ทองคำเปลว ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งศาสนา และศิลปวัฒนธรรมของไทย อันแฝงไว้ด้วยคุณค่าทางจิตใจ และธำรงไว้ซึ่งศรัทธาตามวิถีของคนไทย จนถึงขณะนี้แม้จะยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่ามีการใช้ทองคำเปลวเพื่อเป็นเครื่องสักการะทางศาสนาตั้งแต่เมื่อใด แต่ทว่าการใช้ทองคำเปลวในงาน วิจิตรศิลป์ มีหลักฐานว่าใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ซึ่งศิลปะนี้เดิมใช้เฉพาะในชนชั้นระดับสูง เช่น พระมหากษัตริย์ และในงานทางพุทธศาสนา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีช่างทองหลวงกลุ่มหนึ่ง นำความรู้เรื่องการตีทอง ทำทองคำเปลวจากในวัง มาทำเป็นอาชีพในย่านบ้านช่างทอง หรือบริเวณถนนตีทอง ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จากนั้นไม่นาน ความรู้ในการผลิตทองคำเปลว ได้ถูกถ่ายทอดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ย่านนี้เป็นแหล่งที่รวบรวม ผู้ผลิตทองคำเปลวมากมาย โดยบนถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดบำรุงเมือง ก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนน ด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการผลิตทองคำเปลวบนถนนตีทองอีกต่อไป แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีลูกหลานช่างทองคำเปลวบางส่วนที่ย้ายออกมาจากถนนตีทอง แล้วออกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในที่ต่าง ๆ เนื่องจากความต้องการทองคำเปลวในกิจกรรมพุทธศาสนายังคงมีอยู่ รวมทั้งมีการใช้ทองคำเปลวในกิจกรรมใหม่ ๆ เช่น การตกแต่งบ้าน ตกแต่งอาหาร และงานศิลปะ โดยปัจจุบันทองคำเปลวมีการผลิตอยู่ 2 ขนาด คือ “ทองจิ้ม” ทองคำเปลวขนาด 1.5x1.5 ซม. ราคาส่งแผ่นละ 1 บาท แต่เมื่อผ่านพ่อค้าคนกลางส่งถึงร้านต่าง ๆ 2-3 เท่าตัว ส่วนขนาด 4x4 ซม. หรือที่เรียกว่า “ทองเต็ม” ราคาประมาณ 5-7 บาท
ในการผลิตทองคำเปลว แม้เวลาจะเลยผ่านมากี่ร้อยพันปี กระบวนการผลิตก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และยังคงอาศัยความประณีต และพิถีพิถันในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การเลือกซื้อทองคำแท่งที่มีเปอร์เซ็นต์ทองไม่ต่ำกว่าร้อยละ 96.5-99.99 จากนั้นจะนำทองไปรีดให้เป็นแผ่นบางเท่ากับกระดาษ พับให้ได้หลายทบ และนำมาตัดให้เป็น “ทองรอน” หรือแผ่นทองคำขนาด 1x1 ซม. ซึ่งทองคำน้ำหนัก 1 บาทเมื่อนำมาตัดขนาดดังกล่าว จะได้แผ่นทองจำนวน 720 แผ่น โดยทองรอนเหล่านี้จะถูกนำไปใส่กูบ หรือกระดาษแก้ว ขนาด 4x4 นิ้ว ที่ผ่านการขจัดเศษผงออกมาหมดแล้ว และลูบด้วยแป้งหินเนื้อละเอียดมีน้ำหนัก เพื่อมิให้ทองติดแผ่นกระดาษแก้ว
อ่านต่อ.
http://www.goldtraders.or.th/ArticleView.aspx?gp=2&id=868
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น