IUM : Internation University of Morality : Singapore 4. 1...
สอนออกแบบและผลิตเครื่องประดับอัญมณี 3d cad,091-8078228 k,san(สันต์) sanaw588@yahoo.com ,ID:gemsara เมื่อ2004 ตั้งแต่5-15ปีที่ผ่าน เทคนิคการผลิตฝังพลอยในเทียนที่มีบทบาทในการแข่งขันในโอกาสทางธุรกิจ..ช่วยลดต้นทุนเวลา..ต้นทุนคน..ต้นทุนเครื่องมือ..จากประสบการณ์กว่า19,000 พิมพ์ หรือออเดอร์กว่า80ล้านเม็ด..การเรียนรู้ด้านเทคนิค ทั้ง3ด้าน 1.ด้านการออกแบบโครงสร้างและแม่พิมพ์ 2.ด้านกระบวนการผลิต 3.ด้านการบริหารจัดการระบบ (Gems and Gemology and Graphic design of school) หรือ GGG ภาณุสฤษฏิ์ บุญคำ
วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับปี 2558-59
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับปี 2558เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนคาดว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.43 ตามคำสั่งซื้อโดยเฉพาะเครื่องประดับแท้อาทิ สร้อย แหวน จี้ และต่างหู จากตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เยอรมนี จีน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกอบกับมีการผลิตเพื่อทดแทนการส่งออกสินค้าจากสต๊อกด้านการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวม คาดว่า จะมีมูลค่าการส่งออก 11,405.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.14 เนื่องจากมูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน แต่หากไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า จะมีมูลค่า7,378.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยับตัวเพียง ร้อยละ 1.06 โดยยังมีฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ
การผลิตและการจำหน่าย
จากตัวเลขประมาณการภาพรวมปี 2558คาดว่า การผลิตเครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ปี 2558 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกา เยอรมนี เบลเยี่ยม และความต้องการของตลาด ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเครื่องประดับแท้ อาทิ สร้อย แหวน จี้ และต่างหู จากตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เยอรมนี จีน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่งผลให้ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.52 ขณะเดียวกันดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.47เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการสต๊อกสินค้าเพื่อทดแทนการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา และเพื่อรองรับความต้องการสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ในช่วงปลายปี
การตลาด
การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก
จากตัวเลขประมาณการภาพรวมปี 2558 (ตารางที่ 2)คาดว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) จะมีมูลค่า 7,378.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.06 โดยสินค้าที่มีผลทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัว ได้แก่พลอย ไข่มุก และเครื่องประดับแท้ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.54 5.51และ8.24ตามลำดับ โดยมีแรงหนุนจากความต้องการซื้อสินค้าสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ในช่วงปลายปีโดยเฉพาะตลาดส่งออกหลัก อาทิ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งอยู่ในภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแม้จะในอัตราที่ไม่รวดเร็วมากนัก แต่ผู้บริโภคต่างเริ่มมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งนี้ หากรวมทองคำยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้มูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.14เนื่องจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีมูลค่าสูงถึง4,027.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.88จากปี 2557 ซึ่งเป็นผลจากราคาทองคำเฉลี่ยในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจากปีก่อน ทำให้มีการสั่งซื้อเพื่อเก็งกำไรและถือครองไว้
- ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกาโดยมีสินค้าส่งออกสำคัญในแต่ละตลาด ดังนี้
- ตลาดฮ่องกง ได้แก่ ทองคำยังไม่ขึ้นรูป เพชร พลอย และเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง
- ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ ได้แก่ ทองคำยังไม่ขึ้นรูปและเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง
- ตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ เครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง และทำด้วยเงิน เพชร และพลอย
การนำเข้า
จากตัวเลขประมาณการภาพรวมปี 2558 (ตารางที่ 3) คาดว่า การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี และเงินแท่ง (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) จะมีมูลค่า2,808.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 3.59ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว โดยวัตถุดิบที่มีผลต่อมูลค่าการนำเข้าเพื่อการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ได้แก่ เพชร แพลทินัม รวมทั้งโลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ ลดลง ร้อยละ 9.5017.73 และ 12.88 ตามลำดับ เนื่องจากการผลิตเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยวัตถุดิบดังกล่าวลดลง ตามคำสั่งซื้อสินค้าที่ลดลงสำหรับมูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ในภาพรวม คาดว่า จะลดลง ร้อยละ 9.24 จากปี 2557 เนื่องจากการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีมูลค่าลดลง ร้อยละ 11.10เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกเฉลี่ยยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน
แหล่งนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทย ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่นฮ่องกงสหรัฐอเมริกา และเบลเยียม โดยมีวัตถุดิบนำเข้าสำคัญในแต่ละตลาด ดังนี้
- ตลาดสวิตเซอร์แลนด์ ได้แก่ ทองคำยังไม่ขึ้นรูป และเงิน
- ตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ ทองคำยังไม่ขึ้นรูป เงิน และแพลทินัม
- ตลาดฮ่องกง ได้แก่ เพชร พลอย
- ตลาดสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ทองคำ และแพลทินัม
- ตลาดเบลเยียม ได้แก่ เพชร
นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
1. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ดำเนินกลยุทธ์เร่งด่วนเพื่อพัฒนา SMEs ไทยให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปลายปี 2558 ผ่าน 3 โครงการหลัก ได้แก่ (1) โครงการเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมในการเข้าสู่ AEC โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมรองรับ AEC การพัฒนาบุคลากร การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเชิงรุกสู่ตลาด AEC รวมทั้งนำผู้ประกอบการไปเจรจาธุรกิจ และทดลองตลาดในประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน และอาเซียน+3 (2) โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ประกอบด้วย สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ ผ่านกิจกรรมหลัก อาทิ การพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคและการจัดการ การพัฒนานักออกแบบ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น การสร้างกลุ่มเครือข่ายย่านธุรกิจแฟชั่น และการเพิ่มประสิทธิภาพตลอดสายการผลิต และ (3) โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยสู่การเป็นเถ้าแก่ใหม่ มุ่งเน้นการสร้างผู้ประกอบการให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจและดำเนินธุรกิจให้เติบโตและเข้มแข็ง
2. รัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เห็นชอบ โดยมีพื้นที่เป้าหมายใน 10 จังหวัดชายแดน ซึ่งอัญมณีและเครื่องประดับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ กระทรวงการคลัง และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุข และการตรวจคนเข้าเมือง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนของประเทศร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย
สรุปและแนวโน้ม
สรุป
ภาพรวมการผลิตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับปี 2558เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2557คาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.43ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดหลัก ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการผลิตเพื่อสต๊อกสินค้าทดแทนการส่งออกในช่วงที่ผ่านมา และเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ปี 2558คาดว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.06 ส่วนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมคาดว่า จะมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.14ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากจากปีที่ผ่านมา โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นได้ในปีนี้เป็นผลจากการส่งออก พลอย ไข่มุก และเครื่องประดับแท้ทำด้วยโลหะ มีค่าอื่น ๆ
การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี และเงินแท่ง (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ปี 2558คาดว่าจะลดลง ร้อยละ 3.59สำหรับการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ในภาพรวมคาดว่าจะลดลงเช่นกัน ร้อยละ 9.24เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว ประกอบกับราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นโดยแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ฮ่องกงสหรัฐอเมริกา และเบลเยียม ซึ่งสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบในภาคการผลิต
แนวโน้ม
การผลิต ในปี 2559 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับจะหดตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเนื่องจากผู้ประกอบการเน้นที่จะส่งออกสินค้าจากสต๊อกทดแทนการผลิต โดยจะมีการผลิตในบางสินค้าเพื่อชดเชยสต๊อกบางส่วน
การส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ในปี 2559คาดว่า จะชะลอตัวลงเล็กน้อยทั้งนี้ หากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่มีความแข็งแกร่งขึ้น อาจทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดความต้องการสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ขยายตัวได้ เพิ่มขึ้น
การนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ในปี 2559คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีการจัดหาวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าเข้าสต๊อกชดเชยปีก่อนหน้าที่เน้นการส่งออกสินค้าจากสต๊อกทดแทน โดยการนำเข้าในภาพรวมคาดว่า จะขยายตัวตามทิศทางการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากนโยบายทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่อาจส่งผลให้ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวในทิศทางที่ลดลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/oie/2347335