW จึงผลิตและทดลองใช้หุ่นยนต์ดังกล่าวครั้งแรกในโรงงาน Spartanburg สหรัฐอเมริกา

ที่มาภาพ: http://www.vdi-nachrichten.com/Technik-Wirtschaft/Roboter-geht-Werker-Hand

ปัจจุบัน BMW สามารถนำหุ่นยนต์ โอลาฟ มาใช้ในโรงงาน ในการทำฉนวนกันความชื้นด้านในประตูรถยนต์ ซึ่งต้องใช้แรงกดที่สม่ำเสมอที่เกินประสิทธิภาพของมนุษย์และทำงานร่วมกันมนุษย์ไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบัน BMW ใช้หุ่นยนต์ดังกล่าวที่โรงงานดิงโกลฟิง (Dingolfing) จำนวน 4 ตัว และที่สตุทการ์ท (Stuttgart) 2 ตัว และจะเพิ่มจำนวนอีก 2 ตัวที่โรงงานดิงโกลฟิง Dingolfing ในเร็วๆ นี้

2. Carsharing (DriveNow)

เป็นโครงการรถเช่าที่สนับสนุนการใช้รถยนต์เฉพาะกิจในเมืองใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว โดยใช้รถ MINI ซึ่งอยู่ในเครือของ BMW เป็นส่วนใหญ่ กติกาการใช้รถยนต์ในโครงการคือ ผู้ที่จะใช้บริการรถยนต์ในโครงการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกโดยเสียค่าธรรมเนียม 29 ยูโร จากนั้นจะได้รับการ์ดที่สามารถดาวน์โหลด application เพื่อการจองรถยนต์ที่ใกล้ที่สุดและตรวจจุดจอดรถยนต์ที่ว่างพร้อมให้เช่าได้ อัตราการเช่ารถปัจจุบันอยู่ที่ 31-34 ยูโรเซ็นต์ต่อนาที และค่าที่จอดรถ 15 ยูโรเซ็นต์ต่อนาที ขึ้นอยู่กับประเภทของรถยนต์ (ราคานี้รวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง บัตรที่จอดรถ ประกันอุบัติเหตุและภาษี) หรือสามารถเหมาจ่ายเป็นวันได้ ผู้ใช้สามารถจอดรถยนต์หลังจากเสร็จภารกิจไว้ที่ในอนุญาตให้รถที่ใดก็ได้ นอกจากนี้ยังมีนำรถพลังงานไฟฟ้า มาใช้ในโครงการอีกด้วย

01/28/2015

ไม่มีความคิดเห็น: