กฎสามเสา.. บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจด้วยแนวทางเชื่อมโยงสามประสาน
.... 1. การตลาดหาลูกค้า.. 2. การผลิตมีสินค้าไว้ขาย 3. การเงินหมุนเวียนรอบด้านและหากำไร
ดร. ภาณุสฤษฏิ์ บุญคำ
สอนออกแบบและผลิตเครื่องประดับอัญมณี 3d cad,091-8078228 k,san(สันต์) sanaw588@yahoo.com ,ID:gemsara เมื่อ2004 ตั้งแต่5-15ปีที่ผ่าน เทคนิคการผลิตฝังพลอยในเทียนที่มีบทบาทในการแข่งขันในโอกาสทางธุรกิจ..ช่วยลดต้นทุนเวลา..ต้นทุนคน..ต้นทุนเครื่องมือ..จากประสบการณ์กว่า19,000 พิมพ์ หรือออเดอร์กว่า80ล้านเม็ด..การเรียนรู้ด้านเทคนิค ทั้ง3ด้าน 1.ด้านการออกแบบโครงสร้างและแม่พิมพ์ 2.ด้านกระบวนการผลิต 3.ด้านการบริหารจัดการระบบ (Gems and Gemology and Graphic design of school) หรือ GGG ภาณุสฤษฏิ์ บุญคำ
กฎสามเสา.. บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจด้วยแนวทางเชื่อมโยงสามประสาน
.... 1. การตลาดหาลูกค้า.. 2. การผลิตมีสินค้าไว้ขาย 3. การเงินหมุนเวียนรอบด้านและหากำไร
ดร. ภาณุสฤษฏิ์ บุญคำ
ปธ.สนช.แจ้งรับทราบมติครม .อัญเชิญ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ” ขึ้นทรงราชย์ – สนช.พร้อมใจเปล่งเสียง “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ”
เมื่อเวลา 11.19 น. วันที่ 29 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 76/2559 เป็นพิเศษ ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธานการประชุม ได้มีวาระการพิจารณาเรื่อง การดำเนินการตามมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ประกอบกับมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มีผู้เข้าร่วมประชุม 243 คน จาก 250 คน ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม โดยนายพรเพชร แจ้งต่อที่ประชุมว่า ตามที่มีประกาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต
บัดนี้นายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร.0503/44549 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน เรื่อง แจ้งเรื่องการสถาปนาแต่งพระรัชทายาทไว้แล้วตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 แจ้งว่า บัดนี้ราชบัลลังก์ว่างลง และพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระรัชทายาท ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงขอแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ แล้วให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อทราบ แล้วให้ประธานรัฐสภาอันเชิญองค์พระรัชทายาท ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แจกแก่สมาชิกในห้องประชุม ตามที่ประชุมสนช.ทำหน้าที่รัฐสภา ได้รับทราบการแจ้งมติครม.แล้ว ขั้นตอนต่อไป ตนจะได้นำความกราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประชาชนไทยสืบไป ตามมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ประกอบกับมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
“ในโอกาสอันเป็นมหามงคล ผมขอให้สมาชิกทุกท่านโปรดยืนขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลใหม่” นายพรเพชรกล่าวให้สมาชิกสนช.ถวายพระพรพร้อมกัน จากนั้น สมาชิกสนช.พร้อมใจกันเปล่งเสียงว่า “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ” จากนั้นนายพรเพชรสั่งปิดการประชุมเวลา 11.25 น.
ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญปี 2557 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ระบุหมวดสองเรื่องพระมหากษัตริย์ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี2550 หมวด 2 ใน มาตรา 23 คือ กรณีที่ราชบัลลังก์หาว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้วให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ จากนั้นจะให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
สนช. ประกาศอัญเชิญองค์รัชทายาท ขึ้นทรงราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เเห่งราชอาณาจักรไทย รัชกาลที่ 10
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 เวลา 11.19 น. ที่ประชุม สนช. รับทราบถึงมติของ ครม. ในวาระการแจ้งการสถาปนาองค์รัชทายาทขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ก่อนหน้านี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้แต่งตั้ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นองค์รัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลแล้วนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2515
สนช. จึงได้ประกาศอัญเชิญองค์รัชทายาทขึ้นทรงครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของราชอาณาจักรไทย รัชกาลที่ 10 สืบไป สมาชิก สนช. ทั้งหมดได้ยืนขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม พร้อมถวายพระพรชัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ โดยพร้อมเพรียงกัน ในเวลา 11.23 น. ว่า “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ” ก่อนปิดการประชุม
ในสหรัฐอเมริกาโลหะสีขาวอย่าง เงิน ทองขาว และแพลทินัมได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา อันเป็นผลจากกระแสแฟชั่นและการสวมใส่ของเหล่าคนดังบนพรมแดง รวมไปถึงการโฆษณาโดย Platinum Guild International โฆษณาของ Diamond Trading Company โฆษณาทางโทรทัศน์ที่ฉายไปทั่วประเทศจากร้านค้าเครือข่ายขนาดใหญ่ และโฆษณาอันชวนดึงดูดทางสื่อสิ่งพิมพ์จากแบรนด์นักออกแบบเครื่องประดับชั้นสูง
หากทว่าการเติบโตนี้เดินทางมาพร้อมกับภาระความรับผิดชอบของผู้ขายเครื่องประดับด้วย ในฐานะผู้ค้าปลีกจะต้องรับผิดชอบ หรือแม้กระทั่งมีพันธะผูกพันต่อการเปิดเผยข้อมูลว่า เครื่องประดับทองขาวบางชิ้นหรือทุกชิ้นที่ขายนั้น ชุบด้วยโรเดียมหรือไม่ รวมถึงเตรียมรับมือเมื่อลูกค้าคืนสินค้าทองขาวที่วัสดุชุบหลุดลอกออกและเผยให้เห็นทองผสมสีออกเทาหรือน้ำตาลที่อยู่ภายใน
กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเปิดเผยว่าสินค้าผ่านการชุบโรเดียม หากแต่เป็นเรื่องของสิ่งที่ควรทำโดยเฉพาะเมื่อสินค้านั้นมีแนวโน้มที่จะต้องนำมาชุบใหม่เมื่อใช้ไปนานๆ (โดยเฉพาะสินค้าประเภท กำไลและแหวน) ผู้ขายเครื่องประดับบางรายอาจมองว่าการร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับเครื่องประดับที่วัสดุชุบหลุดลอกเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าได้หนทางหนึ่ง ด้วยการเสนอบริการ “ชุบใหม่” สำหรับสินค้าที่เป็นปัญหานั้น สิ่งนี้ฟังดูดีในเชิงทฤษฎี แต่ด้วยเหตุผลใดจึงต้องรอให้เกิดปัญหาหรือข้อร้องเรียนขึ้นก่อน เพราะลูกค้าที่ผิดหวังจำนวนมากอาจไม่ยอมกลับมาที่ร้านอีกเลยก็ได้ การชุบใหม่อาจมีความจำเป็น แต่ไม่ใช่ยาวิเศษที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง วิธีที่ดีกว่าคือการหลีกเลี่ยงปัญหาเสียตั้งแต่แรก แทนที่จะสร้างความผิดหวังให้ลูกค้า
วิธีการง่ายๆ ที่สามารถทำได้คือ การซื้อเครื่องประดับทองขาวชั้นดีที่ไม่ผ่านการชุบ ซึ่งมีส่วนผสมของแพลเลเดียม โรเดียม และโลหะสีขาวอื่นๆ เป็นสัดส่วนสูง ซึ่งจะช่วยให้ประกาย “สีขาว” มีมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ทำได้และควรทำคือ การตั้งราคาเพิ่มขึ้นอีกระดับสำหรับสินค้ากลุ่มนี้ โดยอธิบายว่า ชิ้นงานไม่ได้มีแค่เนื้อทอง 14 หรือ 18 กะรัตอยู่เท่านั้น แต่ยังผสมโลหะมีค่าอื่นๆ ด้วย คุณจะสร้างเสริมชื่อเสียงได้ด้วยการบอกลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา และอธิบายว่าทำไมจึงเลือกขายทองขาวที่มีค่าสูงกว่าโดยปกติทั่วไป
ต่างหูและสร้อยคอซึ่งมักใส่น้อยครั้งกว่า อาจไม่ต้องชุบโรเดียม แต่ก็ต้องไม่ลืมขอให้ผู้ผลิตระบุความหนาของวัสดุชุบ เพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุชุบมีความหนาเพียงพอที่จะไม่หลุดลอกเมื่อใช้งานตามปกติ (ความหนาที่เหมาะสมที่สุดคือ 3 หรือ 4 ไมครอนสำหรับเครื่องประดับที่รับแรงเสียดทานตํ่า วัสดุชุบอาจหลุดลอกเร็วขึ้นถ้าชุบมาไม่หนาพอ หรือผิวลูกค้ามีความเป็นกรดหรือมีเกลือมาก) เรื่องนี้เป็นคุณสมบัติทั่วไป แต่มักไม่มีใครถาม ในการทำสัญญาซื้อ คุณควรกำหนดให้ผู้ผลิตรับเปลี่ยนสินค้าใหม่หากมีเครื่องประดับชิ้นใดที่ไม่สามารถคงความขาวเอาไว้ได้ โดยระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้ผู้ผลิตรับผิดชอบค่าใช้จ่าย วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีสิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย ไม่เพียงเฉพาะสำหรับตัวคุณเอง แต่ในฐานะผู้ปกป้องผลประโยชน์ให้ลูกค้าด้วย
เมื่อซื้อสินค้าทองขาว ผู้จัดซื้อควรมีตู้เปรียบเทียบสีซึ่งมีการควบคุมแหล่งกำเนิดแสงให้ตรงกับที่ผู้ผลิตใช้ เพื่อที่ว่าจะได้กำหนด และตกลงระดับความขาวกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเครื่องประดับทองขาวที่ไม่ผ่านการชุบ เพื่อความสอดคล้องกัน คุณสมบัติที่กำหนดนั้นควรเป็นไปตามมาตรฐานสี ซึ่งพัฒนาโดยอุตสาหกรรมพลาสติก (ไม่ใช่แผ่นตัวอย่างสี) มาตรฐานสีสำหรับเว็บ หรือมาตรฐานหมึก Pantone
การเปิดเผยข้อมูลการชุบไม่จำเป็นต้องกลายเป็นอุปสรรค คุณควรให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เพื่อที่พนักงานจะได้สื่อสารเรื่องนี้กับลูกค้าอย่างสบายใจและมั่นใจ คุณอาจให้บัตรข้อมูลที่ออกแบบมาอย่างสวยงามไปพร้อมกับเครื่องประดับแต่ละชิ้น โดยเป็นการอธิบายกระบวนการผลิต เหตุผลที่การชุบใหม่อาจจำเป็นในอนาคต และขอบเขตการรับประกัน ที่สำคัญต้องแน่ใจว่าสินค้าชิ้นนั้นนำมาชุบใหม่ได้ง่าย ถ้าไม่เช่นนั้นอาจต้องทบทวนให้ดีเสียก่อนว่าจะขายสินค้าชิ้นนั้นดีหรือไม่
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องประดับของสหรัฐฯ ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดมาตรฐานสำหรับทองขาว อย่างไรก็ตาม Manufacturing Jewelers and Suppliers of America ได้กำหนดมาตรฐานไว้ โดยเป็นการปฏิบัติตามความสมัครใจ ในฐานะผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม เราควรเปิดรับการสร้างมาตรฐานที่สูงยิ่งขึ้น รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด และการตรวจสอบตนเองอย่างแข็งขัน เพื่อที่ว่าเครื่องประดับทองคุณภาพต่ำ และชุบเพียงบางๆ นั้น จะได้ไม่เข้ามาสู่ตลาด อันจะนำไปสู่ความสับสน ความผิดหวัง และ ความไม่พึงพอใจของผู้บริโภค ในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ซึ่งเราต้องต่อสู้หนักยิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อเรียกเงินจากกระเป๋าลูกค้านั้น วิธีการที่ผู้ขายดูแลการซื้อขายเครื่องประดับทองขาวนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จที่จะได้รับจากผู้ซื้อเครื่องประดับในอนาคต ถ้าเราไม่กำหนดและยึดถือมาตรฐานที่สูงยิ่งขึ้นในการผลิตและการขายทองขาว ผู้ควบคุมจากภายนอกก็อาจเข้ามากำหนดและบังคับใช้มาตรฐาน ซึ่งเราในฐานะภาคอุตสาหกรรมอาจพบว่าเป็นภาระหนักและสร้างค่าใช้จ่ายสูงก็เป็นได้
ความขาว
ประเภทของแสงส่งผลอย่างมากต่อการมองเห็นสีขาว กระดาษสีขาวอาจดูเหมือนมีสีขาวอมเขียวเมื่ออยู่ใต้แสงฟลูออเรสเซนต์ มีสีขาวซีดเมื่ออยู่ใต้แสงจากหลอดมีไส้ (Incandescent Light) และมีสีขาวอมชมพูโทนอุ่นเมื่ออยู่ใต้แสงอาทิตย์ยามบ่าย นอกจากนี้ เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยในจอตาของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ทำให้ระดับความขาวที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ขอบคุณภาพจาก : www.moissaniteco.com / www.pantip.com
"สรรพากร" ระบุทุจริตภาษี 1 ล้านเข้าข่ายฟอกเงิน
ณ วันที่ 29/04/2559
"สรรพากร" ระบุ วงเงินผู้กระทำผิดทางภาษีตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป จะถือว่าเข้าข่ายความผิดกฎหมายอาญาและกฎหมายฟอกเงิน ย้ำมีอำนาจอายัดทรัพย์สินได้
นายอัครพล ทาแก้ว นิติกรชำนาญการ กรมสรรพากร กล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากร มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นการชั่วคราว สำหรับการกระทำความผิดอาญาฐานหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษี ในทำนองเดียวกันกับการยึด หรืออายัดทรัพย์สิน สำหรับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน จะทำให้ผู้ที่กระทำผิดทางภาษีตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เข้าข่ายความผิดอาญา และกฎหมายฟอกเงิน
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อรองรับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของ Financial Action Task Force (FATF) ซึ่งไทยจะรับการประเมินดังกล่าวในปีนี้
โดยข้อแนะนำของ FATF ได้เสนอให้กำหนดอาชญากรรมเกี่ยวกับภาษี (Tax Crimes Related to Direct Taxes and Indirect Taxes) เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องปรามการฟอกเงินและการทำลายระบบภาษีที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศยิ่งขึ้น ตลอดจนเพิ่มความโปร่งใสโดยรวมให้แก่การทำธุรกรรมในประเทศไทย
“ตามปกติแล้วการหลีกเลี่ยงภาษี การขอคืนภาษีอันเป็นเท็จ และการใช้ใบกำกับภาษีปลอม ถือเป็นความผิดอาญาตามประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายของ Financial Action Task Force (FATF) ที่กำหนดให้อาชญากรรม ภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับ ภาษีทางตรง และ ภาษีทางอ้อม (Tax Crimes Related to Direct Taxes and Indirect Taxes) เป็นความผิดตามมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน”
ในร่างแก้ไขประมวลรัษฎากรดังกล่าว จะกำหนดวงเงินการกระทำความผิด ที่เข้าข่ายตามร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ คือ เป็นการกระทำทำนองเดียวกับการฟอกเงิน คือ
1.การหลีกเลี่ยงภาษี โดยการกระทำให้รายได้น้อยกว่าปกติ เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง ซึ่งกรณีนี้ หากมียอดสะสมของการหลีกเลี่ยงภาษีตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายนี้
2.กรณีการขอคืนภาษีอันเป็นเท็จตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ถือว่าเข้าข่ายตามกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งกรณีการขอคืนภาษีอันเท็จ กำหนดวงเงินความผิดค่อนข้างต่ำ เพราะถือเป็นการล้วงเงินในกระเป๋าจากรัฐโดยตรง ซึ่งที่ผ่านมากรมสรรพากร เคยมีกรณีการขอคืนภาษีอันเป็นเท็จ สร้างความเสียหายให้แก่รัฐไปกว่า 4 พันล้านบาท
3.กรณีการออกใบกำกับภาษีปลอม โดยมีวงเงินรวมในใบกำกับภาษีปลอม ที่นำไปใช้เพื่อทำให้เสียภาษีน้อยลง ตั้งแต่ 15 ล้านบาท เข้าข่ายตามร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้
“ร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จะให้อำนาจอธิบดีอายัดทรัพย์ เป็นการชั่วคราว เพื่อตรวจสอบความผิด แต่การที่เจ้าหน้าที่จะระบุความผิดของผู้กระทำความผิดนั้น จะต้องมีหลักฐาน โดยระยะเวลาในการตรวจสอบจะอยู่ที่ 90 วัน”เขากล่าวและว่า ร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของกฤษฎาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ขอบคุณที่มา : กรุงเทพธุรกิจ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/696131?view=desktop
ปัจจุบันแม้ราคาทองคำในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นเพียงใด ทว่าทองคำก็ยังคงมีคุณค่าในตัวเองที่ใครๆ ต่างก็ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของ เพราะนอกจากทองคำจะเป็นโลหะธาตุมูลค่าสูงซึ่งถูกใช้เป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุน เนื่องด้วยไม่เสื่อมค่าและมีสภาพคล่องสูง เป็นที่ยอมรับในระดับสากลจึงใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประเทศแล้ว ทองคำยังถือว่าเป็นวัตถุที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว มีสีเหลืองสว่างสดใสและมีความสุกปลั่งเป็นประกายสวยงามสะดุดตา เนื้อทองคำมีความยืดหยุ่นและเหนียวคงทน จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้ทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยเหตุนี้ผู้คนทั่วโลกจึงยังนิยมซื้อทองคำหรือเครื่องประดับทองเฉกเช่น ค่านิยมในอดีต โดยเฉพาะชาวเอเชียที่ให้ความสำคัญต่อการสวมใส่เครื่องประดับทองรูปพรรณ ดังที่ยึดถือกันมาตามขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม โดยมักใช้ในพิธีหมั้นหรือแต่งงาน ซึ่งแทนค่าสินสอดในการขอแต่งงาน หรือใช้เป็นของขวัญให้แก่กันและกันในโอกาสหรือช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ ขณะเดียวกันการสวมใส่เครื่องประดับทองของ ผู้คนในปัจจุบันนอกจากในแง่คุณค่าทางจิตใจและความสวยงามแล้ว ยังเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงฐานะทางสังคมหรือความทันสมัยตามกระแสแฟชั่น อีกทั้งเครื่องประดับทองยังมีบทบาทเป็นสินทรัพย์สะสมความมั่นคงที่เหมาะแก่การลงทุนด้วยเช่นกัน
เครื่องประดับทองอันทรงคุณค่าตามวิถีไทย
ในประเทศไทยนั้น การนำทองคำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับเฟื่องฟูมาตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัยต่อเนื่องไปยังสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแรกเริ่มเป็นการผลิตเพื่อใช้ในระดับกษัตริย์ ราชวงศ์ ขุนนางชั้นสูงต่างๆ ด้วยยังมีกฎระเบียบแบบแผนในการสวมใส่เครื่องประดับ และห้ามมิให้สามัญชนทั่วไปมีเครื่องประดับได้ จนกระทั่งในช่วงกลางยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเปิดกว้างให้ชาวต่างชาติ ทั้งจากยุโรปและจีนเดินทางเข้ามาค้าขายสินค้ากันอย่างคึกคัก รวมไปถึงช่างทองชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบกิจการและอาศัยอยู่ในไทยด้วย ทำให้การใช้เครื่องประดับมิได้จำกัดเช่นแต่ก่อน จึงมีการผลิตและการสวมใส่เครื่องประดับกันอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
จากทองคำที่มีสถานภาพเป็นเพียงแร่ธาตุหายากชนิดหนึ่ง ได้รับการหล่อหลอมสลักเสลาเกลากลึง ตัดต่อสร้างสรรค์ให้สามารถอวดความงามได้ในรูปของเครื่องประดับอันประณีตอ่อนช้อย โดยอาศัยภูมิปัญญาอันชาญฉลาด ผ่านการสั่งสมประสบการณ์และทักษะฝีมือความชำนาญทางเชิงช่าง จนกลายเป็นรากฐานทาง ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ และเป็นมรดกทางหัตถศิลป์อันทรงคุณค่าที่เฟื่องฟู และสืบทอดมาอย่างยาวนานในหลายยุคสมัยของไทยจวบจนปัจจุบัน ส่งผลให้การรังสรรค์เครื่องประดับทองของไทยในยุคสมัยนี้ถือได้ว่ามีเอกลักษณ์โดดเด่นด้วยฝีมือเชิงศิลป์ที่วิจิตรงดงาม ซึ่งถ่ายทอดเทคนิคการผลิตมาจากบรรพบุรุษในท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น รวมถึงต่อยอดองค์ความรู้ดั้งเดิมควบคู่ไปกับการประยุกต์พัฒนางานฝีมือ ผสมผสานรูปแบบโบราณและร่วมสมัยได้อย่างกลมกลืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชิ้นงาน และสืบสานอนุรักษ์งานหัตถศิลป์ให้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ต่อเนื่องจากความรุ่งเรืองในอดีต
ปัจจุบันเครื่องประดับทองที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้น แบ่งออกได้เป็นทองรูปพรรณหรือที่เรียกว่า ทองตู้แดง ซึ่งทำด้วยทองที่มีค่าความบริสุทธ์ 96.50% (23.16 กะรัต) ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานตามความนิยมของคนไทย เครื่องประดับทอง 18 กะรัต หรือมีเนื้อทองอยู่ 75% ซึ่งมักตกแต่งอัญมณีร่วมด้วย และเครื่องประดับทองอีกหนึ่งประเภทที่เปรียบเป็นดั่งงานศิลป์ชั้นสูงที่สวมใส่ได้ ซึ่งนับวันทรงคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ เครื่องประดับทองโบราณ ที่ทำด้วยทองคำ 99.99% (24 กะรัต) ซึ่งเครื่องประดับทองโบราณนั้นมิได้มีความหมายถึงเครื่องประดับล้าสมัยเก่าครํ่าครึ หากแต่หมายถึงกลิ่นอายของวัฒนธรรมงานศิลป์ฝีมือช่างขั้นสูงที่ส่งผ่านลงไปยังชิ้นงานด้วยกรรมวิธีการผลิตที่พิถีพิถัน และเทคนิคการสร้างลวดลายรังสรรค์งานที่ต้องอาศัยทักษะฝีมือช่างที่เชี่ยวชาญ อันมิอาจนำเครื่องจักรอัตโนมัติใดมาทดแทนได้
หากจะเอ่ยถึงเครื่องประดับทองโบราณอันลือชื่อของไทยที่นับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า คงต้องกล่าวถึง “เครื่องประดับ ทองสุโขทัย” ซึ่งมีลักษณะพิเศษจากกระบวนการผลิตด้วยมือทั้งหมด และใช้วัตถุดิบทองคำที่มีค่าความบริสุทธิ์สูงถึง 99.99 % ด้วยเทคนิคการผลิตที่ได้จากการศึกษาและฟื้นฟูกรรมวิธีการถักทองของคนโบราณในยุคสมัยสุโขทัยขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาและผสมผสานแนวคิดสร้างสรรค์สู่การประดิษฐ์รูปแบบใหม่ๆ จนกลายเป็นขึ้นงานเครื่องประดับที่มีคุณค่าแฝงเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ค่อนข้างชัดเจน ทั้งจากลวดลายหรือการออกแบบ เช่น ลักษณะการถักเส้นทอง การทำลูกประคำ การฉลุลายบนชิ้นงาน การลงยาเพิ่มสีสัน รวมถึงกระบวนการผลิตที่อาศัยจินตนาการ ความเชี่ยวชาญ และความมานะอดทน จนถ่ายทอดออกมาเป็นงานเครื่องประดับทองแห่งยุคสมัย โดยมีต้นแบบ หรือแรงบันดาลใจมาจากการประยุกต์ลวดลายโบราณ ทั้งจากโบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เป็นรากเหง้าของวิถีชุมชน ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย ปะติมากรรม รูปเคารพ ลายปูนปั้น และภาพจิตรกรรมฝาผนัง อาทิเช่น ลายนางพญา ซึ่งมีที่มาจากลายปูนปั้นของวัดนางพญา ลายเครือวัลย์ที่เลียนแบบมาจากเถาวัลย์ เป็นต้น
เอกลักษณ์การรังสรรค์เครื่องประดับทองสุโขทัย
กรรมวิธีการผลิตเครื่องประดับทองตามแบบฉบับทองสุโขทัยนั้นมีหลายขั้นตอนด้วยกัน ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ความพิถีพิถันและฝีมืออันประณีตทั้งสิ้น โดยเริ่มจากการหลอมทองคำแท่งบริสุทธิ์ซึ่งมีเนื้อทอง 99.99% ปราศจากโลหะอื่นๆ และน้ำประสานทองเจือปน เนื่องจากคุณภาพของเนื้อทองคำมีผลต่อความยากง่ายในการขึ้นชิ้นงานเครื่องประดับ เพราะทองบริสุทธิ์นั้นมีความอ่อนนุ่มยืดหยุ่นดี เหมาะแก่การทำเครื่องประดับทองตามรูปแบบของช่างทองโบราณ และด้วยความที่เป็นทองเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงทำให้เครื่องประดับมีสีทองเปล่งปลั่งกว่าทองรูปพรรณทั่วไปที่มักทำด้วยทองคำ 96.50% เมื่อช่างทองนำทองคำแท่งมาหลอมให้ละลายโดยการเป่าไฟในเบ้าหลอม จนทองละลายกลายเป็นของเหลว แล้วจึงเทลงในรางสี่เหลี่ยม เมื่อทองแข็งตัวจับเป็นแท่งแล้ว จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการตีทองหรือรีดทอง ช่างทองจะนำทองที่หลอมแล้วมาตีแผ่เป็นแผ่น หรือรีดยาวเป็นเส้น หรือเป็นแผ่น โดยใช้เครื่องรีดแผ่นทอง และเครื่องชักทองเป็นเส้นขนาดต่างๆ กันตามความต้องการ
หลังจากกระบวนการข้างต้นแล้วจึงนำมาสู่วิธีการประดิษฐ์ชิ้นงานทองสุโขทัย ด้วยการขึ้นรูปทรงและลวดลายทองรูปพรรณหลายลักษณะ ได้แก่ การถักทอง ซึ่งมีทั้งการถักลวดลายแบบกลมที่เกิดจากจำนวนทองน้อยเส้น ตั้งแต่ลายสามเสาถึงลายสิบเสา และการถักลวดลายแบบแบน อาทิ ลายเปีย ลายยี่สิบเสา ลายยี่สิบสี่เสา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับทำสร้อยข้อมือ การขึ้นลูกประคำทองที่มีลักษณะเหมือนลูกปัดมีทั้งทรงกลมและทรงรี ด้วยการนำแผ่นทองที่ตีได้ไปตอกลงในรางโอ ซึ่งเป็นแบบขึ้นรูปทรงมีลักษณะเป็นหลุมหลายขนาด โดยตอกให้เป็น 2 ฝา แล้วจึงนำมาประกบกัน และเจาะรูตรงกลางทะลุถึงกันเพื่อใช้สำหรับร้อยตกแต่งขึ้นงาน การขึ้นปีบซึ่งเป็นการนำทองที่รีดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเท่าๆ กันมาประกอบเชื่อมต่อกันด้วยน้ำประสานทองแล้วจึงปิดฝาและเจาะรูหัวท้าย จากนั้นจึงนำชิ้นงานทองลักษณะต่างๆ มาร้อยเรียงและเชื่อมประกอบกันให้เป็นเครื่องประดับลวดลายแบบไทยตามจินตนาการเชิงศิลปะของช่างทองแต่ละคน
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนารูปแบบเครื่องประดับทองอีกหลายขั้นตอน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การลงยาด้วยหินสี เช่น สีแดง เขียว น้ำเงิน สำหรับตกแต่งเครื่องประดับให้มีลวดลายสีสันสวยสดงดงาม แทนการประดับเพชรพลอยสีต่างๆ จนกลายเป็นเอกลักษณ์เด่นของเครื่องประดับทองสุโขทัย ซึ่งองค์ความรู้ในการผลิต เครื่องประดับทองเหล่านี้ได้ถูกถ่ายทอดสู่ลูกหลาน และขยายเป็นชุมชนช่างฝีมือผลิตเครื่องประดับทองในตำบลท่าชัยและตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มานานกว่า 20 ปี โดยปัจจุบันมีร้านค้าผู้ผลิตที่เป็นที่รู้จักกันดีหลายสิบราย อาทิ บ้านทองสมสมัย ผู้ริเริ่มงานเครื่องประดับทองสุโขทัย บ้านทองสมศักดิ์ อรอนงค์ช่างทอง ร้านทองนันทนา เป็นต้น
ด้วยสองมือที่บรรจงสร้างสรรค์เครื่องประดับทองตามแบบอย่างเครื่องทองสมัยโบราณทำให้ได้มาซึ่งงานทองหัตถศิลป์ล้ำค่าหลากแบบหลายลวดลาย ทั้งในรูปแบบเครื่องประดับไม่ว่าจะเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล แหวน ต่างหู จี้ เข็มขัด กรอบพระ หรือจะเป็นชิ้นงานตามที่ลูกค้าสั่งพิเศษ เช่น ทับทรวง รัดเกล้า กำไลแขน ไปจนถึงเครื่องประดับตามโบราณวัตถุอย่างพระพุทธรูปที่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่าคู่บ้านคู่เมือง จนสามารถครองใจผู้ที่นิยมชมชอบในงานเครื่องทองสไตล์โบราณได้เป็นอย่างดี เพราะต่างรู้ดีว่าความวิจิตรของลวดลายทอง อันประณีตอ่อนช้อยที่ผลิตขึ้นด้วยฝีมือของช่างชาวศรีสัชนาลัยในสุโขทัยนั้น เป็นที่เลื่องชื่อถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความงดงามวิจิตรแตกต่างจากเครื่องประดับทองโบราณที่มีจำหน่ายอยู่บ้างในบางภูมิภาคของไทยรวมถึงใน กรุงเทพฯ หรือทองรูปพรรณที่วางขายตามร้านค้าทองทั่วไป จนทำให้เครื่องประดับทองสุโขทัยเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและชาวต่างชาติที่ส่วนใหญ่มักเดินทางไปซื้อหากันถึงแหล่งผลิตเลยทีเดียว ซึ่งไม่เพียงมีรูปแบบ เครื่องประดับให้เลือกสรรมากมาย แต่ยังเป็นโอกาสในการเยี่ยมชมกรรมวิธีการผลิตอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)